นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันที่ 21 - 24 ธ.ค.58 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้เกิดฝนตกหนักเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง คลื่นสูง 2 - 4 เมตร อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยได้
ทั้งนี้ ปภ.จึงได้ประสาน 13 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล ภูเก็ต กระบี่ และตรัง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา เขต 18 ภูเก็ต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัย ติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกล
ด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล ที่ลาดเชิงเขา ที่ราบต่ำริมน้ำไหลผ่าน พื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดให้เตรียมการป้องกันอันตรายจากภาวะฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย รวมถึงตรวจสอบท่อและทางระบายน้ำในเขตเมืองมิให้มีสิ่งของหรือวัสดุอุดตัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ น้ำตก ชายฝั่งทะเล หากอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยให้พิจารณาแก้ไขและสั่งปิดสถานที่ท่องเที่ยวชั่วคราว
กรณีสถานการณ์รุนแรงให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด หมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติจะได้อพยพหนีภัยทันท่วงที ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรระมัดระวังในการเดินเรือ เนื่องจากทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ทั้งนี้ ปภ.จึงได้ประสาน 13 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล ภูเก็ต กระบี่ และตรัง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา เขต 18 ภูเก็ต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัย ติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกล
ด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล ที่ลาดเชิงเขา ที่ราบต่ำริมน้ำไหลผ่าน พื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดให้เตรียมการป้องกันอันตรายจากภาวะฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย รวมถึงตรวจสอบท่อและทางระบายน้ำในเขตเมืองมิให้มีสิ่งของหรือวัสดุอุดตัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ น้ำตก ชายฝั่งทะเล หากอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยให้พิจารณาแก้ไขและสั่งปิดสถานที่ท่องเที่ยวชั่วคราว
กรณีสถานการณ์รุนแรงให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด หมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติจะได้อพยพหนีภัยทันท่วงที ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรระมัดระวังในการเดินเรือ เนื่องจากทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป