นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า ตามที่พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้มรณภาพลง ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน พร้อม พระราชทานน้ำหลวงสรงศพวันที่ 26 มกราคม 2559 โกศโถ ฉัตรเบญจาตั้งประดับ และปี่ กลองชนะประโคม เวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ นอกจากนี้ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม จะเดินทางไปเป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ในวันเดียวกันด้วย โดยทางวัดจะเปิดให้ลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชนเข้าสรงศพหลวงพ่อจรัญได้ตั้งแต่เวลา 07.00-16.30 ที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
นายพนม กล่าวด้วยว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือที่สาธุชนรู้จักมักคุ้นกันใน นาม หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม แห่งวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระกรรมฐาน จริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน แสวงหาความรู้และประสบการณ์ นำมาสอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม รู้ถึงการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ การบำเพ็ญภาวนา อันเป็นที่มาของศีล สมาธิ ปัญญา จนเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ ในการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ สืบสานเส้นทางธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งนี้หลังเสร็จสิ้นพิธีสวดพระอภิธรรมศพในพระบรมราชานุเคระห์ ยังมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลต่ออีก 100 วัน โดยวัดอัมพวันและศิษยานุศิษย์ จะเป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้วัดอัมพวันยังเปิดให้สาธุชนทั่วประเทศเข้ากราบเคารพสรีระหลวงพ่อได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30 น. ถึง 22.00 น. (เว้นในเวลาพิธี)
ส่วนการเข้าปฏิบัติธรรมวัดอัมพวันยังเปิดรับตามปกติ สามารถลงทะเบียนได้ทุกวันก่อน 16.00 น.
หลวงพ่อจรัญ เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ
สำหรับประวัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โยมบิดาชื่อแพ โยมมารดาชื่อ เจิม จรรยารักษ์ ซึ่งมีอาชีพค้าขาย มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ท่านเคยศึกษาดนตรีไทยมีปี่พาทย์ มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดากับคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พ.ต.หลวงธารา ได้นำไปฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ และได้ศึกษาอยู่ประมาณ 1 เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้ ต่อมาท่านอุปสมบทวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยมีพระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธารามเป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อจรัญได้ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานโดยปีพ.ศ. 2491 ศึกษาพระธรรมวินัย ณ สำนักพรหมบุรี พ.ศ.2492 สอบนักธรรมโทสนามหลวงได้ที่วัดแจ้งพรหมนคร พ.ศ. 2493 ศึกษาวิชากรรมฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อ.หนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ พ.ศ. 2494 ศึกษาวิชากรรมฐานกับหลวงพ่อลี และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร จ.ขอนแก่น พ.ศ.2495 ศึกษาการทำพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง, น้ำมันมนต์กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง จ.อยุธยา และพระครูวินิจสุตคุณ, หลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
หลวงพ่อจรัญเป็นพระภิกษุชาวไทยในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 โดยในปีพ.ศ. 2501 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูปลัดจรัญ ฐิตธัมโม พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์ ต่อมาพ.ศ. 2525 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ หลังจากนั้นพ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ พ.ศ. 2535 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชสุทธิญาณมงคล พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ และพ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมสิงหบุราจารย์ สำหรับตำแหน่งการปกครองทางสงฆ์ พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2541 ได้รับพระบัญชาเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2552 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2557 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3
นายพนม กล่าวด้วยว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือที่สาธุชนรู้จักมักคุ้นกันใน นาม หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม แห่งวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระกรรมฐาน จริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน แสวงหาความรู้และประสบการณ์ นำมาสอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม รู้ถึงการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ การบำเพ็ญภาวนา อันเป็นที่มาของศีล สมาธิ ปัญญา จนเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ ในการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ สืบสานเส้นทางธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งนี้หลังเสร็จสิ้นพิธีสวดพระอภิธรรมศพในพระบรมราชานุเคระห์ ยังมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลต่ออีก 100 วัน โดยวัดอัมพวันและศิษยานุศิษย์ จะเป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้วัดอัมพวันยังเปิดให้สาธุชนทั่วประเทศเข้ากราบเคารพสรีระหลวงพ่อได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30 น. ถึง 22.00 น. (เว้นในเวลาพิธี)
ส่วนการเข้าปฏิบัติธรรมวัดอัมพวันยังเปิดรับตามปกติ สามารถลงทะเบียนได้ทุกวันก่อน 16.00 น.
หลวงพ่อจรัญ เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ
สำหรับประวัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โยมบิดาชื่อแพ โยมมารดาชื่อ เจิม จรรยารักษ์ ซึ่งมีอาชีพค้าขาย มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ท่านเคยศึกษาดนตรีไทยมีปี่พาทย์ มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดากับคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พ.ต.หลวงธารา ได้นำไปฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ และได้ศึกษาอยู่ประมาณ 1 เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้ ต่อมาท่านอุปสมบทวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยมีพระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธารามเป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อจรัญได้ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานโดยปีพ.ศ. 2491 ศึกษาพระธรรมวินัย ณ สำนักพรหมบุรี พ.ศ.2492 สอบนักธรรมโทสนามหลวงได้ที่วัดแจ้งพรหมนคร พ.ศ. 2493 ศึกษาวิชากรรมฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อ.หนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ พ.ศ. 2494 ศึกษาวิชากรรมฐานกับหลวงพ่อลี และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร จ.ขอนแก่น พ.ศ.2495 ศึกษาการทำพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง, น้ำมันมนต์กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง จ.อยุธยา และพระครูวินิจสุตคุณ, หลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
หลวงพ่อจรัญเป็นพระภิกษุชาวไทยในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 โดยในปีพ.ศ. 2501 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูปลัดจรัญ ฐิตธัมโม พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์ ต่อมาพ.ศ. 2525 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ หลังจากนั้นพ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ พ.ศ. 2535 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชสุทธิญาณมงคล พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ และพ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมสิงหบุราจารย์ สำหรับตำแหน่งการปกครองทางสงฆ์ พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2541 ได้รับพระบัญชาเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2552 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2557 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3