สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่า ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในอังกฤษ เวลส์ และสกอตแลนด์ รวม 2,014 คน โดยหนังสือพิมพ์ ดิ อินดิเพนเดนท์ ร่วมกับสำนักวิจัยโออาร์บี ระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ ผ่านมา ในหัวข้ออนาคตของสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรป (อียู ) ปรากฏว่าเสียงสนับสนุนให้ออกจากสหภาพอยู่ที่ร้อยละ 52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากการสำรวจเมื่อเดือนมกราคม ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 48
ขณะที่เสียงคัดค้านการถอนตัวลดลงร้อยละ 4 จากการสำรวจครั้งที่แล้ว เหลือร้อยละ 48 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแสความต้องการออกจากสหภาพเพิ่มมากขึ้น มาจากการที่นายบอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน แสดงจุดยืนสนับสนุนการออกจากสหภาพ โดยจอห์นสัน กล่าวว่า อียูต้องการเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐ และกำลังสร้างความกลัวให้แก่ประชาชนด้วยการเข้ามาครอบงำว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะขาดเสถียรภาพหากถอนตัวออกจากสหภาพ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว วาระเร่งด่วนที่ต้องจัดการที่สุดในเวลานี้ คือการคลี่คลายวิกฤติผู้อพยพมากกว่า สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายว่า การขาดเอกภาพของอียูในเรื่องนี้จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้สหราชอาณาจักรลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพ
ขณะที่เสียงคัดค้านการถอนตัวลดลงร้อยละ 4 จากการสำรวจครั้งที่แล้ว เหลือร้อยละ 48 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแสความต้องการออกจากสหภาพเพิ่มมากขึ้น มาจากการที่นายบอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน แสดงจุดยืนสนับสนุนการออกจากสหภาพ โดยจอห์นสัน กล่าวว่า อียูต้องการเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐ และกำลังสร้างความกลัวให้แก่ประชาชนด้วยการเข้ามาครอบงำว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะขาดเสถียรภาพหากถอนตัวออกจากสหภาพ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว วาระเร่งด่วนที่ต้องจัดการที่สุดในเวลานี้ คือการคลี่คลายวิกฤติผู้อพยพมากกว่า สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายว่า การขาดเอกภาพของอียูในเรื่องนี้จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้สหราชอาณาจักรลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพ