นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีรายงานของฮิวแมนไรตส์วอตช์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยว่าแย่ลง มีการจำกัดสิทธิการชุมนุม และการแสดงออก ในที่สาธารณะ อีกทั้งการสืบสวนคดีในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ไม่คืบหน้า พร้อมทั้งฮิวแมนไรตส์วอตช์ยังเรียกร้องให้ประชาคมโลกกดดันรัฐบาลไทยนั้น รายงานดังกล่าว เป็นการสรุปสถานการณ์ภาพรวมด้านสิทธิมนุษยชนของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดทำโดยองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล โดยสถานการณ์ในประเทศไทยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายงาน
ทั้งนี้ เห็นว่าภาพรวมของปี 2558 ไม่สะท้อนถึงพัฒนาการเชิงบวกอันเป็นผลจากการดำเนินการอย่างจริงจังของรัฐบาลในหลายประการ แต่เป็นการวิจารณ์ประเด็นที่มีความคืบหน้า เช่น การแก้ไขปัญหาด้านการค้ามนุษย์ ทั้งในเรื่องบทบาทของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย การจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการค้ามนุษย์ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย การยกฟ้องคดีภูเก็ตหวาน การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข? ซึ่งรัฐบาลไทยรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งที่รายงานดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และมิได้สะท้อนถึงความคืบหน้าของการปฏิรูปซึ่งมีพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยรัฐบาลไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามโรดแมป เพื่อนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง สังคมที่ปรองดองและบ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ตามกรอบระยะเวลาที่ระบุไว้ชัดเจน โดยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2560 และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ในเดือนกรกฎาคม 2560
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยังกล่าวว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดในภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมีความคืบหน้าตามแผนที่กำหนดไว้ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมเปิดเผยรายละเอียดร่างแรกต่อสาธารณชนในวันที่ 29 มกราคมนี้ หลังจากนั้นจะลงพื้นที่เพื่อสอบถามความเห็นจากประชาชนเพื่อนำมาปรับแก้ให้เป็นร่างสุดท้ายภายในเดือนเมษายน ก่อนนำไปทำประชามติ ทั้งนี้ ร่างรัฐธรรมนูญจะมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับได้จากทุกฝ่าย โดยมองปัญหาของประเทศในห้วงที่ผ่านมาเพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก และช่วยแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่สั่งสมมานาน นอกจากนั้น ในช่วง 1 ปีที่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ได้เสนอกฎหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว จำนวน 164 ฉบับ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปฏิรูปในด้านต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ส่วนประเด็นเรื่องเสรีภาพของประชาชนนั้น ขอยืนยันว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิบัติสากล เห็นได้ว่าสื่อหลายสำนักสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างเสรี อย่างไรก็ดีมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันความแตกแยกในสังคมด้วย เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูปเพื่อนำสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคงและความสามัคคีภายในชาติ
สำหรับการดำเนินคดีในศาลทหารตามที่มีการระบุในรายงาน ขอยืนยันว่า รัฐบาลไทยยึดมั่นในกระบวนการตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อผู้ที่ถูกควบคุมอย่างถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยกระบวนการภายในศาลทหารไม่แตกต่างจากวิธีพิจารณาความอาญาภายใต้ศาลอาญาปกติ จำเลยได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน ปัจจุบันพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารคือกลุ่มตามฐานความผิดที่จำกัดเพียง 4 ประเภทเท่านั้น ได้แก่ ความมั่นคงแห่งชาติ ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความผิดเกี่ยวกับอาวุธสงคราม และการขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ทั้งนี้ เห็นว่าภาพรวมของปี 2558 ไม่สะท้อนถึงพัฒนาการเชิงบวกอันเป็นผลจากการดำเนินการอย่างจริงจังของรัฐบาลในหลายประการ แต่เป็นการวิจารณ์ประเด็นที่มีความคืบหน้า เช่น การแก้ไขปัญหาด้านการค้ามนุษย์ ทั้งในเรื่องบทบาทของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย การจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการค้ามนุษย์ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย การยกฟ้องคดีภูเก็ตหวาน การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข? ซึ่งรัฐบาลไทยรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งที่รายงานดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และมิได้สะท้อนถึงความคืบหน้าของการปฏิรูปซึ่งมีพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยรัฐบาลไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามโรดแมป เพื่อนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง สังคมที่ปรองดองและบ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ตามกรอบระยะเวลาที่ระบุไว้ชัดเจน โดยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2560 และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ในเดือนกรกฎาคม 2560
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยังกล่าวว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดในภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมีความคืบหน้าตามแผนที่กำหนดไว้ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมเปิดเผยรายละเอียดร่างแรกต่อสาธารณชนในวันที่ 29 มกราคมนี้ หลังจากนั้นจะลงพื้นที่เพื่อสอบถามความเห็นจากประชาชนเพื่อนำมาปรับแก้ให้เป็นร่างสุดท้ายภายในเดือนเมษายน ก่อนนำไปทำประชามติ ทั้งนี้ ร่างรัฐธรรมนูญจะมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับได้จากทุกฝ่าย โดยมองปัญหาของประเทศในห้วงที่ผ่านมาเพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก และช่วยแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่สั่งสมมานาน นอกจากนั้น ในช่วง 1 ปีที่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ได้เสนอกฎหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว จำนวน 164 ฉบับ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปฏิรูปในด้านต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ส่วนประเด็นเรื่องเสรีภาพของประชาชนนั้น ขอยืนยันว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิบัติสากล เห็นได้ว่าสื่อหลายสำนักสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างเสรี อย่างไรก็ดีมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันความแตกแยกในสังคมด้วย เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูปเพื่อนำสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคงและความสามัคคีภายในชาติ
สำหรับการดำเนินคดีในศาลทหารตามที่มีการระบุในรายงาน ขอยืนยันว่า รัฐบาลไทยยึดมั่นในกระบวนการตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อผู้ที่ถูกควบคุมอย่างถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยกระบวนการภายในศาลทหารไม่แตกต่างจากวิธีพิจารณาความอาญาภายใต้ศาลอาญาปกติ จำเลยได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน ปัจจุบันพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารคือกลุ่มตามฐานความผิดที่จำกัดเพียง 4 ประเภทเท่านั้น ได้แก่ ความมั่นคงแห่งชาติ ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความผิดเกี่ยวกับอาวุธสงคราม และการขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