นายธนิศร์ ศรีประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงข่าวการเตรียมการออกเสียงประชามติ ของสำนักงาน กกต. ว่า ที่ประชุม กกต.เห็นชอบเรื่องแผนดำเนินการจัดพิมพ์แจกจ่ายเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญด้วยกรณีพิเศษ คือ ใช้โรงพิมพ์ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ที่มีโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง และใช้การเปรียบเทียบราคาแต่ละโรงพิมพ์ เพื่อความโปร่งใส คุ้มค่าในการใช้งบประมาณ รัฐได้ประโยชน์สูงสุด
สำหรับการจัดพิมพ์จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ร่างรัฐธรรมนูญ 1.2 ล้านฉบับ สรุปเนื้อหาสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ 6 ล้านฉบับ สรุปย่อสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญจัดทำ 17 ล้านครัวเรือน พิมพ์แบบ 4 สี เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ส่วนแผนกำหนดการวันออกเสียงประชามติ คาดว่าดำเนินการได้ช่วงต้นเดือน สิงหาคมนี้
ทั้งนี้ ยืนยันว่า กกต.มีความพร้อมในการจัดทำการออกเสียงประชามติ และไม่น่ามีปัญหาใด ส่วนเหตุผลที่ดำเนินการของบประมาณล่าช้า เพราะมีขั้นตอนการตรวจสอบโครงการภายในและภายนอก ว่าซ้ำซ้อนกับโครงการเดิมของ กกต.หรือไม่ เพราะต้องการให้งบประมาณมีความชัดเจน คาดว่าสัปดาห์หน้า ประธาน กกต.จะลงนามส่งเรื่องของบประมาณการจัดทำการออกเสียงประชามติไปยังสำนักงบประมาณได้
ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ล่าสุดที่ประชุม กกต. สรุปงบประมาณที่จะใช้ในการออกเสียงประชามติ จำนวน 2,991 ล้านบาท และการทำประชามติครั้งนี้จะไม่ใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การอำนวยความสะดวกกับผู้พิการ จะมีกรรมการประจำหน่วยคอยอำนวยความสะดวกและช่วยกาบัตรลงประชามติได้
นายสมชัย ย้ำว่า บทลงโทษในร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. . ไม่ได้จำกัดสิทธิของประชาชน และไม่ได้เพื่อใช้ลงโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 แล้ว จะพบว่ามีบทลงโทษเหมือนกัน แต่หากพบว่าผู้ที่กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีบทลงโทษมากกว่า 2 -10 เท่า
ส่วนข้อแตกต่างที่มีโทษเข้ามาเพิ่มเติม คือ หากผู้ใดเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะปลุกระดม ข่มขู่ เพื่อมุ่งหวังขัดขวางการออกมาใช้สิทธิ ถือว่ามีความผิด ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
อย่างไรก็ตาม กรณีการปลุกระดมจากต่างประเทศผ่านสื่อออนไลน์นั้น ยังไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะกฎหมายยังไม่ครอบคลุมไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะมีผู้ร้องเรียน และตรวจสอบว่าจะเชื่อมโยงถึงใคร
สำหรับการจัดพิมพ์จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ร่างรัฐธรรมนูญ 1.2 ล้านฉบับ สรุปเนื้อหาสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ 6 ล้านฉบับ สรุปย่อสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญจัดทำ 17 ล้านครัวเรือน พิมพ์แบบ 4 สี เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ส่วนแผนกำหนดการวันออกเสียงประชามติ คาดว่าดำเนินการได้ช่วงต้นเดือน สิงหาคมนี้
ทั้งนี้ ยืนยันว่า กกต.มีความพร้อมในการจัดทำการออกเสียงประชามติ และไม่น่ามีปัญหาใด ส่วนเหตุผลที่ดำเนินการของบประมาณล่าช้า เพราะมีขั้นตอนการตรวจสอบโครงการภายในและภายนอก ว่าซ้ำซ้อนกับโครงการเดิมของ กกต.หรือไม่ เพราะต้องการให้งบประมาณมีความชัดเจน คาดว่าสัปดาห์หน้า ประธาน กกต.จะลงนามส่งเรื่องของบประมาณการจัดทำการออกเสียงประชามติไปยังสำนักงบประมาณได้
ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ล่าสุดที่ประชุม กกต. สรุปงบประมาณที่จะใช้ในการออกเสียงประชามติ จำนวน 2,991 ล้านบาท และการทำประชามติครั้งนี้จะไม่ใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การอำนวยความสะดวกกับผู้พิการ จะมีกรรมการประจำหน่วยคอยอำนวยความสะดวกและช่วยกาบัตรลงประชามติได้
นายสมชัย ย้ำว่า บทลงโทษในร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. . ไม่ได้จำกัดสิทธิของประชาชน และไม่ได้เพื่อใช้ลงโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 แล้ว จะพบว่ามีบทลงโทษเหมือนกัน แต่หากพบว่าผู้ที่กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีบทลงโทษมากกว่า 2 -10 เท่า
ส่วนข้อแตกต่างที่มีโทษเข้ามาเพิ่มเติม คือ หากผู้ใดเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะปลุกระดม ข่มขู่ เพื่อมุ่งหวังขัดขวางการออกมาใช้สิทธิ ถือว่ามีความผิด ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
อย่างไรก็ตาม กรณีการปลุกระดมจากต่างประเทศผ่านสื่อออนไลน์นั้น ยังไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะกฎหมายยังไม่ครอบคลุมไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะมีผู้ร้องเรียน และตรวจสอบว่าจะเชื่อมโยงถึงใคร