นางบีทา ซีดโล นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ประกาศในวันพุธ(23มี.ค.) ว่าวอร์ซอจะไม่รับส่วนแบ่งผู้อพยพภายใต้แผนของอียู สืบเนื่องจากเหตุนักรบญิฮัดโจมตีกรุงบรัสเซลส์ เข่นฆ่าชีวิตผู้คน 31 ศพ
โปแลนด์นับเป็นสมาชิกอียูชาติแรกที่ใช้มาตรการนี้ ตามหลังเกิดเหตุระเบิดโจมตีสนามบินและสถานีรถไฟฟ้าของบรัสเซลส์ในวันอังคาร(22มี.ค.) ซึ่งนอกจากผู้เสียชีวิตข้างต้นแล้ว ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 270 ราย ในนั้นรวมถึงชาวโปแลนด์ 3 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยพวกรัฐอิสลาม(ไอเอส)
"ตามหลังสิ่งที่เกิดขึ้นในบรัสเซลส์เมื่อวันอังคาร ตอนนี้มันเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะบอกว่า โอเค เราจะตอบรับจำนวนผู้อพยพใดๆทั้งหมด" นางซีดโลกล่าวกับสถานีโทรทัศน์เอกชนแห่งหนึ่ง
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพรรคกฎหมายและยุติธรรมของเธอ ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมและต่อต้านอียู เคยมีความตั้งใจอ้าแขนรับผู้ลี้ภัย 7,000 คน ตามที่รัฐบาลชุดก่อนของนางอีวา โคปราซ ตกลงไว้
ยุโรปกำลังดิ้นรนต่อสู้กับวิกฤตผู้อพยพครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแค่ปีที่แล้วปีเดียว มีผู้ลี้ภัยราว 1.2 ล้านคนไหลบ่าเข้ามายังยุโรป ส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรียที่หลบหนีภัยสงครามผ่านตุรกีและกรีซ
โปแลนด์นับเป็นสมาชิกอียูชาติแรกที่ใช้มาตรการนี้ ตามหลังเกิดเหตุระเบิดโจมตีสนามบินและสถานีรถไฟฟ้าของบรัสเซลส์ในวันอังคาร(22มี.ค.) ซึ่งนอกจากผู้เสียชีวิตข้างต้นแล้ว ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 270 ราย ในนั้นรวมถึงชาวโปแลนด์ 3 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยพวกรัฐอิสลาม(ไอเอส)
"ตามหลังสิ่งที่เกิดขึ้นในบรัสเซลส์เมื่อวันอังคาร ตอนนี้มันเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะบอกว่า โอเค เราจะตอบรับจำนวนผู้อพยพใดๆทั้งหมด" นางซีดโลกล่าวกับสถานีโทรทัศน์เอกชนแห่งหนึ่ง
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพรรคกฎหมายและยุติธรรมของเธอ ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมและต่อต้านอียู เคยมีความตั้งใจอ้าแขนรับผู้ลี้ภัย 7,000 คน ตามที่รัฐบาลชุดก่อนของนางอีวา โคปราซ ตกลงไว้
ยุโรปกำลังดิ้นรนต่อสู้กับวิกฤตผู้อพยพครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแค่ปีที่แล้วปีเดียว มีผู้ลี้ภัยราว 1.2 ล้านคนไหลบ่าเข้ามายังยุโรป ส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรียที่หลบหนีภัยสงครามผ่านตุรกีและกรีซ