นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2558 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพ โดยเงินสำรองและเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง แม้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อด้อยลงตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้กำไรสุทธิจะลดลงจากการกันสำรองเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการหันไประดมทุนผ่านตลาดทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยการชะลอตัวของสินเชื่อปี 2558 เป็นผลจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีขยายตัวเพิ่มขึ้น สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัวร้อยละ 0.1 ชะลอลงมากจากร้อยละ 4.8 จากปีก่อน ในภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งจากการระดมทุนผ่านตลาดทุนและชำระคืนหนี้ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งตัดหนี้สูญลูกหนี้บริษัทขนาดใหญ่รายหนึ่ง สินเชื่อเอสเอ็มอีขยายตัวร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปีก่อนจากธุรกิจขนาดเล็ก สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 7.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ร้อยละ 7.4 ในสินเชื่อทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อรถยนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 1 หลังจากที่หดตัวต่อเนื่อง 6 ไตรมาส สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้าง 337,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 60,300 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.55 จากร้อยละ 2.15 สินเชื่อจัดชั้นเป็นพิเศษ (SM) มียอดคงค้างทั้งสิ้น 314,100 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 22,300 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน SM ต่อสินเชื่อรวมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.38 จากร้อยละ 2.61 ณ สิ้นปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองสำหรับสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยเงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 444,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการหันไประดมทุนผ่านตลาดทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยการชะลอตัวของสินเชื่อปี 2558 เป็นผลจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีขยายตัวเพิ่มขึ้น สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัวร้อยละ 0.1 ชะลอลงมากจากร้อยละ 4.8 จากปีก่อน ในภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งจากการระดมทุนผ่านตลาดทุนและชำระคืนหนี้ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งตัดหนี้สูญลูกหนี้บริษัทขนาดใหญ่รายหนึ่ง สินเชื่อเอสเอ็มอีขยายตัวร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปีก่อนจากธุรกิจขนาดเล็ก สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 7.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ร้อยละ 7.4 ในสินเชื่อทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อรถยนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 1 หลังจากที่หดตัวต่อเนื่อง 6 ไตรมาส สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้าง 337,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 60,300 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.55 จากร้อยละ 2.15 สินเชื่อจัดชั้นเป็นพิเศษ (SM) มียอดคงค้างทั้งสิ้น 314,100 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 22,300 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน SM ต่อสินเชื่อรวมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.38 จากร้อยละ 2.61 ณ สิ้นปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองสำหรับสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยเงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 444,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน