xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

เพิ่มอัตรากำลัง-เยียวยาเงินเดือน ขรก.-ลูกจ้าง แก้เลื่อมล้ำใน “สาธารณสุข” สุดๆ แล้วหรือยัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันก่อน จับจ้องไปที่ชีพจรอัตรากำลังของคนใน “กระทรวงสาธารณสุข”เป็นนโยบายเพื่อช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในระบบ เป็นมติครม.ที่ให้ “เพิ่มอัตราข้าราชการที่ตั้งใหม่ให้แก่ส่วนราชการปีงบประมาณ 2558” อนุมัติตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เห็นชอบ

ฉพาะของ “กระทรวงสาธารณสุข” ปี 2558 ตัวเลขยัง งง ๆอยู่ โฆษรัฐบาล บอกว่า ได้รับอนุมัติไป 9,863 อัตรา แต่รมว.สาธารณสุข นำตัวเลขของง คปร. ที่ให้เพิ่มข้าราชการใหม่ จำนวน 7,547อัตรา แต่ตัวเลขที่เหลือน่าจะเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสายวิชาชีพเจ้าพนักงานสาธารณสุข (จพ.สธ.) และนักวิชาการสาธารณสุข (นวก.สธ.) จำนวน1,300 ตำแหน่ง ที่จะต้องเปิดสอบผ่าน กพ.(ล่าสุด กพ.ประกาศเปิดรับสมัครสอบแล้ว)**

เรื่องนี้ “นายวิษณุ เครืองาม” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คปร. ชี้แจงว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานเดียวของรัฐที่ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งหมดในการบริหารงาน สามารถมีรายได้ของตัวเองบางส่วนจากการรักษาพยาบาลจึงสามารถนำงบประมาณของตนเองส่วนหนึ่งไปจ้างพนักงาน ส่งผลให้บุคลากรเหล่านี้มีความต้องการที่จะขอแปรสภาพบรรจุเป็นข้าราชการ ที่ผ่านมามีการบริการหลายรูปแบบ หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือก็เป็นเรื่องที่ลำบากใจพอสมควร เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชน

แม้ตัวเลขจะไม่เหมือนกัน แต่มติ ครม.ออกมาก็คือ มอบหมายให้ “สำนักงบประมาณ” ไปดูเรื่องการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคคล ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ไปวางแผนกำลังคนภาครัฐในระยะยาว ควบคุมอัตรากำลังและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ ทบทวนกฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินนอกงบประมาณสำหรับจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ ท้ายสุดเรื่องนี้ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 6 เดือน

เพื่อให้มีความชัดเจนว่า “ข้าราชการใหม่”จะลงไปอยู่ตรงไหนบ้าง ได้รับเงินเดือนเท่าไร ไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง

เรื่องการบรรจุข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นี้ เป็นเรื่องเดิมตามมติ ครม.ปี 2555 ที่ให้บรรจุรอบที่ 3 อนุมัติตำแหน่งข้าราชการให้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราว 21 วิชาชีพ รวม 30,188 อัตรา ภายในระยะ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2558 ตามที่ คปร. และกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันดำเนินการ ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วน โดยจะเฉลี่ยบรรจุปีละ 7,547 อัตรา ในปีงบประมาณ 2556 บรรจุทั้งหมด 8,446 อัตรา ซึ่งรวมทั้งนักเรียนทุน 3 สายวิชาชีพ คือแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่จะจบการศึกษาในปี 2556 ด้วย ส่วน ปี2557 ได้ข้าราชการใหม่ รวม 9,074 อัตรา กลุ่มนักเรียนทุนสายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร จำนวนรวม 1,527 อัตรา และกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว 21 สายวิชาชีพ เช่น พยาบาลวิชาชีพ รวม 7,547 อัตรา

ล่าสุดอัตรากำลัง ปี2558 รองปลัดกระทรวงสาธารณะสุข ออกมาระบุว่า คณะอนุกรรมการสามัญในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงสาธารณสุข (อ.ก.พ.สธ.) ได้เริ่มที่จัดสรรตำแหน่งให้กับกลุ่มงาน เพื่อคัดเลือกบรรจุให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน  เช่น ในกลุ่มที่สอบแข่งขันคือ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรี

