รายงานข่าวแจ้งว่าวันนี้ (20 ธ.ค.58) เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. ขบวนแห่สรีระสังขารของพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก ประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว หรือ พระสังฆราชลาว รูปที่ 4 ได้เคลื่อนขบวนเกียรติยศ ออกจากวัดองค์ตื้อ เพื่อไปตั้งขบวนใหญ่ที่ประตูชัยเวียงจันทน์ อนุสรณ์สถานสำคัญประจำบ้านเมือง โดยจะมีชาย-หญิงยืนสองฝั่งของประตูชัยเพื่อถวายเกียรติยศ ซึ่งขบวนเกียรติยศจะประกอบด้วย ขบวนผู้ทรงคุณวุฒิ ขบวนเสลี่ยงพระมหาเถระ เจ้าหน้าที่เกียรติยศ ขบวนจูงพระสรีระสังขาร พระมหาผ่อง ขบวนพระสงฆ์ ขบวนดนตรีพื้นเมืองลาวและขบวนมหาชน เพื่อเคลื่อนไปต่อยังพระเมรุ ที่ตั้งอยู่ลานพระธาตุหลวง
โดยมีพระสงฆ์จากลาวและนานาประเทศร่วมแสดงความอาลัยพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก พระสังฆราชลาวรูปที่ 4 เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากร่วมนำขบวนเคลื่อนสรีระสังขารพระอาจารย์ใหญ่มาจากวัดองค์ตื้อ และมีคณะพระสงฆ์ไทยนำโดยพระธรรมวรนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา มาร่วมพิธีด้วย
ทั้งนี้ นายเทพพรหม อ่อนศรีบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลานชายคนหนึ่งของพระมหาผ่องได้เดินทางมาร่วมในพิธี เปิดเผยว่า ได้น้อมนำคำสอนของพระมหาผ่อง ที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายๆคือการ ยึดมั่นในศีล5 โดยแนวทางที่ชาวลาวและลูกหลานปฏิบัติตามคำสอนของพระมหาผ่อง สอดคล้องกับคำสอนของพระมหางอน พระสังฆราชลาวรูปที่5 ได้แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนชาวลาว เพื่อถวายแด่พระมหาผ่อง สะมาเลิก โดยเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามศีล5 ที่จะทำให้บ้านเมืองและประเทศชาติอยู่อย่างสงบสุข ควบคู่ไปกับการใช้กฎหมายบ้านเมือง
ขณะที่ลูกศิษย์ชาวไทยกลุ่มสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 โดยได้นำภาพรูปเหมือน โดยพระธีรพันธ์ ธีรโพธิและจัดทำหนังสือแม่ทัพธรรม พลิกสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นชีวประวัติและคำสอนของพระมหาผ่อง จำนวน 5,000 เล่ม เป็นที่ระลึกในงานถวานเพลิงพระศพและยังคงซาบซึ้งในคำสอนของพระมหาผ่อง
ส่วนพุทธศาสนิกชาวลาวที่ไปร่วมในพิธีครั้งนี้ ต่างแต่งกายด้วยชุดสีขาว ร่วมขบวนเชิญสรีระสังขารพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่องขึ้นสู่พระมรุ และร่วมวางดอกไม้จัน ก่อนจะมีพิธีถวายเพลิงในเวลาประมาณ 21.00 น.โดยมีนายจูมมลี ไชยสอน ประธานสปป.ลาวเป็นประธานในพิธี
สำหรับชีวประวัติของพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2459 ที่ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย ได้บรรพชาและอุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2479 และได้เข้ามาจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม บางลำพู โดยญาติพี่น้องได้สำทับว่า หากไม่ได้เป็นมหาเปรียญ อย่าได้กลับ จ.อุบลราชธานี ท่านจึงทุ่มเทเรียนปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอย่างเต็มที่ จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค เข้ารับพระราชทานพัดเปรียญจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ใน พ.ศ. 2489 จากนั้นได้ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอีก 6 ปี รวมเวลาที่เป็นนักเรียนและครูที่วัดชนะสงคราม 16 ปี หลังจากนั้นได้เข้าร่วมขบวนปลดปล่อยประเทศลาวอย่างเต็มตัว และอยู่ฝั่ง สปป.ลาว นับตั้งแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา จนกระทั่ง พ.ศ.2498 จึงได้รับอาราธนาให้ไปสอนหนังสือที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ และ พ.ศ.2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองโพนทอง ครั้น พ.ศ.2515 จึงได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะแขวงจำปาศักดิ์
ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งรองประธานศูนย์กลาง อพส. ประจำ ณ วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ ณ ที่แห่งนั้น ได้สร้างผลงานโดดเด่นขึ้นมาในโลกพระพุทธศาสนา คือการประสานงานรอมชอมพระสงฆ์ 2 นิกาย อันได้แก่ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ซึ่งแตกแยกมานาน ให้สมานฉันท์ไม่มีนิกายในลาว ในปีพ.ศ.2553 พระมหาวิจิตร วีรญาโณ (สิงหะราช) ประธานศูนย์กลาง อพส. รูปที่ 3 ได้ถึงแก่มรณภาพลง ท่านจึงได้รับการยกย่องขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศูนย์กลาง อพส. เป็นรูปที่ 4 ซึ่งตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของไทย ในวันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 17.11 น. ท่านได้ละสังขารลง สิริรวมอายุ 100 ปี 6 เดือน 81 พรรษา
