สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศ จำนวน 1,135 คน ต่อกรณีการจับกุมผู้ต้องหา "ขอนแก่นโมเดล" โดยประชาชนร้อยละ 85.46 อยากให้เร่งติดตามจับกุมคนร้ายทั้งหมดมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว ร้อยละ 83.70 เห็นว่าโชคดีที่สามารถจับตัวคนร้ายได้และรู้ถึงแผนการที่เตรียมก่อเหตุ ป้องกันได้ทันเวลา ร้อยละ 75.07 มองว่าเป็นอีกคดีที่น่าสนใจและยังเกี่ยวข้องกับขอนแก่นโมเดล ซึ่งเคยเป็นข่าวใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 67.40 รู้สึกกลัว หวาดระแวง แสดงว่าคลื่นใต้ำน้ำยังคงมีอยู่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ไม่ควรประมาท และร้อยละ 66.52 เห็นว่าหากเกิดขึ้นจริง อาจเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
สำหรับสาเหตุของเหตุการณ์ครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 87.22 คิดว่ามาจากความขัดแย้งแตกแยกทางการเมือง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย รวมถึงการสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ร้อยละ 77.53 ระบุ มาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลหรือ คสช. ร้อยละ 72.78 ระบุ มาจากความต้องการสร้างสถานการณ์ อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย ปั่นป่วน ร้อยละ 65.02 ระบุ การไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง การไม่เคารพกฎหมาย ขณะที่ร้อยละ 60.88 ระบุ เป็นความต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 41.50 เชื่อว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโรดแมปที่รัฐบาลกำหนดไว้แล้ว เพราะหากบ้านเมืองยังไม่สงบ ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่ การปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ต้องได้รับผลกระทบหรือหยุดชะงัก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ ร้อยละ 32.16 ระบุว่าไม่แน่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ รอบด้าน คงต้องรอดูต่อไป ขณะที่ร้อยละ 26.34 เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบ เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมดูแลและแก้ปัญหานี้ได้ รวมทั้ง คสช.ก็มีอำนาจเด็ดขาด ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ได้ทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นและเดินหน้าทำงานตามโรดแมปต่อไปเพื่อการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ
ส่วนวิธีการป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ประชาชนร้อยละ 80.09 ระบุ ควรมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดรัดกุม เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในพื้นที่สำคัญ ร้อยละ 79.56 ระบุ ควรเร่งติดตามจับกุมตัวคนร้ายทั้งหมดให้ได้โดยเร็ว และมีบทลงโทษที่ชัดเจน เด็ดขาด ร้อยละ 70.84 ระบุ หน่วยข่าวกรองต้องติดตามการข่าวมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะต้องถูกต้องแม่นยำ ร้อยละ 57.80 ระบุว่า ประชาชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ไม่ควรมองว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจและทหารเท่านั้น และร้อยละ 56.12 ระบุ ควรมีการตรวจสอบติดตามการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดหรืออาวุธรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 30.13 มีความมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจและทหารมาก เพราะการทำงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจให้กับประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่มากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและระงับเหตุการณ์ความรุนแรง ประชาชนร้อยละ 38.86 ระบุ ค่อนข้างมั่นใจ เพราะสามารถติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้แล้วบางส่วน การเชื่อมโยงเหตุการณ์ ทำให้รู้ความคืบหน้าของคดี เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมสนใจและเฝ้าติดตาม ขณะที่ประชาชนร้อยละ 21.94 ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่หวังดี ต้องการสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนให้กับบ้านเมือง เกรงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อาจดูแลไม่ทั่วถึง ส่วนประชาชนร้อยละ 9.07 ไม่มั่นใจ เพราะยังไม่สามารถจับกุมตัวคนร้ายได้ทั้งหมด กฎหมายต้องเด็ดขาด มีบทลงโทษรุนแรง เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขัน ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
สำหรับสาเหตุของเหตุการณ์ครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 87.22 คิดว่ามาจากความขัดแย้งแตกแยกทางการเมือง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย รวมถึงการสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ร้อยละ 77.53 ระบุ มาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลหรือ คสช. ร้อยละ 72.78 ระบุ มาจากความต้องการสร้างสถานการณ์ อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย ปั่นป่วน ร้อยละ 65.02 ระบุ การไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง การไม่เคารพกฎหมาย ขณะที่ร้อยละ 60.88 ระบุ เป็นความต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 41.50 เชื่อว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโรดแมปที่รัฐบาลกำหนดไว้แล้ว เพราะหากบ้านเมืองยังไม่สงบ ความขัดแย้งแตกแยกยังคงมีอยู่ การปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ต้องได้รับผลกระทบหรือหยุดชะงัก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ ร้อยละ 32.16 ระบุว่าไม่แน่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ รอบด้าน คงต้องรอดูต่อไป ขณะที่ร้อยละ 26.34 เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบ เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมดูแลและแก้ปัญหานี้ได้ รวมทั้ง คสช.ก็มีอำนาจเด็ดขาด ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ได้ทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นและเดินหน้าทำงานตามโรดแมปต่อไปเพื่อการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ
ส่วนวิธีการป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ประชาชนร้อยละ 80.09 ระบุ ควรมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดรัดกุม เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในพื้นที่สำคัญ ร้อยละ 79.56 ระบุ ควรเร่งติดตามจับกุมตัวคนร้ายทั้งหมดให้ได้โดยเร็ว และมีบทลงโทษที่ชัดเจน เด็ดขาด ร้อยละ 70.84 ระบุ หน่วยข่าวกรองต้องติดตามการข่าวมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะต้องถูกต้องแม่นยำ ร้อยละ 57.80 ระบุว่า ประชาชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ไม่ควรมองว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจและทหารเท่านั้น และร้อยละ 56.12 ระบุ ควรมีการตรวจสอบติดตามการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดหรืออาวุธรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 30.13 มีความมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจและทหารมาก เพราะการทำงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจให้กับประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่มากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและระงับเหตุการณ์ความรุนแรง ประชาชนร้อยละ 38.86 ระบุ ค่อนข้างมั่นใจ เพราะสามารถติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้แล้วบางส่วน การเชื่อมโยงเหตุการณ์ ทำให้รู้ความคืบหน้าของคดี เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมสนใจและเฝ้าติดตาม ขณะที่ประชาชนร้อยละ 21.94 ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่หวังดี ต้องการสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนให้กับบ้านเมือง เกรงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อาจดูแลไม่ทั่วถึง ส่วนประชาชนร้อยละ 9.07 ไม่มั่นใจ เพราะยังไม่สามารถจับกุมตัวคนร้ายได้ทั้งหมด กฎหมายต้องเด็ดขาด มีบทลงโทษรุนแรง เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขัน ไม่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่