การประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นอกสถานที่ ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีในช่วงบ่าย เสร็จสิ้นการพิจารณาในหมวด 2 พระมหากษัตริย์แล้ว ที่ไม่มีการแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2551 โดยกลไกต่างๆ เป็นไปตามเดิม ยกเว้นเรื่ององคมนตรี มีการปรับถ้อยคำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนมาตรา 7 เดิมในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่เป็นปัญหาการตีความมานาน ที่ประชุมเห็นว่า จะนำถ้อยคำในมาตรา 7 ไปแทรกในบทบัญญัติ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแทนที่เป็นผู้วินิจฉัย และมีแนวทางปรับเปลี่ยนถ้อยคำใหม่ ไม่ใช้คำว่าประเพณีการปกครอง เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่มีปัญหาในอดีต โดย กรธ.จะพยายามบัญญัติช่องทางแก้ปัญหาต่างๆ ไว้รอบด้าน เพื่อให้การตีความทุกเรื่องมีช่องทางที่ชัดเจน
ขณะที่มาตรา 24 และ 25 มีการเพิ่มเติมให้ครอบคลุมมากขึ้น ในเรื่องขององคมนตรี โดยในมาตรา 12 องคมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงความฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใด โดยกรรมการเห็นชอบให้ตัด "ตุลาการศาลปกครอง" ออก เนื่องจากปัจจุบันมีความชัดเจนแล้วว่า พนักงานในสังกัดศาลปกครอง เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเพิ่มเติมในส่วนของมาตรา 24 วรรค 1 ในกรณีที่ต้องดำเนินการในรัฐสภา หรือโดยรัฐสภาตามมาตรา หากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่รัฐสภา ซึ่งจะพิจารณาอีกครั้งเพื่อความชัดเจน
นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติเพิ่มเติมให้บุคคลที่อยู่ระหว่างต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับหน้าที่ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความจำเป็นได้ก่อน
ขณะที่มาตรา 24 และ 25 มีการเพิ่มเติมให้ครอบคลุมมากขึ้น ในเรื่องขององคมนตรี โดยในมาตรา 12 องคมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงความฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใด โดยกรรมการเห็นชอบให้ตัด "ตุลาการศาลปกครอง" ออก เนื่องจากปัจจุบันมีความชัดเจนแล้วว่า พนักงานในสังกัดศาลปกครอง เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเพิ่มเติมในส่วนของมาตรา 24 วรรค 1 ในกรณีที่ต้องดำเนินการในรัฐสภา หรือโดยรัฐสภาตามมาตรา หากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่รัฐสภา ซึ่งจะพิจารณาอีกครั้งเพื่อความชัดเจน
นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติเพิ่มเติมให้บุคคลที่อยู่ระหว่างต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับหน้าที่ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความจำเป็นได้ก่อน