โดยมีพระสงฆ์จากลาวและนานาประเทศร่วมแสดงความอาลัยพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก พระสังฆราชลาวรูปที่ 4 เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากร่วมนำขบวนเคลื่อนสรีระสังขารพระอาจารย์ใหญ่มาจากวัดองค์ตื้อ และมีคณะพระสงฆ์ไทยนำโดยพระธรรมวรนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา มาร่วมพิธีด้วย
ทั้งนี้ นายเทพพรหม อ่อนศรีบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลานชายคนหนึ่งของพระมหาผ่องได้เดินทางมาร่วมในพิธี เปิดเผยว่า ได้น้อมนำคำสอนของพระมหาผ่อง ที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายๆคือการ ยึดมั่นในศีล5 โดยแนวทางที่ชาวลาวและลูกหลานปฏิบัติตามคำสอนของพระมหาผ่อง สอดคล้องกับคำสอนของพระมหางอน พระสังฆราชลาวรูปที่5 ได้แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนชาวลาว เพื่อถวายแด่พระมหาผ่อง สะมาเลิก โดยเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามศีล5 ที่จะทำให้บ้านเมืองและประเทศชาติอยู่อย่างสงบสุข ควบคู่ไปกับการใช้กฎหมายบ้านเมือง
ขณะที่ลูกศิษย์ชาวไทยกลุ่มสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 โดยได้นำภาพรูปเหมือน โดยพระธีรพันธ์ ธีรโพธิและจัดทำหนังสือแม่ทัพธรรม พลิกสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นชีวประวัติและคำสอนของพระมหาผ่อง จำนวน 5,000 เล่ม เป็นที่ระลึกในงานถวานเพลิงพระศพและยังคงซาบซึ้งในคำสอนของพระมหาผ่อง
ส่วนพุทธศาสนิกชาวลาวที่ไปร่วมในพิธีครั้งนี้ ต่างแต่งกายด้วยชุดสีขาว ร่วมขบวนเชิญสรีระสังขารพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่องขึ้นสู่พระมรุ และร่วมวางดอกไม้จัน ก่อนจะมีพิธีถวายเพลิงในเวลาประมาณ 21.00 น.โดยมีนายจูมมลี ไชยสอน ประธานสปป.ลาวเป็นประธานในพิธี
สำหรับชีวประวัติของพระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2459 ที่ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย ได้บรรพชาและอุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2479 และได้เข้ามาจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม บางลำพู โดยญาติพี่น้องได้สำทับว่า หากไม่ได้เป็นมหาเปรียญ อย่าได้กลับ จ.อุบลราชธานี ท่านจึงทุ่มเทเรียนปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอย่างเต็มที่ จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค เข้ารับพระราชทานพัดเปรียญจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ใน พ.ศ. 2489 จากนั้นได้ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอีก 6 ปี รวมเวลาที่เป็นนักเรียนและครูที่วัดชนะสงคราม 16 ปี หลังจากนั้นได้เข้าร่วมขบวนปลดปล่อยประเทศลาวอย่างเต็มตัว และอยู่ฝั่ง สปป.ลาว นับตั้งแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา จนกระทั่ง พ.ศ.2498 จึงได้รับอาราธนาให้ไปสอนหนังสือที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ และ พ.ศ.2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองโพนทอง ครั้น พ.ศ.2515 จึงได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะแขวงจำปาศักดิ์
ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งรองประธานศูนย์กลาง อพส. ประจำ ณ วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ ณ ที่แห่งนั้น ได้สร้างผลงานโดดเด่นขึ้นมาในโลกพระพุทธศาสนา คือการประสานงานรอมชอมพระสงฆ์ 2 นิกาย อันได้แก่ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ซึ่งแตกแยกมานาน ให้สมานฉันท์ไม่มีนิกายในลาว ในปีพ.ศ.2553 พระมหาวิจิตร วีรญาโณ (สิงหะราช) ประธานศูนย์กลาง อพส. รูปที่ 3 ได้ถึงแก่มรณภาพลง ท่านจึงได้รับการยกย่องขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศูนย์กลาง อพส. เป็นรูปที่ 4 ซึ่งตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของไทย ในวันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 17.11 น. ท่านได้ละสังขารลง สิริรวมอายุ 100 ปี 6 เดือน 81 พรรษา