รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 29 มี.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ เนื่องจากกรมบัญชีกลางสามารถประหยัดเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2559 จากการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และการประมูลด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) ได้มากกว่า 30,000 ล้านบาท จึงมีเงินเหลือมากเพียงพอที่รัฐบาลจะสามารถนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.เห็นชอบเพิ่มเงินค่าครองชีพข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ระดับชำนาญงานและระดับปฏิบัติ หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 (ซี 7) ลงไป รวมถึงลูกจ้างประจำ พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราว ได้รับค่าครองชีพคนละ 1,000 บาท โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินเข้าบัญชีเพียงครั้งเดียว ซึ่งคาดว่าการจ่ายเงินค่าครองชีพในครั้งนี้ จะใช้เงินงบประมาณ 1,570 ล้านบาท
สำหรับวงเงิน 1,570 ล้านบาทนั้น จะกระจายครอบคลุมไปถึงข้าราชการทั่วประเทศที่ได้รับสิทธิ์ 1,018,000 คน ลูกจ้างประจำ 126,000 คน พนักงานราชการ 122,000 คน ลูกจ้างชั่วคราว เงินในงบประมาณ 186,000 คน และเงินนอกงบประมาณอีก 118,000 คน โดยจะจ่ายเงินดังกล่าวภายในเดือน เม.ย.นี้
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังเสนอให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนรับลงทะเบียนคนจนทั่วประเทศผ่านคลังจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ และรวมถึงสาขาของธนาคารเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยขีดเส้นความยากจนเอาไว้ที่รายได้ขั้นต่ำไม่เกิน 300 บาทต่อวัน หรือเดือนละไม่เกิน 9,000 บาท ซึ่งคาดว่า จะมีคนจนมาลงทะเบียนประมาณ 17-18 ล้านคน โดยกระทรวงการคลังจะแจกเงินช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท
สำหรับการลงทะเบียนเพื่อแจกเงินให้แก่คนจนทั่วประเทศดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินประมาณ 1-2 เดือน เนื่องจากตัวเลขคนจนของประเทศที่แท้จริง ยังไม่มีการลงทะเบียนหรือเก็บข้อมูลเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ทำให้ตัวเลขคนจน 17-18 ล้านคนเป็นการคาดการณ์ ทั้งนี้ เมื่อกระทรวงการคลังได้จำนวนคนจนที่ชัดเจนแล้ว จะนำระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-payment เพื่อจ่ายเงินถึงคนจนที่แท้จริง
นอกจากนี้ในการประชุม ครม.วันที่ 5 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการกิน-เที่ยวช่วยชาติ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์รวมระยะเวลา 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 10-17 เม.ย.59 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าแพ็กเกจทัวร์ มาหักค่าลดหย่อนภาษีได้จำนวนไม่เกิน 15,000 บาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.เห็นชอบเพิ่มเงินค่าครองชีพข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ระดับชำนาญงานและระดับปฏิบัติ หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 (ซี 7) ลงไป รวมถึงลูกจ้างประจำ พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราว ได้รับค่าครองชีพคนละ 1,000 บาท โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินเข้าบัญชีเพียงครั้งเดียว ซึ่งคาดว่าการจ่ายเงินค่าครองชีพในครั้งนี้ จะใช้เงินงบประมาณ 1,570 ล้านบาท
สำหรับวงเงิน 1,570 ล้านบาทนั้น จะกระจายครอบคลุมไปถึงข้าราชการทั่วประเทศที่ได้รับสิทธิ์ 1,018,000 คน ลูกจ้างประจำ 126,000 คน พนักงานราชการ 122,000 คน ลูกจ้างชั่วคราว เงินในงบประมาณ 186,000 คน และเงินนอกงบประมาณอีก 118,000 คน โดยจะจ่ายเงินดังกล่าวภายในเดือน เม.ย.นี้
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังเสนอให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนรับลงทะเบียนคนจนทั่วประเทศผ่านคลังจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ และรวมถึงสาขาของธนาคารเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยขีดเส้นความยากจนเอาไว้ที่รายได้ขั้นต่ำไม่เกิน 300 บาทต่อวัน หรือเดือนละไม่เกิน 9,000 บาท ซึ่งคาดว่า จะมีคนจนมาลงทะเบียนประมาณ 17-18 ล้านคน โดยกระทรวงการคลังจะแจกเงินช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท
สำหรับการลงทะเบียนเพื่อแจกเงินให้แก่คนจนทั่วประเทศดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินประมาณ 1-2 เดือน เนื่องจากตัวเลขคนจนของประเทศที่แท้จริง ยังไม่มีการลงทะเบียนหรือเก็บข้อมูลเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ทำให้ตัวเลขคนจน 17-18 ล้านคนเป็นการคาดการณ์ ทั้งนี้ เมื่อกระทรวงการคลังได้จำนวนคนจนที่ชัดเจนแล้ว จะนำระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-payment เพื่อจ่ายเงินถึงคนจนที่แท้จริง
นอกจากนี้ในการประชุม ครม.วันที่ 5 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการกิน-เที่ยวช่วยชาติ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์รวมระยะเวลา 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 10-17 เม.ย.59 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าแพ็กเกจทัวร์ มาหักค่าลดหย่อนภาษีได้จำนวนไม่เกิน 15,000 บาท