นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามเฝ้าระวัง ประเมินและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้ง กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมุ่งเน้นการใช้กลไกประชารัฐ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง พร้อมส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งถึงช่วงต้นฤดูฝน ปี พ.ศ. 2559
ทั้งนี้ หลายพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 13 จังหวัด รวม 60 อำเภอ 333 ตำบล 3,092 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 4.12 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อเป็นการลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยแล้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำ สภาพอากาศปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อนำมาประเมิน วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้ง และกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยเน้นย้ำให้จังหวัดเตรียมรับมือและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนจัดเตรียมภาชนะสำรองน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ขอความร่วมมือเกษตรกรงดทำนาปรัง โดยเฉพาะพื้นที่ 14 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีการทำนาปรังไปแล้วกว่า 1.7 ล้านไร่ เพื่อป้องกันผลผลิตได้รับความเสียหายการลักลอบสูบน้ำซึ่งจะส่งผลกระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ โดยส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ให้จังหวัดร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนและหน่วยทหารเฝ้าระวังการลักลอบสูบน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง กรณีมีปัญหาการแย่งน้ำให้เน้นการเจรจาและทำความตกลงร่วมกันเพื่อ กำหนดกติกาในการใช้น้ำ ซึ่งจะช่วยป้องกันการแย่งน้ำของประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการระดมมวลชนสร้างสถานการณ์ซ้ำเติมปัญหาภัยแล้งให้รุนแรงและขยายวง กว้างมากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งจะทำให้มีน้ำอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งถึงช่วงต้นฤดูฝน ปี พ.ศ. 2559
ทั้งนี้ หลายพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 13 จังหวัด รวม 60 อำเภอ 333 ตำบล 3,092 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 4.12 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อเป็นการลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยแล้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำ สภาพอากาศปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อนำมาประเมิน วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้ง และกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยเน้นย้ำให้จังหวัดเตรียมรับมือและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนจัดเตรียมภาชนะสำรองน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ขอความร่วมมือเกษตรกรงดทำนาปรัง โดยเฉพาะพื้นที่ 14 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีการทำนาปรังไปแล้วกว่า 1.7 ล้านไร่ เพื่อป้องกันผลผลิตได้รับความเสียหายการลักลอบสูบน้ำซึ่งจะส่งผลกระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ โดยส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ให้จังหวัดร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนและหน่วยทหารเฝ้าระวังการลักลอบสูบน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง กรณีมีปัญหาการแย่งน้ำให้เน้นการเจรจาและทำความตกลงร่วมกันเพื่อ กำหนดกติกาในการใช้น้ำ ซึ่งจะช่วยป้องกันการแย่งน้ำของประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการระดมมวลชนสร้างสถานการณ์ซ้ำเติมปัญหาภัยแล้งให้รุนแรงและขยายวง กว้างมากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งจะทำให้มีน้ำอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งถึงช่วงต้นฤดูฝน ปี พ.ศ. 2559