ที่โรงแรมเดอะสุโกศล สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ร่วมกับมูลนิธิสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย มอบเข็มทองคำเชิดชูเกียรติแก่นักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ปี 2558 โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นประธานมอบเข็ม จากนั้น นายมีชัย กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่จะไม่ให้ ส.ว.ทำหน้าที่ในการถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง โดยจะให้เป็นหน้าที่ขององค์กรเดิมที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญว่า ต้องแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ กรณีการทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ จะให้เป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามเดิม ซึ่งเมื่อ ป.ป.ช.พิจารณา และมีการชี้มูลความผิดแล้ว บุคคลนั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ทันที
ส่วนประเด็นเรื่องของคุณสมบัติ อาทิ การขาดคุณสมบัติและจริยธรรมของของนักการเมือง เดิมเป็นอำนาจการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และหากมีผู้สงสัยว่า นักการเมืองที่ขาดคุณสมบัตินั้น ลาออกจากตำแหน่งแล้วหรือไม่ สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่การเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเพิ่มคุณสมบัติ และการทำหน้าที่ของศาล ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถวินิจฉัยนักการเมืองให้พ้นจากตำแหน่งได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนกฎหมาย เพื่อถอดถอนนักการเมืองอีก
เมื่อถามถึงประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีที่เปิดช่องให้คนนอก ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักการเมืองหลายฝ่ายนั้น นายมีชัย กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิด เพราะ กรธ.บัญญัติกฎหมายให้อำนาจพรรคการเมืองในการเสนอชื่อผู้ที่จะเป็น นายกรัฐมนตรี โดยประชาชนจะต้องรับรู้รายชื่อก่อนลงคะแนน
ส่วนการลงพื้นที่ คณะอนุกรรมการรับฟัง และสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะใน กรธ. ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยจะเริ่มครั้งแรก ในวันที่ 22 พ.ย. ที่จังหวัดเชียงรายนั้น เชื่อว่า กรธ.รู้หน้าที่ของตนเองดี จึงไม่จำเป็นต้องให้แนวทางอะไรเป็นพิเศษ ส่วนตนจะลงพื้นที่ในภาคที่เหลือหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง
ส่วนประเด็นเรื่องของคุณสมบัติ อาทิ การขาดคุณสมบัติและจริยธรรมของของนักการเมือง เดิมเป็นอำนาจการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และหากมีผู้สงสัยว่า นักการเมืองที่ขาดคุณสมบัตินั้น ลาออกจากตำแหน่งแล้วหรือไม่ สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่การเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเพิ่มคุณสมบัติ และการทำหน้าที่ของศาล ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถวินิจฉัยนักการเมืองให้พ้นจากตำแหน่งได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนกฎหมาย เพื่อถอดถอนนักการเมืองอีก
เมื่อถามถึงประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีที่เปิดช่องให้คนนอก ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักการเมืองหลายฝ่ายนั้น นายมีชัย กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิด เพราะ กรธ.บัญญัติกฎหมายให้อำนาจพรรคการเมืองในการเสนอชื่อผู้ที่จะเป็น นายกรัฐมนตรี โดยประชาชนจะต้องรับรู้รายชื่อก่อนลงคะแนน
ส่วนการลงพื้นที่ คณะอนุกรรมการรับฟัง และสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะใน กรธ. ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยจะเริ่มครั้งแรก ในวันที่ 22 พ.ย. ที่จังหวัดเชียงรายนั้น เชื่อว่า กรธ.รู้หน้าที่ของตนเองดี จึงไม่จำเป็นต้องให้แนวทางอะไรเป็นพิเศษ ส่วนตนจะลงพื้นที่ในภาคที่เหลือหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง