รายงานข่าวแจ้งว่า การจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Orchid Conference - APOC) ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 19-27 มี.ค. ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิดกล้วยไม้แห่งมวลมนุษยชาติ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพ ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ว่าเป็นการจัดงานที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่คุ้มค่าเงินงบประมาณกว่า 121 ล้านบาทที่จ่ายไป
ทั้งนี้การจัดประชุมกล้วยไม้นานาชาติซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ มีเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ทั้งหมดจาก 13 ประเทศเข้าร่วม โดยนอกจากการประชุมด้านวิชาการแล้ว ยังมีการประกวดจัดสวนกล้วยไม้จากนานาชาติกว่า 90 สวน
ในส่วนของคณะกรรมการ APOC ซึ่งมีตัวแทนจากหลายประเทศได้ประชุมหารือกัน และมีความเห็นในลักษณะตำหนิการจัดงานว่าต่ำกว่าศักยภาพ และมีหลายเรื่องที่สะท้อนความไม่เหมาะสม เช่น การเอาผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้บางชนิดไปตัดสินการประกวดกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่ง ขณะเดียวกันภายในงานมีผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชมและรับฟังงานด้านวิชาการน้อยมาก ทั้งที่เดิมผู้จัดตั้งเป้าว่าจะมีผู้มาเยี่ยมชมงานวันละ 4,000 คน แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้มางานแค่เพียงวันละ 2,000 คน เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์น้อยมาก
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2558 เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอในโครงการจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 12 โดยมติ ครม.ระบุว่า จะเป็นประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืชกล้วยไม้และพัฒนากล้วยไม้ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ประเทศไทยจะมีโอกาสในการนำเสนอศักยภาพในด้านกล้วยไม้และเป็นการสนับสนุนการส่งออกกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ไปสู่ตลาดโลก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ของไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเพื่อแสดงศักยภาพของไทยในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกกล้วยไม้เขตร้อนรายใหญ่ของโลก ซึ่งจะทำให้นานาประเทศได้รู้จักไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยไม้ไทย รวมทั้งเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยไม้ไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการตลาดกล้วยไม้ การท่องเที่ยว การโรงแรม การประชาสัมพันธ์ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งนี้ครม.ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดงาน 121,310,900 ล้านบาท โดยมีกรมวิชาการเกษตร กษ. เป็นหน่วยงานหลัก ทั้งนี้ ก่อนการจัดงานได้มีการนำเสนอชื่อหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาเป็นแม่งาน ทั้งสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทเอกชนที่มีผลงาน แต่จู่ๆ กลับเลือกบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ไม่มีผลงานด้านการจัดงานในลักษณะนี้ให้เป็นผู้จัดงาน โดยก่อนถึงวันจัดงานกรมวิชาการเกษตรจัดประมูลผู้รับเหมาการจัดงานขึ้นใหม่ โดยยกเลิกว่าจ้างบริษัทที่ได้รับการประมูลมาก่อนหน้า ทั้งที่มีการเตรียมงานไปแล้วด้วยและท้ายที่สุดได้ผู้รับเหมารายใหม่
ด้านศ.ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไม้ไทยและผู้ริเริ่มจัดประชุม APOC กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณว่า 121 ล้านบาท เพราะจากประสบการณ์ที่ไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2535 ที่จัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยงานหลักนั้นมีรูปแบบงานใหญ่กว่านี้ แต่ใช้งบประมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับการจัดงานครั้งนี้
“หากกรมวิชาการเกษตรมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้ทุกหน่วยงานถือเป็นเจ้าภาพร่วมกัน ก็น่าจะสามารถระดมงบประมาณปกติของหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกันจัดงาน โดยไม่ต้องของบประมาณพิเศษจากรัฐบาล รวมไปถึงเรื่องสถานที่จัดงาน หากจัดในสถานที่เปิดโล่งที่เป็นธรรมชาติ ก็น่าจะเหมาะสมกับบรรยากาศการชมความงามของกล้วยไม้มากกว่าจัดในอาคารเช่นนี้ และยังจะช่วยให้ประหยัดงบประมาณลงได้จำนวนมาก” ศ.ระพีกล่าว
ศ.ระพียังกล่าวอีกว่า สังคมไทยกำลังปล่อยให้คุณธรรมจริยธรรมตกต่ำ เพราะว่าของที่ให้อาหารทางใจเป็นสิ่งบำรุงคุณธรรมจริยธรรม เช่น กล้วยไม้ ดนตรี เหล่านี้ทำให้คนอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ซึ่งภาพรวมของวงการกล้วยไม้ตอนนี้กำลังซบเซา การจัดงานจึงน่าจะเป็นส่วนกระตุ้นให้คนหันมาสนใจกล้วยไม้อีกครั้ง แต่กลับไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งอุดมการณ์ในการจัดการประชุมวิชาการกล้วยไม้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือแนวความคิดในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันโดยไม่ได้เน้นที่ประกวดหรือเน้นการค้าขายที่เกิดขึ้นในงานเพื่อนำเอาไปเปรียบเทียบและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับการยกระดับคุณภาพในทุกมิติทั้งสังคม โดยการเน้นที่บุคคลให้มีคุณภาพจิตใจและศักยภาพในการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างรอบด้าน
