นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ยอมรับว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าปชป.ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอความกรุณาให้ทบทวนประกาศคสช. ฉบับที่ 57/2557
ในหนังสือดังกล่าว ระบุ ตามที่ คสช.ได้มีประกาศฉบับที่ 57/2557 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2557 ให้ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ต่อไป แต่มีเงื่อนไขห้ามมิให้พรรคการเมืองดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆในทางการเมือง และให้ระงับการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไว้เป็นการชั่วคราว ดังความปรากฏแล้วนั้น ปชป.ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวโดยเคร่งครัดและเข้าใจดีถึงความกังวลต่อสถานการความมั่นคงของคสช.
กระนั้นก็ตามตามประกาศฉบับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบในหลายๆด้าน อาทิ 1. ด้านงานธุรการของพรรค ที่จำเป็นต้องรับบริจาค เพื่อนำไปใช้จ่ายในพรรคให้สามารถบริหารงานได้ต่อไป
2. เรื่องการปฎิรูปประเทศ ปฎิรูปพรรค ในการเปิดรับสมาชิก แต่ขณะนี้ทำไม่ได้ อีกทั้งข้อบังคับพรรคเมื่อสมาชิกพรรคไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็ไม่สามารถกลับมาเป็นสมาชิกพรรคได้ เมื่อไม่ให้มีการรับสมัครสมาชิกพรรคคนเหล่านี้ก็สมัครไม่ได้ และอีกทั้งถ้าเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 1 ปีก็ไม่สามารถเป็นกรรมการบริหารพรรคได้ ดังนั้นหากพรรคจัดประชุมได้จะทำให้สมาชิกพรรคให้ความเห็นอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปพรรคการเมืองและประเทศต่อไป
3. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มักจะขอรับฟังความเห็นจากฝ่ายการเมืองในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ แต่พรรคไม่สามารถประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอข้อมูลได้
4. พรรคมีสมาชิกเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งพรรคต้องรับผิดชอบทั้งการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ต้องมีการประชุมเพื่อตั้งกรรมการตรวจสอบทางวินัยกรณีที่มีปัญหาเรื่องจรรยาบรรณ หรือลงโทษสมาชิกตามความจำเป็น
นายองอาจ ยังแถลงต่อว่าหากคสช.ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวจะมีการพิจารณาในทุกกรณี เกี่ยวกับคนของพรรคที่ทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึง กรุงเทพมหานคร(กทม.)
โดยเฉพาะการกล่าวหาทุจริตเป็นเรื่องสำคัญ พรรคต้องตรวจสอบให้ประชาชนเห็นว่าการดำเนินการเรื่องเหล่านี้มีความโปร่งใสหรือไม่อย่างไร ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร เนื่องจากพรรคต้องรับผิดชอบต่อการบริหารของผู้ว่ากทม.
และว่าที่ผ่านมาพยายามประสานงานกับผู้ว่ากทม.แต่ระยะหลังเกิดความติดขัดในการติดต่อประสานงานเรื่องการบริหาร กทม. จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถติดต่อกันได้เพราะไม่รับโทรศัพท์หัวหน้าพรรค
นายองอาจ แถลงด้วยว่า ถ้ามีการทบทวนคำสั่ง คสช. ทางพรรคก็จะดูข้อเท็จจริงว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างโดยดูตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น มีการร้องขอข้อมูลตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ แต่กลับไม่มีการเปิดเผยให้ผู้ร้องรับทราบก็ต้องมีการหาข้อเท็จจริงต่อไป เพราะอดีตส.ส.เป็นผู้แทนของประชาชนที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ซึ่งถ้าพรรคเปิดประชุมได้จะพยายามทำให้ดีที่สุดไม่ได้ละเลยแต่รับผิดชอบทุกคะแนนเสียงของประชาชน
ทั้งนี้เห็นว่าความเชื่อถืออยู่เหนือตำแหน่งทางการเมืองแม้ว่าผู้ว่า กทม.จะไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค แต่พรรคก็ต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าพรรครับผิดชอบด้วยการพยายามทุกวิถีทางทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีมติขับไล่ ส.ก.ของพรรคที่ทำตัวไม่เหมาะสมมาแล้ว ดังนั้นหากทำงานด้วยความโปร่งใสก็ต้องให้ตรวจสอบได้ ส่วนปัญหาของผู้ว่ากทม.จะไปถึงขั้นต้องขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่นั้น ต้องดูข้อมูลทั้งหมดหากประชุมได้ว่ามีน้ำหนักเพียงพอที่จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ขออนุญาตคสช. เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองได้ประชุมพรรคได้ว่า ขอให้ทำเรื่องมายังคสช. ส่วนจะอนุญาตหรือไม่ คสช.จะพิจารณาอีกครั้ง แต่ตอนนี้ก็ทราบว่ามีการแอบประชุมกันอยู่แล้ว ซึ่งตนก็เข้าใจพรรคการเมือง
ในหนังสือดังกล่าว ระบุ ตามที่ คสช.ได้มีประกาศฉบับที่ 57/2557 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2557 ให้ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ต่อไป แต่มีเงื่อนไขห้ามมิให้พรรคการเมืองดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆในทางการเมือง และให้ระงับการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไว้เป็นการชั่วคราว ดังความปรากฏแล้วนั้น ปชป.ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวโดยเคร่งครัดและเข้าใจดีถึงความกังวลต่อสถานการความมั่นคงของคสช.
กระนั้นก็ตามตามประกาศฉบับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบในหลายๆด้าน อาทิ 1. ด้านงานธุรการของพรรค ที่จำเป็นต้องรับบริจาค เพื่อนำไปใช้จ่ายในพรรคให้สามารถบริหารงานได้ต่อไป
2. เรื่องการปฎิรูปประเทศ ปฎิรูปพรรค ในการเปิดรับสมาชิก แต่ขณะนี้ทำไม่ได้ อีกทั้งข้อบังคับพรรคเมื่อสมาชิกพรรคไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็ไม่สามารถกลับมาเป็นสมาชิกพรรคได้ เมื่อไม่ให้มีการรับสมัครสมาชิกพรรคคนเหล่านี้ก็สมัครไม่ได้ และอีกทั้งถ้าเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 1 ปีก็ไม่สามารถเป็นกรรมการบริหารพรรคได้ ดังนั้นหากพรรคจัดประชุมได้จะทำให้สมาชิกพรรคให้ความเห็นอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปพรรคการเมืองและประเทศต่อไป
3. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มักจะขอรับฟังความเห็นจากฝ่ายการเมืองในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ แต่พรรคไม่สามารถประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอข้อมูลได้
4. พรรคมีสมาชิกเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งพรรคต้องรับผิดชอบทั้งการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ต้องมีการประชุมเพื่อตั้งกรรมการตรวจสอบทางวินัยกรณีที่มีปัญหาเรื่องจรรยาบรรณ หรือลงโทษสมาชิกตามความจำเป็น
นายองอาจ ยังแถลงต่อว่าหากคสช.ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวจะมีการพิจารณาในทุกกรณี เกี่ยวกับคนของพรรคที่ทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึง กรุงเทพมหานคร(กทม.)
โดยเฉพาะการกล่าวหาทุจริตเป็นเรื่องสำคัญ พรรคต้องตรวจสอบให้ประชาชนเห็นว่าการดำเนินการเรื่องเหล่านี้มีความโปร่งใสหรือไม่อย่างไร ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร เนื่องจากพรรคต้องรับผิดชอบต่อการบริหารของผู้ว่ากทม.
และว่าที่ผ่านมาพยายามประสานงานกับผู้ว่ากทม.แต่ระยะหลังเกิดความติดขัดในการติดต่อประสานงานเรื่องการบริหาร กทม. จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถติดต่อกันได้เพราะไม่รับโทรศัพท์หัวหน้าพรรค
นายองอาจ แถลงด้วยว่า ถ้ามีการทบทวนคำสั่ง คสช. ทางพรรคก็จะดูข้อเท็จจริงว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างโดยดูตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น มีการร้องขอข้อมูลตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ แต่กลับไม่มีการเปิดเผยให้ผู้ร้องรับทราบก็ต้องมีการหาข้อเท็จจริงต่อไป เพราะอดีตส.ส.เป็นผู้แทนของประชาชนที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ซึ่งถ้าพรรคเปิดประชุมได้จะพยายามทำให้ดีที่สุดไม่ได้ละเลยแต่รับผิดชอบทุกคะแนนเสียงของประชาชน
ทั้งนี้เห็นว่าความเชื่อถืออยู่เหนือตำแหน่งทางการเมืองแม้ว่าผู้ว่า กทม.จะไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค แต่พรรคก็ต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าพรรครับผิดชอบด้วยการพยายามทุกวิถีทางทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีมติขับไล่ ส.ก.ของพรรคที่ทำตัวไม่เหมาะสมมาแล้ว ดังนั้นหากทำงานด้วยความโปร่งใสก็ต้องให้ตรวจสอบได้ ส่วนปัญหาของผู้ว่ากทม.จะไปถึงขั้นต้องขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่นั้น ต้องดูข้อมูลทั้งหมดหากประชุมได้ว่ามีน้ำหนักเพียงพอที่จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ขออนุญาตคสช. เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองได้ประชุมพรรคได้ว่า ขอให้ทำเรื่องมายังคสช. ส่วนจะอนุญาตหรือไม่ คสช.จะพิจารณาอีกครั้ง แต่ตอนนี้ก็ทราบว่ามีการแอบประชุมกันอยู่แล้ว ซึ่งตนก็เข้าใจพรรคการเมือง