วันนี้ (29 ธ.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 913 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีหมายเลขดำ อ.961/2553 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 5 เป็นโจทก์ฟ้อง พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณอยุธยา อายุ 75 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายอมรวิทย์ สุวรรณผล อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลพรรคการเมืองคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายชวการ หรือกรกฤต โตสวัสดิ์ อดีตสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทย นายสุขสันต์ หรือจตุชัย ชัยเทศ อดีตผู้อำนวยการการเลือกตั้งพรรคพัฒนาชาติไทย และนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ อดีตหัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐานกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6, 11 ตามฟ้องโจทก์บรรยายสรุปว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 2-7 มีนาคม 2549 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 จ้างวานให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต โดยมอบเงินค่าตอบแทนให้จำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาท ให้ดำเนินการตัดต่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายชื่อข้อมูลสมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทย ที่ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยไม่ครบ 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดเหตุเกิดที่แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ว่า จำเลยที่ 1, 3, 4,5 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 11 ให้จำคุกคนละ 3 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ กกต.มีความผิดตาม พ.ร.บ.เดียวกัน มาตรา 6 ให้จำคุก 5 ปี โดยไม่รอลงอาญาทั้งหมด และให้ริบเงินสดของกลางจำนวน 30,000 บาท ขณะที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และแก้โทษจำเลยที่ 2 เหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 3-5 ให้จำคุกคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ขณะที่จำเลยที่ 2-5 ยื่นฎีกา
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลานัด มีเพียงจำเลยที่ 2 และ 5 เดินทางมาศาล ส่วนจำเลยที่ 4 ไม่ได้เดินทางมา ซึ่งทนายจำเลยที่ 4 แถลงต่อศาลว่า เพิ่งทราบจากภรรยาจำเลยที่ 4 ว่ายังไม่ได้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 4 ทราบหมายโดยชอบแล้ว แต่ไม่ได้เดินทางมาศาล และไม่ได้แจ้งเหตุผลอันสมควร เชื่อว่าจำเลยที่ 4 มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่ 4 และปรับนายประกัน และให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปเป็นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00 น. ส่วน พล.อ.ธรรมรักษ์ จำเลยที่ 1 คดีได้ถึงที่สุดไปแล้วในชั้นอุทธรณ์ ขณะที่จำเลยที่ 3 หลบหนีไปในชั้นอุทธรณ์ ศาลได้ออกหมายจับไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ว่า จำเลยที่ 1, 3, 4,5 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 11 ให้จำคุกคนละ 3 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ กกต.มีความผิดตาม พ.ร.บ.เดียวกัน มาตรา 6 ให้จำคุก 5 ปี โดยไม่รอลงอาญาทั้งหมด และให้ริบเงินสดของกลางจำนวน 30,000 บาท ขณะที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และแก้โทษจำเลยที่ 2 เหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 3-5 ให้จำคุกคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ขณะที่จำเลยที่ 2-5 ยื่นฎีกา
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลานัด มีเพียงจำเลยที่ 2 และ 5 เดินทางมาศาล ส่วนจำเลยที่ 4 ไม่ได้เดินทางมา ซึ่งทนายจำเลยที่ 4 แถลงต่อศาลว่า เพิ่งทราบจากภรรยาจำเลยที่ 4 ว่ายังไม่ได้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 4 ทราบหมายโดยชอบแล้ว แต่ไม่ได้เดินทางมาศาล และไม่ได้แจ้งเหตุผลอันสมควร เชื่อว่าจำเลยที่ 4 มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่ 4 และปรับนายประกัน และให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปเป็นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00 น. ส่วน พล.อ.ธรรมรักษ์ จำเลยที่ 1 คดีได้ถึงที่สุดไปแล้วในชั้นอุทธรณ์ ขณะที่จำเลยที่ 3 หลบหนีไปในชั้นอุทธรณ์ ศาลได้ออกหมายจับไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557