**โดย รายละเอียดดังกล่าว อ.ก.พ.สธ. ร่วมกับ (ก.พ.) มีแผนรองรับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เพื่อกระจายตำแหน่งไปยังหน่วยบริการต่างๆ ประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เปิดใหม่ และที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนบุคลากร เป็นต้น และหลังจากนี้ทาง สธ.จะแจ้งไปยังจังหวัดตามขั้นตอนคัดเลือกบรรจุสายวิชาชีพ และหลังจากนี้จะลงนามบรรจุโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งคาดกว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2558**

ส่วนกลุ่มสายวิชาชีพเจ้าพนักงานสาธารณสุข (จพ.สธ.) และนักวิชาการสาธารณสุข (นวก.สธ.) นั้น ทาง ครม.ได้อนุมัติบรรจุตำแหน่งในรอบนี้เช่นกันประมาณ 1,300 ตำแหน่ง เพียงแต่จะต้องทำการสอบคัดเลือกก่อน โดย ก.พ. จะเปิดสอบคัดเลือกภาค ก.เป็นการภายในเอง แม้ทาง สธ. จะได้ทำการอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ไปก่อนหน้านี้ แต่ทาง ก.พ.ยังคงยืนยันประกาศเดิมที่ต้องให้ทำการสอบแข่งขันให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

นอกจากนั้น ครม.ยังเห็นชอบ “หลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน” กรณีพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ตามสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอ เรื่องนี้ เป็นกรณี “ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุรอบแรก” คือก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2555 จากการปรับหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนของ ก.พ. ที่ไม่ได้ประโยชน์เหมือนผู้ที่บรรจุในรอบที่ 2 **

โดยมี หลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาฯ กำหนดไว้ ดังนี้

ประเภท 1. พนักงานราชการ หลักเกณฑ์ 1. บรรจุเข้ารับราชการใน สธ. ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2555 และได้รับการจ้างให้ปฏิบัติงานใน สธ. จนถึงวันก่อนได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ ซึ่งรวมถึงกรณีมีการเว้นช่วงการบรรจุเนื่องจากวันก่อนการบรรจุเป็นวันหยุดราชการ 2. คุณวุฒิระดับปริญญาและดำรงตำแหน่ง “ประเภทวิชาการ” หรือคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาและดำรงตำแหน่ง “ประเภททั่วไป”

การให้ได้รับการปรับเงินเดือนเป็นอัตราใหม่ : นำอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.พ. กำหนด เป็นอัตราเงินเดือนเริ่มต้นแล้วบวกกับผลรวมของจำนวนเงินที่ได้เลื่อนขณะเป็นพนักงานราชการ และผลรวมของจำนวนเงินที่ได้เลื่อนเงินเดือนขณะเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ หากอัตราเงินเดือนที่คำนวณได้ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิมให้ได้รับในอัตราเดิมต่อไป

ประเภท 2. ลูกจ้างชั่วคราว หลักเกณฑ์ 1. ปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างต่อเนื่องเสมือนพนักงานประจำเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุขก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2555 และได้รับการจ้างให้ปฏิบัติงานใน สธ. จนถึงวันก่อนได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ ซึ่งรวมถึงกรณีมีการเว้นช่วงการบรรจุเนื่องจากวันก่อนการบรรจุเป็นวันหยุดราชการ 2. คุณวุฒิระดับปริญญาและดำรงตำแหน่ง “ประเภทวิชาการ” หรือคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาและดำรงตำแหน่ง “ประเภททั่วไป” 

การให้ได้รับการปรับเงินเดือนเป็นอัตราใหม่ : นำอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.พ. กำหนด เป็นอัตราเงินเดือนเริ่มต้นแล้วบวกกับจำนวนเงินค่าจ้างที่ลดลงในวันที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ (ส่วนต่างระหว่างอัตราค่าจ้างสุดท้ายกับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ณ วันที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ) (ถ้ามี) และผลรวมของจำนวนเงินที่ได้เลื่อนเงินเดือนขณะเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ หากอัตราเงินเดือนที่คำนวณได้ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิมให้ได้รับในอัตราเดิมต่อไ

