นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้จัดทำ “โครงการรักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักษ์คลิตี้” เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมบริเวณห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาพื้นที่ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่จะดำเนินการฟื้นฟูการปนเปื้อน และปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นความสำคัญของพื้นที่ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยการดำเนินกิจกรรมเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่น กิจกรรมทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา โดยมีการมอบอุปกรณ์การศึกษาและทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลิตี้ล่าง มอบตู้ยาพร้อมยาสามัญประจำบ้าน อุปกรณ์กันหนาว กิจกรรมบวชป่า บริเวณริมห้วยคลิตี้ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง เพื่อบวชป่า ต่ออายุให้ต้นไม้ พิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองพื้นที่ป่าไม้
นายวิจารย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้จากการปนเปื้อนสารตะกั่ว จะเริ่มดำเนินการในปี 2559 และกำหนดแล้วเสร็จในปี 2561 โดยกิจกรรมหลักของโครงการประกอบด้วยการขุดลอกห้วยคลิตี้ การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนรอบโรงแต่งแร่เดิม การก่อสร้างหลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล และการก่อสร้างฝายหินทิ้งเพื่อดักตะกอน เพิ่มจำนวน 2 แห่ง แต่การดำเนินงานในปัจจุบันมีประเด็นที่จะต้องดำเนินการ คือ 1. การขออนุญาตใช้พื้นที่ที่เขตอุทยานแห่งชาติลำคลองงู พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโจน และเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 2. ปรับแก้ไขขอบเขตการดำเนินงานจากแบบรายการเหมาให้เป็นแบบราคาต่อหน่วย เนื่องจากมีข้อกังวลเรื่องการเสียประโยชน์ของราชการ ในประเด็นปริมาณตะกอนที่ขุดลอกอาจไม่เท่ากับที่ประเมินไว้เดิม
นายวิจารย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้จากการปนเปื้อนสารตะกั่ว จะเริ่มดำเนินการในปี 2559 และกำหนดแล้วเสร็จในปี 2561 โดยกิจกรรมหลักของโครงการประกอบด้วยการขุดลอกห้วยคลิตี้ การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนรอบโรงแต่งแร่เดิม การก่อสร้างหลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล และการก่อสร้างฝายหินทิ้งเพื่อดักตะกอน เพิ่มจำนวน 2 แห่ง แต่การดำเนินงานในปัจจุบันมีประเด็นที่จะต้องดำเนินการ คือ 1. การขออนุญาตใช้พื้นที่ที่เขตอุทยานแห่งชาติลำคลองงู พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโจน และเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 2. ปรับแก้ไขขอบเขตการดำเนินงานจากแบบรายการเหมาให้เป็นแบบราคาต่อหน่วย เนื่องจากมีข้อกังวลเรื่องการเสียประโยชน์ของราชการ ในประเด็นปริมาณตะกอนที่ขุดลอกอาจไม่เท่ากับที่ประเมินไว้เดิม