ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปของนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยผู้นำยุโรปตกลงที่จะให้อังกฤษได้รับ "สถานภาพพิเศษ" ในอียู และเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีอังกฤษสามารถจัดทำประชามติได้ในเดือนมิ.ย. โดยข้อตกลงดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้อังกฤษยังคงอยู่ในอียูต่อไป
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่านายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ แถลงเมื่อวันศุกร์ เรื่องการบรรลุฉันทามาติร่วมกับที่ประชุมสมาชิกสหภาพยุโรป ( อียู ) อีก 27 ประเทศ ในการมอบ "สถานภาพพิเศษ" ในสหภาพให้แก่อังกฤษ และตนเตรียมนำข้อตกลงดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นวาระพิเศษ ในวันที่ 20 ก.พ. นี้
โดยคาเมรอนกล่าวด้วยว่า อังกฤษไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของ "องค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐ" แต่รัฐบาลเวสต์มินสเตอร์จะรณรงค์หาเสียงให้ประชาชนลงประชามติให้อังกฤษอยู่กับอียูต่อไป ขณะที่นายโดนัลด์ ทัสก์ ประธานคณะมนตรียุโรป กล่าวว่าการบรรลุข้อตกลงกับคาเมรอนคือการเพิ่ม "ความมั่นคง" ในสถานภาพพิเศษของอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของอียูทุกประการ และที่สำคัญคือข้อตกลงนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ด้านนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี กล่าวว่าเป็นการประนีประนอมที่ยุติธรรมกับทุกฝ่าย และเธอไม่คิดว่าสหภาพ "เอาใจ" อังกฤษมากเกินไป เนื้อหาของข้อตกลงที่ได้รับการเปิดเผยออกมาในเบื้องต้น รวมถึงการตัดสวัสดิการสำหรับบุตรหลานของผู้อพยพจากประเทศสมาชิกอียูที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ โดยให้มีผลทันทีสำหรับผู้ที่เพิ่งย้ายเข้ามา ส่วนสำหรับผู้ที่รอการอนุมัติสถานะอีกราว 34,000 คน จะเริ่มมีผลตั้งแต่ปี 2563 การระงับให้สวัสดิการสำหรับแรงงานผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในอังกฤษยังไม่ถึง 7 ปี ซึ่งในประเด็นนี้เดิมทีคาเมรอนต้องการมากถึง 13 ปี แต่อียูยืนยันว่าระยะเวลา 7 ปี สำหรับอังกฤษ ถือว่ามากกว่าแทบทุกประเทศสหภาพแล้ว
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายยังเห็นพ้องการปรับแก้เนื้อหาบางส่วนในกฎบัตรอียู ที่เกี่ยวกับนโยบายใดก็ตามที่ส่งเสริมความใกล้ชิดระหว่างสหภาพ ให้ "ยกเว้น" สำหรับอังกฤษ ทั้งนี้ อังกฤษเป็นสมาชิกอียูประเทศเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งยูโรโซนและความตกลงเชงเก้น
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์เช่นนี้ระหว่างอียูกับอังกฤษไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2504 ฝรั่งเศสคัดค้านการรับอังกฤษเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ( อีอีซี ) ซึ่งอังกฤษสมัครอีกครั้งในสมัยที่เปลี่ยนเป็นอียูแล้ว แต่ต้องรอจนถึงปี 2516 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล ผู้นำฝรั่งเศสซึ่งยืนกรานไม่รับอังกฤษเข้าร่วมสหภาพ
นอกจากนี้คาเมรอนยังไม่เคยประกาศอย่างชัดเจนว่าการลงประชามติว่าด้วยอนาคตของอังกฤษในอียูจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยกล่าวเพียงว่า "ภายในปี 2560" แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมิ.ย. นี้
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่านายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ แถลงเมื่อวันศุกร์ เรื่องการบรรลุฉันทามาติร่วมกับที่ประชุมสมาชิกสหภาพยุโรป ( อียู ) อีก 27 ประเทศ ในการมอบ "สถานภาพพิเศษ" ในสหภาพให้แก่อังกฤษ และตนเตรียมนำข้อตกลงดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นวาระพิเศษ ในวันที่ 20 ก.พ. นี้
โดยคาเมรอนกล่าวด้วยว่า อังกฤษไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของ "องค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐ" แต่รัฐบาลเวสต์มินสเตอร์จะรณรงค์หาเสียงให้ประชาชนลงประชามติให้อังกฤษอยู่กับอียูต่อไป ขณะที่นายโดนัลด์ ทัสก์ ประธานคณะมนตรียุโรป กล่าวว่าการบรรลุข้อตกลงกับคาเมรอนคือการเพิ่ม "ความมั่นคง" ในสถานภาพพิเศษของอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของอียูทุกประการ และที่สำคัญคือข้อตกลงนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ด้านนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี กล่าวว่าเป็นการประนีประนอมที่ยุติธรรมกับทุกฝ่าย และเธอไม่คิดว่าสหภาพ "เอาใจ" อังกฤษมากเกินไป เนื้อหาของข้อตกลงที่ได้รับการเปิดเผยออกมาในเบื้องต้น รวมถึงการตัดสวัสดิการสำหรับบุตรหลานของผู้อพยพจากประเทศสมาชิกอียูที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ โดยให้มีผลทันทีสำหรับผู้ที่เพิ่งย้ายเข้ามา ส่วนสำหรับผู้ที่รอการอนุมัติสถานะอีกราว 34,000 คน จะเริ่มมีผลตั้งแต่ปี 2563 การระงับให้สวัสดิการสำหรับแรงงานผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในอังกฤษยังไม่ถึง 7 ปี ซึ่งในประเด็นนี้เดิมทีคาเมรอนต้องการมากถึง 13 ปี แต่อียูยืนยันว่าระยะเวลา 7 ปี สำหรับอังกฤษ ถือว่ามากกว่าแทบทุกประเทศสหภาพแล้ว
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายยังเห็นพ้องการปรับแก้เนื้อหาบางส่วนในกฎบัตรอียู ที่เกี่ยวกับนโยบายใดก็ตามที่ส่งเสริมความใกล้ชิดระหว่างสหภาพ ให้ "ยกเว้น" สำหรับอังกฤษ ทั้งนี้ อังกฤษเป็นสมาชิกอียูประเทศเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งยูโรโซนและความตกลงเชงเก้น
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์เช่นนี้ระหว่างอียูกับอังกฤษไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2504 ฝรั่งเศสคัดค้านการรับอังกฤษเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ( อีอีซี ) ซึ่งอังกฤษสมัครอีกครั้งในสมัยที่เปลี่ยนเป็นอียูแล้ว แต่ต้องรอจนถึงปี 2516 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล ผู้นำฝรั่งเศสซึ่งยืนกรานไม่รับอังกฤษเข้าร่วมสหภาพ
นอกจากนี้คาเมรอนยังไม่เคยประกาศอย่างชัดเจนว่าการลงประชามติว่าด้วยอนาคตของอังกฤษในอียูจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยกล่าวเพียงว่า "ภายในปี 2560" แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมิ.ย. นี้