นายสุพจน์โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตและสิ่งแวดล้อม เตรียมเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามสูบน้ำบาดาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือฤดูแล้งในปี2559 โดยคาดว่าในปีหน้าสถานการณ์ภัยแล้งจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจุบันมีปริมาณน้ำน้อยกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ในเขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ถ้าปฏิบัติตามแผนการระบายน้ำคาดว่าจะมีน้ำใช้ไปจนถึงเดือนกันยายน 2559 แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถปฏิบัติตามแผนได้หรือไม่ จึงต้องเตรียมมาตรการอื่นไว้รองรับและการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในกรณีที่จำเป็น
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกการใช้น้ำบาดาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากปัญหาดินทรุดตัวในเขตเมือง โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีการใช้น้ำบาดาลถึงวันละ 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคิดว่าหากนำน้ำขึ้นมาใช้วันละประมาณ 5 แสนลูกบาศก์เมตร จะไม่กระทบต่อการทรุดตัวของแผ่นดิน
นายสุพจน์ คาดการณ์ว่า ในปี 2559 จะมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 40 จังหวัดที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนืออีสาน และภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะระดับน้ำสะสมในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว กรมทรัพยากรน้ำจะดำเนินโครงการประปาหมู่บ้าน เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในช่วงฤดูแล้งที่เริ่มขึ้นแล้วในเดือนธันวาคม 2558 - พฤษภาคม 2559 ทั้งนี้ 4,100 หมู่บ้าน จะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับหล่อเลี้ยงคนในชุมชน และมีการก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำสำหรับรองรับน้ำฝนในฤดูฝนต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกการใช้น้ำบาดาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากปัญหาดินทรุดตัวในเขตเมือง โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีการใช้น้ำบาดาลถึงวันละ 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคิดว่าหากนำน้ำขึ้นมาใช้วันละประมาณ 5 แสนลูกบาศก์เมตร จะไม่กระทบต่อการทรุดตัวของแผ่นดิน
นายสุพจน์ คาดการณ์ว่า ในปี 2559 จะมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 40 จังหวัดที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนืออีสาน และภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะระดับน้ำสะสมในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว กรมทรัพยากรน้ำจะดำเนินโครงการประปาหมู่บ้าน เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในช่วงฤดูแล้งที่เริ่มขึ้นแล้วในเดือนธันวาคม 2558 - พฤษภาคม 2559 ทั้งนี้ 4,100 หมู่บ้าน จะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับหล่อเลี้ยงคนในชุมชน และมีการก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำสำหรับรองรับน้ำฝนในฤดูฝนต่อไปด้วย