วันนี้ ( 23 ม.ค. ) นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาระบุว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ผ่านประชามติว่า ในสังคมที่มีคนหมู่มาก การแสดงความเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น ซึ่งทาง กรธ.พร้อมยอมรับคำวิจารณ์ แต่การพูดลักษณะดังกล่าวของนายจตุพร น่าจะมาจากความเข้าใจผิด และความคิดที่อคติเกินไป เพราะกรธ.ทำงานเหนื่อยตัวแทบขาด โดยมีความตั้งใจว่าทุกอย่างที่บัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญต้องกินได้ หมายถึงสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่วนจะผ่านประชามติหรือไม่ ทางกรธ.ไม่ได้มีความกังวลในส่วนนี้ เพราะ กรธ.คงไม่สารมารถทำให้ทุกฝ่ายพอใจได้ แต่ยืนยันว่า กรธ.ทุกคนทำอย่างเต็มที่ ปรารถนาดีต่อบ้านเมือง และต้องการให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลง
ส่วนความเห็นของอดีต ส.ส.ร.40 ที่ระบุว่าการบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ฝ่าวิกฤตการเมือง เป็นเครื่องมือรัฐประหารแบบใหม่นั้น นายอมร กล่าวว่า เรื่องอำนาจ หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่ถูกเข้าใจผิดว่ากรธ.มอบอำนาจเพิ่มเติมให้ศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่เป็นบทบัญญัติที่เหมือนเดิม โดยศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้อยู่แล้ว กรธ.เพียงแต่มาตรา 7 ย้ายมาอยู่ในหมวดว่าด้วยหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาระบุไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ทางกรธ.เข้าใจความห่วงใย จึงทำให้คุณสมบัติการได้มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความพิถีพิถัน
ส่วนความเห็นของอดีต ส.ส.ร.40 ที่ระบุว่าการบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ฝ่าวิกฤตการเมือง เป็นเครื่องมือรัฐประหารแบบใหม่นั้น นายอมร กล่าวว่า เรื่องอำนาจ หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่ถูกเข้าใจผิดว่ากรธ.มอบอำนาจเพิ่มเติมให้ศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่เป็นบทบัญญัติที่เหมือนเดิม โดยศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้อยู่แล้ว กรธ.เพียงแต่มาตรา 7 ย้ายมาอยู่ในหมวดว่าด้วยหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาระบุไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ทางกรธ.เข้าใจความห่วงใย จึงทำให้คุณสมบัติการได้มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความพิถีพิถัน