รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 17.11 น. วันที่ 7 ต.ค. พระมหาผ่อง ปิยะทีโร (สะมาเลิก) ประธานศูนย์กลางการพระพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว(อพส) (พระสังฆราชลาวรูปที่ 4) เจ้าอาวาสวัดองค์ตื้อ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ละสังขารลง หลังจากมีอาการอาพาธและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สิริรวมอายุ 100 ปี 6 เดือน 81 พรรษา
สำหรับประวัติ พระมหาผ่อง สะมาเลิก อริยสงฆ์ 2 แผ่นดิน หรือ 2 ฝั่งโขง เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2459 ที่ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย ได้บรรพชาและอุสมบทที่วัดโพธิ์ศรี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2479 และได้เข้ามาอยู่วัดชนะสงคราม บางลำพู โดยญาติพี่น้องได้สำทับว่า หากไม่ได้เป็นมหาเปรียญ อย่าได้กลับ จ.อุบลราชธานี ท่านจึงทุ่มเทเรียนปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอย่างเต็มที่ จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค เข้ารับพระราชทานพัดเปรียญจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ใน พ.ศ. 2489 จากนั้นได้ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอีก 6 ปี รวมเวลาที่เป็นนักเรียนและครูที่วัดชนะสงคราม 16 ปี หลังจากนั้นได้เข้าร่วมขบวนปลดปล่อยประเทศลาวอย่างเต็มตัว และอยู่ฝั่ง สปป.ลาวนับแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา จนกระทั่ง พ.ศ.2498 จึงได้รับอาราธนาให้ไปสอนหนังสือที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ พ.ศ.2500 จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองโพนทอง ครั้น พ.ศ.2515 จึงได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะแขวงจำปาศักดิ์
ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งรองประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ประจำ ณ วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ ณ ที่แห่งนั้น ท่านได้สร้างผลงานโดดเด่นขึ้นมาในโลกพระพุทธศาสนา คือการประสานงานรอมชอมพระสงฆ์ 2 นิกาย อันได้แก่ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ซึ่งแตกแยกมานาน ให้สมานฉันท์ ยินยอมพร้อมใจกันรวมนิกายเข้าเป็นหนึ่งเดียว รวบทั้งยุบเลิกสมณศักดิ์และตำแหน่งทั้งปวง พระสงฆ์ลาวทั้งสองนิกายต่างพร้อมใจกันทำสังฆสามัคคีอุโบสถ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก (ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 1 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2523) ว่า ณ บัดนี้ ไม่มีนิกายสงฆ์ในลาวอีกต่อไปแล้ว มีแต่พระสงฆ์ลาวเท่านั้น พ.ศ.2553 ญาท่านพระมหาวิจิตร วีรญาโณ (สิงหะราช) ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว รูปที่ 3 ได้ถึงแก่มรณภาพลง ญาท่านพระมหาผ่อง ปิยธีโร (สะมาเลิก) จึงได้รับการยกย่องขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว เป็นรูปที่ 4 ซึ่งตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของไทย
นอกจากนี้ พระมหาผ่อง ยังเป็นพระสงฆ์ที่เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อมาเยี่ยมยามวัดองค์ตื้อแล้ว ท่านยังทำงานหนักในด้านการก่อสร้างสาธาณูปการ อีกทั้งยังมีงานการรจนาประพันธ์หนังสือธรรมะและสารคดีประวัติ เช่น 1. หนังสือประวัติพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ 2. ประวัติหลวงปู่สมเด็จลุน 3. ประวัติพระอาจารย์ สุกาว ญาณวุฑโฒ (วิปัสสนาจารย์) 4. ประวัติ พระลูกแก้ว คูนมณีวง และหนังสืออานิสงส์เทศนา 5. ประวัติย่อพระอาจารย์ใหญ่มหาผ่อง สะมาเลิก 6. พุทธทำนายความฝัน 16 ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกสล 7. หนังสือสวดมนต์และรวมบทเทศน์อานิสงส์เทศนา
ทั้งนี้ ศาสนกิจสุดท้ายที่ท่านพระมหาผ่อง คือ เดินทางไปร่วมงานเสวนา "พุทธพลิกสุวรรณภูมิ : สามัคคีธรรม แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง" จัดโดยสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 และมูลนิธิวีระภุชงค์ ที่โรงแรมโซพิเทล อังกอร์ โภคีธรา กอล์ฟ @ สปา รีสอร์ท จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายนที่ผ่านมา ที่มีคณะสงฆ์อาเซียน 5 ประเทศ ประกอบด้วยไทย เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา และสปป.ลาว เข้าร่วม โดยท่านเป็นประธานกล่าวเปิดงานและแนะนำพระธรรมทูตว่า การเผยแผ่ธรรมะของคณะสงฆ์ 5 ประเทศจะสำเร็จสู่เป้าหมายโดยเร็วต้องละสังโยชน์ 3 ประการ ได้แก่1.สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเชื่อผิดในตัวตน 2.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในพระรัตนตรัย และ3.สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นในข้อบังคับและข้อปฏิบัติที่ทำตามกันมาอย่างงมงาย หากละ3สิ่งนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ถือว่าบรรลุขั้นโสดาบันแล้ว
สำหรับประวัติ พระมหาผ่อง สะมาเลิก อริยสงฆ์ 2 แผ่นดิน หรือ 2 ฝั่งโขง เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2459 ที่ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย ได้บรรพชาและอุสมบทที่วัดโพธิ์ศรี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2479 และได้เข้ามาอยู่วัดชนะสงคราม บางลำพู โดยญาติพี่น้องได้สำทับว่า หากไม่ได้เป็นมหาเปรียญ อย่าได้กลับ จ.อุบลราชธานี ท่านจึงทุ่มเทเรียนปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอย่างเต็มที่ จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค เข้ารับพระราชทานพัดเปรียญจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ใน พ.ศ. 2489 จากนั้นได้ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอีก 6 ปี รวมเวลาที่เป็นนักเรียนและครูที่วัดชนะสงคราม 16 ปี หลังจากนั้นได้เข้าร่วมขบวนปลดปล่อยประเทศลาวอย่างเต็มตัว และอยู่ฝั่ง สปป.ลาวนับแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา จนกระทั่ง พ.ศ.2498 จึงได้รับอาราธนาให้ไปสอนหนังสือที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ พ.ศ.2500 จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองโพนทอง ครั้น พ.ศ.2515 จึงได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะแขวงจำปาศักดิ์
ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งรองประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ประจำ ณ วัดพระเจ้าองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ ณ ที่แห่งนั้น ท่านได้สร้างผลงานโดดเด่นขึ้นมาในโลกพระพุทธศาสนา คือการประสานงานรอมชอมพระสงฆ์ 2 นิกาย อันได้แก่ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ซึ่งแตกแยกมานาน ให้สมานฉันท์ ยินยอมพร้อมใจกันรวมนิกายเข้าเป็นหนึ่งเดียว รวบทั้งยุบเลิกสมณศักดิ์และตำแหน่งทั้งปวง พระสงฆ์ลาวทั้งสองนิกายต่างพร้อมใจกันทำสังฆสามัคคีอุโบสถ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก (ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 1 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2523) ว่า ณ บัดนี้ ไม่มีนิกายสงฆ์ในลาวอีกต่อไปแล้ว มีแต่พระสงฆ์ลาวเท่านั้น พ.ศ.2553 ญาท่านพระมหาวิจิตร วีรญาโณ (สิงหะราช) ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว รูปที่ 3 ได้ถึงแก่มรณภาพลง ญาท่านพระมหาผ่อง ปิยธีโร (สะมาเลิก) จึงได้รับการยกย่องขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว เป็นรูปที่ 4 ซึ่งตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของไทย
นอกจากนี้ พระมหาผ่อง ยังเป็นพระสงฆ์ที่เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อมาเยี่ยมยามวัดองค์ตื้อแล้ว ท่านยังทำงานหนักในด้านการก่อสร้างสาธาณูปการ อีกทั้งยังมีงานการรจนาประพันธ์หนังสือธรรมะและสารคดีประวัติ เช่น 1. หนังสือประวัติพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ 2. ประวัติหลวงปู่สมเด็จลุน 3. ประวัติพระอาจารย์ สุกาว ญาณวุฑโฒ (วิปัสสนาจารย์) 4. ประวัติ พระลูกแก้ว คูนมณีวง และหนังสืออานิสงส์เทศนา 5. ประวัติย่อพระอาจารย์ใหญ่มหาผ่อง สะมาเลิก 6. พุทธทำนายความฝัน 16 ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกสล 7. หนังสือสวดมนต์และรวมบทเทศน์อานิสงส์เทศนา
ทั้งนี้ ศาสนกิจสุดท้ายที่ท่านพระมหาผ่อง คือ เดินทางไปร่วมงานเสวนา "พุทธพลิกสุวรรณภูมิ : สามัคคีธรรม แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง" จัดโดยสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 และมูลนิธิวีระภุชงค์ ที่โรงแรมโซพิเทล อังกอร์ โภคีธรา กอล์ฟ @ สปา รีสอร์ท จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายนที่ผ่านมา ที่มีคณะสงฆ์อาเซียน 5 ประเทศ ประกอบด้วยไทย เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา และสปป.ลาว เข้าร่วม โดยท่านเป็นประธานกล่าวเปิดงานและแนะนำพระธรรมทูตว่า การเผยแผ่ธรรมะของคณะสงฆ์ 5 ประเทศจะสำเร็จสู่เป้าหมายโดยเร็วต้องละสังโยชน์ 3 ประการ ได้แก่1.สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเชื่อผิดในตัวตน 2.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในพระรัตนตรัย และ3.สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นในข้อบังคับและข้อปฏิบัติที่ทำตามกันมาอย่างงมงาย หากละ3สิ่งนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ถือว่าบรรลุขั้นโสดาบันแล้ว