สหภาพยุโรปในวันจันทร์(21ธ.ค.) เห็นพ้องขยายเวลามาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียออกไปอีก 6 เดือนฐานเข้าแทรกแซงวิกฤตยูเครน ท่ามกลางความเห็นต่างของสมาชิก
ถ้อยแถลงที่ออกโดย 28 ชาติสมาชิก สหภาพยุโรประบุว่าพวกเขาต้องตัดสินใจเช่นนี้เพราะว่าข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซียในกรุงมินสก์ของเบลารุส ซึ่งมีฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นคนกลาง ไม่มีการบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในช่วงสิ้นปีตามที่กำหนดไว้
"เนื่องด้วยไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงมินสก์อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ระยะเวลาของมาตรการคว่ำบาตรจึงถูกขยายออกไป โดยที่ระหว่างนั้นทางสภา(ของรัฐสมาชิก) จะคอยประเมินความคืบหน้าของการบังคับใช้" ถ้อยแถลงระบุ
เบื้องต้นทางอียู ตั้งใจให้ได้ข้อสรุปและเสนออนุมัติจากผู้แทนของรัฐสมาชิกในช่วงต้นเดือนธันวาคม แต่ต้องมีอันต้องล่าช้าหลังจากหลายประเทศ โดยเฉพาะอิตาลีหยิบยกคำถามว่าอียูจะสามารถลงโทษรัสเซียต่อกรณียูเครนได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากมอสโกในประเด็นระหว่างประเทศสำคัญๆอื่นๆ ในนั้นรวมถึงความขัดแย้งซีเรีย
อิตาลีซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียมาตั้งแต่ดั้งเดิมเยกร้องให้ที่ประชุมซัมมิทผู้นำอียูในบรัสเซลส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หารือกันในประเด็นนี้ แต่นายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี ก็ไม่สามารถผลักดันมันเข้าสู่กภาวะการพูดคุยได้แม้พยายามอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม
อียู กำหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจชุดแรกต่อรัสเซียเป็นเวลา 1 ปี ตามหลังเหตุเครื่องบินของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ถูกยิงตกทางภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของกบฏฝักใฝ่มอสโก ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2015 ได้มีการขยายออกไปอีก 6 เดือนจนถึงมกราคม 2016 และล่าสุดได้ต่ออายุไปจนถึงเดือนกรกฎาคม
ถ้อยแถลงที่ออกโดย 28 ชาติสมาชิก สหภาพยุโรประบุว่าพวกเขาต้องตัดสินใจเช่นนี้เพราะว่าข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซียในกรุงมินสก์ของเบลารุส ซึ่งมีฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นคนกลาง ไม่มีการบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในช่วงสิ้นปีตามที่กำหนดไว้
"เนื่องด้วยไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงมินสก์อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ระยะเวลาของมาตรการคว่ำบาตรจึงถูกขยายออกไป โดยที่ระหว่างนั้นทางสภา(ของรัฐสมาชิก) จะคอยประเมินความคืบหน้าของการบังคับใช้" ถ้อยแถลงระบุ
เบื้องต้นทางอียู ตั้งใจให้ได้ข้อสรุปและเสนออนุมัติจากผู้แทนของรัฐสมาชิกในช่วงต้นเดือนธันวาคม แต่ต้องมีอันต้องล่าช้าหลังจากหลายประเทศ โดยเฉพาะอิตาลีหยิบยกคำถามว่าอียูจะสามารถลงโทษรัสเซียต่อกรณียูเครนได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากมอสโกในประเด็นระหว่างประเทศสำคัญๆอื่นๆ ในนั้นรวมถึงความขัดแย้งซีเรีย
อิตาลีซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียมาตั้งแต่ดั้งเดิมเยกร้องให้ที่ประชุมซัมมิทผู้นำอียูในบรัสเซลส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หารือกันในประเด็นนี้ แต่นายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี ก็ไม่สามารถผลักดันมันเข้าสู่กภาวะการพูดคุยได้แม้พยายามอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม
อียู กำหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจชุดแรกต่อรัสเซียเป็นเวลา 1 ปี ตามหลังเหตุเครื่องบินของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ถูกยิงตกทางภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของกบฏฝักใฝ่มอสโก ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2015 ได้มีการขยายออกไปอีก 6 เดือนจนถึงมกราคม 2016 และล่าสุดได้ต่ออายุไปจนถึงเดือนกรกฎาคม