“การประชุมนี้ สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่รางวัลใหญ่หรือเงินที่ได้จากการประกวด เพราะการประกวดนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของงาน ไม่ได้สำคัญที่สุดแต่อย่างใด การประกวดที่มีนั้นก็เป็นเพียงแค่เชิญให้เพื่อนๆ ของเราได้มาร่วมกิจกรรมเท่านั้น” ศ.ระพีกล่าว
ทั้งนี้การจัดประชุมกล้วยไม้นานาชาติซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ มีเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ทั้งหมดจาก 13 ประเทศเข้าร่วม โดยนอกจากการประชุมด้านวิชาการแล้ว ยังมีการประกวดจัดสวนกล้วยไม้จากนานาชาติกว่า 90 สวน
ในส่วนของคณะกรรมการ APOC ซึ่งมีตัวแทนจากหลายประเทศได้ประชุมหารือกัน และมีความเห็นในลักษณะตำหนิการจัดงานว่าต่ำกว่าศักยภาพ และมีหลายเรื่องที่สะท้อนความไม่เหมาะสม เช่น การเอาผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้บางชนิดไปตัดสินการประกวดกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่ง ขณะเดียวกันภายในงานมีผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชมและรับฟังงานด้านวิชาการน้อยมาก ทั้งที่เดิมผู้จัดตั้งเป้าว่าจะมีผู้มาเยี่ยมชมงานวันละ 4,000 คน แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้มางานแค่เพียงวันละ 2,000 คน เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์น้อยมาก
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2558 เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอในโครงการจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 12 โดยมติ ครม.ระบุว่า จะเป็นประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืชกล้วยไม้และพัฒนากล้วยไม้ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ประเทศไทยจะมีโอกาสในการนำเสนอศักยภาพในด้านกล้วยไม้และเป็นการสนับสนุนการส่งออกกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ไปสู่ตลาดโลก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ของไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเพื่อแสดงศักยภาพของไทยในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกกล้วยไม้เขตร้อนรายใหญ่ของโลก ซึ่งจะทำให้นานาประเทศได้รู้จักไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยไม้ไทย รวมทั้งเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยไม้ไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการตลาดกล้วยไม้ การท่องเที่ยว การโรงแรม การประชาสัมพันธ์ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งนี้ครม.ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดงาน 121,310,900 ล้านบาท โดยมีกรมวิชาการเกษตร กษ. เป็นหน่วยงานหลัก ทั้งนี้ ก่อนการจัดงานได้มีการนำเสนอชื่อหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาเป็นแม่งาน ทั้งสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทเอกชนที่มีผลงาน แต่จู่ๆ กลับเลือกบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ไม่มีผลงานด้านการจัดงานในลักษณะนี้ให้เป็นผู้จัดงาน โดยก่อนถึงวันจัดงานกรมวิชาการเกษตรจัดประมูลผู้รับเหมาการจัดงานขึ้นใหม่ โดยยกเลิกว่าจ้างบริษัทที่ได้รับการประมูลมาก่อนหน้า ทั้งที่มีการเตรียมงานไปแล้วด้วยและท้ายที่สุดได้ผู้รับเหมารายใหม่
ด้านศ.ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไม้ไทยและผู้ริเริ่มจัดประชุม APOC กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณว่า 121 ล้านบาท เพราะจากประสบการณ์ที่ไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2535 ที่จัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยงานหลักนั้นมีรูปแบบงานใหญ่กว่านี้ แต่ใช้งบประมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับการจัดงานครั้งนี้
“หากกรมวิชาการเกษตรมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้ทุกหน่วยงานถือเป็นเจ้าภาพร่วมกัน ก็น่าจะสามารถระดมงบประมาณปกติของหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกันจัดงาน โดยไม่ต้องของบประมาณพิเศษจากรัฐบาล รวมไปถึงเรื่องสถานที่จัดงาน หากจัดในสถานที่เปิดโล่งที่เป็นธรรมชาติ ก็น่าจะเหมาะสมกับบรรยากาศการชมความงามของกล้วยไม้มากกว่าจัดในอาคารเช่นนี้ และยังจะช่วยให้ประหยัดงบประมาณลงได้จำนวนมาก” ศ.ระพีกล่าว
ศ.ระพียังกล่าวอีกว่า สังคมไทยกำลังปล่อยให้คุณธรรมจริยธรรมตกต่ำ เพราะว่าของที่ให้อาหารทางใจเป็นสิ่งบำรุงคุณธรรมจริยธรรม เช่น กล้วยไม้ ดนตรี เหล่านี้ทำให้คนอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ซึ่งภาพรวมของวงการกล้วยไม้ตอนนี้กำลังซบเซา การจัดงานจึงน่าจะเป็นส่วนกระตุ้นให้คนหันมาสนใจกล้วยไม้อีกครั้ง แต่กลับไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งอุดมการณ์ในการจัดการประชุมวิชาการกล้วยไม้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือแนวความคิดในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันโดยไม่ได้เน้นที่ประกวดหรือเน้นการค้าขายที่เกิดขึ้นในงานเพื่อนำเอาไปเปรียบเทียบและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับการยกระดับคุณภาพในทุกมิติทั้งสังคม โดยการเน้นที่บุคคลให้มีคุณภาพจิตใจและศักยภาพในการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างรอบด้าน
“การประชุมนี้ สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่รางวัลใหญ่หรือเงินที่ได้จากการประกวด เพราะการประกวดนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของงาน ไม่ได้สำคัญที่สุดแต่อย่างใด การประกวดที่มีนั้นก็เป็นเพียงแค่เชิญให้เพื่อนๆ ของเราได้มาร่วมกิจกรรมเท่านั้น” ศ.ระพีกล่าว