ประเภท 3. ข้าราชการ ไม่มีหลักเกณฑ์ แต่มีการให้ได้รับการปรับเงินเดือนเป็นอัตราใหม่ : ได้รับการปรับเงินเดือนเป็นอัตราใหม่ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2557 โดยปรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการข้างต้นก่อนแล้วจึงปรับเงินเดือนข้าราชการเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ตามประเภทและระดับที่ได้รับแต่งตั้ง ส่วนการเยียวยาพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการก่อน 11 ธันวาคม 2555 จะได้รับการเยียวยาเช่นเดียวกัน ให้ดำเนินการรวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบ

 ทั้งสองมติ ครม. ถือเป็นความพยายาม ผลักดันของ “กลุ่มข้าราชการต้องการความยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข” รวมถึง “สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย” และองค์กรต่าง ๆ ที่ยื่นหนังสือถึงทั้ง รัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อนหน้านี้**

ย้อนกลับไปดูที่มาของปัญหา คน สธ.เริ่มผลักดันปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบราชการ จากกรณีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การบรรจุข้าราชการของทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เมื่อปี 2556 ที่กำหนดให้สิทธิข้าราชการที่บรรจุหลังวันที่ 11 ธันวาคม 2555 รับเงินเดือนเต็มขั้นและยังสามารถทำเรื่องชำนาญการเพื่อเลื่อนระดับได้นั้น ส่งผลให้มีข้าราชการที่ได้รับการบรรจุก่อนหน้านี้ มากกว่า 12,000 คน ได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ที่ได้รับการบรรจุภายหลังกลับมีอัตราเงินเดือนและสิทธิเลื่อนขั้นมากกว่าข้าราชการที่ทำงานมาก่อน

ที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาโดยมีการนำเรื่องเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อปรับแก้ไขกฎหมายให้เกิดการเยียวยา และ สนช.ได้พิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และให้มีการประกาศใช้ ซึ่งใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ในมาตรา 3 ได้กำหนดให้เพิ่มความในมาตรา 50/1 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่ระบุให้ “ในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจําตําแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ. กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจําตําแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณีๆ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด”

มติครม. นี้ยังจะคาบเกี่ยวไปถึงขอเรียกร้อง “ลูกจ้างชั่วคราว” ที่บรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่บรรจุเป็นข้าราชการ ไม่สามารถนับต่ออายุราชการได้เช่นเดียวกับลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งมีผลต่อการสอบเพื่อเลื่อนขั้นด้วย ซึ่งก็มีการเยียวยาในครั้งนี้ด้วย

เบื้องต้น มติครม.นี้ เป็นเพียงการเยียวยาการปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องของค่าตอบแทน ให้เป็นธรรม แต่ยังไม่รวมถึงข้อเสนอของ“สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย” ที่เสนอให้ จัดตั้งสวัสดิการทำงานเสนอตั้งกองทุนทดแทนเพื่อพยาบาลที่ได้รับความเสียหายจากบริการ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ การปรับโครงสร้างเปิดโอกาสให้พยาบาลดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดได้

ก่อนหน้านี้ กลุ่มดังกล่าวได้มายื่นหนังสือถึงรัฐบาล ให้ มีการบรรจุให้พยาบาลวิชาชีพทุกตำแหน่ง ให้มีกองทุนทดแทนจากภาครัฐช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างภาครัฐเพื่อคุ้มครองการทุพลภาพและเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงาน และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเพดานเงินเดือน

โดยมีข้อเสนอ เช่น 1.ขอเยียวยาย้อนหลังไป ตั้งแต่ 11 มกราคม 2551 2.ขอปรับฐานค่ากลางย้อนหลังไปทุกครั้ง ที่มีการปรับฐานเงินเดือน 3.ขอปรับปรุงบัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้เทียบเท่า หรือเทียบเคียงบัญชีข้าราชการประเภทอื่นในระดับเดียวกัน ที่มีบัญชีสูงกว่า โดยให้ข้อมูลว่า มีรายงานของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา พ.ร.บ.เงินเดือน ที่ได้เคยให้ความเห็นไว้ต่อนายกรัฐมนตรี ว่ามีปัญหาความเหลื่อมล้ำจริง.


กำลังโหลดความคิดเห็น