เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (17 มิ.ย.) ชมรมสหวิชาชีพกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกอบด้วย นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข และสายงานต่าง ๆ เช่น เภสัชกร ทันแพทย์ เวชกิจฉุกเฉิน วิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น กว่า 1,000 คน จากทั่วประเทศ เดินทางมาเรียกร้องบริเวณหน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เพื่อขอให้ผู้บริหาร สธ.ให้ความช่วยเหลือ กรณี สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ยกเลิกเกณฑ์คัดเลือกบรรจุตำแหน่งข้าราชการใหม่ โดยให้สอบคัดเลือกแทนการคัดเลือกตามเกณฑ์เหมือนที่ผ่านมา รวมทั้งสายงานที่จบจากเครือสถาบันพระบรมราชชนก ของ สธ. ก็จะไม่ได้สิทธิการบรรจุเหมือนอดีต โดยชมรมฯได้มารวมตัวชูป้ายเรียกร้อง เช่น "เราทำงานเพื่อประชาชนจริง เราควรได้รับการบรรจุ" "เครือข่ายนักเรียนทุนจังหวัดตรัง มาทวงสัญญาบรรจุข้าราชการรอบ 3" "ท่านผลิตเรามา เหตุใดจึงทอดทิ้งพวกเรา" เป็นต้น
นายวัฒนะชัย นามตะ ประธานชมรมสหวิชาชีพฯ กล่าวว่า เนื่องจาก ก.พ. มีประกาศยกเลิกการคัดเลือกการบรรจุอัตรากำลังของ สป.สธ. โดยให้สอบคัดเลือกเฉพาะ 2 สายงาน คือ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ซึ่งมีจำนวน 1,476 คน ที่ได้รับผลกระทบ จึงขอเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1. การบรรจุตำแหน่งข้าราชการ สธ. รอบที่ 3 ที่มีความล่าช้า 2 . การบรรจุตำแหน่ง 2 สายงานดังกล่าวที่เป็นปัญหา จะมีข้อสรุปอย่างไร 3.การพัฒนาบุคลากรที่จบจากวิทยาลัยเครือข่ายสถาบันพระบรมราชชนก รวมถึงการดูแลในระบบจากนี้ และ 4. การพัฒนาบุคลากร สธ.ในระดับรากหญ้า สธ.และ ก.พ. จะมีนโยบายอย่างไร
ทั้งนี้ ยืนยันจะร้องต่อศาลปกครอง เพื่อฟ้อง ก.พ. เกี่ยวกับมติดังกล่าว 2 เรื่อง คือ ไม่มีความเป็นธรรมกับ 2 สายงาน และเป็นการละเมิดสิทธิกับน้องๆที่กำลังศึกษาสายงานด้านสาธารณสุขในสถาบันพระบรมราชชนก เนื่องจากหากเรียนในเครือสถาบันฯ จะมีสิทธิบรรจุตำแหน่งข้าราชการได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ปฏิบัติมานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นพยาบาล จะมีการเคลื่อนไหวในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ โดยจะไปเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับอัตรากำลังในการบรรจุข้าราชการเช่นกัน
ต่อมาเวลา 10.00 น. นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัด สธ. พร้อมด้วย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. และ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ เลขานุการ รมว.สธ.ในฐานะผู้แทน รมว.สธ. ได้เข้าหารือร่วมกับตัวแทนชมรมฯกว่า 50 คน โดยไม่อนุญาตให้สื่อรับฟัง
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ความยากของสภาวิชาชีพสาธารณสุข คือ ตำแหน่งงานมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามภาระงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีคนไข้นอกถึง 200 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งภาระงานนั้นกระจายลงไปถึงระดับสถานีอนามัย ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ฉะนั้น การปฏิรูปก็ต้องทำทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ ชมรมสหวิชาชีพฯ ก็ได้มีการอุทธรณ์ไปแล้ว ซึ่งวันที่ 25 มิ.ย. นี้ ก.พ.จะมีการพิจารณาต่อไป
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า สำหรับที่ประชุมมีความเข้าใจกันดี ได้ข้อสรุปร่วมกัน 4 ข้อ คือ
1. การสอบคัดเลือกแทนการบรรจุที่ ก.พ.ได้ทำหนังสือมาก่อนหน้านี้ สธ. ได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้ว และ ขอยืนยันว่าจะขอใช้หลักเกณฑ์การบรรจุรอบ 3 เหมือนเดิม เนื่องจากเป็นการทำตามมติต่อเนื่อง โดย ก.พ. จะนำไปเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการ โดยนำข้อมูลจากสหวิชาชีพไปประกอบการพิจารณา
2. ความคืบหน้าการบรรจุข้าราชการรอบที่ 3 จะนำเข้า คปร. วันที่ 25 มิ.ย.นี้ โดยคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะ สธ.ได้ทำตามมติครบทุกข้อ ถ้า คปร.เห็นชอบ ก็จะมีผลทางปฏิบัติทันที่ ในวันที่ 1 ส.ค.นี้
3.การพัฒนาบุคลากร ปัจจุบันพบว่ามีการผลิตบุคลากรทั้งจากสถาบันพระบรมราชชนก และหน่วยงานอื่น รวมแล้ว 10,000 คนต่อปี ขณะที่ความต้องการมีเพียง 2,000 คนต่อปี ซึ่งสถาบันพระบรมราชชนก จะผลิตสายงานด้านสาธารณสุข จาก 7 แห่ง เหลือเพียง 1 แห่ง โดยเปลี่ยนไปผลิตบุคลากรในสายที่ขาดแคลนแทน และประสานกับสถาบันการศึกษาอื่นเพื่อผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการ
4. เรื่องความมั่นคงทางวิชาชีพนั้น จะมีการจัดทำเกณฑ์เพื่อเลื่อนระดับให้เป็นเจ้าพนักงานอาวุโส เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ส่วนเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จะมีการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อให้กลุ่มนี้มีโอกาสก้าวหน้าด้วยเช่นกัน
นายวัฒนะชัย นามตะ ประธานชมรมสหวิชาชีพฯ กล่าวว่า ได้สะท้อนข้อมูลให้กับทั้ง สธ. และตัวแทนจาก ก.พ. โดยแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้สรุปในวันนี้ มีทั้งระยะสั้น และระยะยาว สามารถแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งหลังจาก ก.พ.มีการประชุมวันที่ 25 มิ.ย.นี้ จะมีการหารือตัวแทนในวงเล็ก เพื่อวางโรดแมป ในการพัฒนาวิชาชีพต่อไปด้วย
นายวัฒนะชัย นามตะ ประธานชมรมสหวิชาชีพฯ กล่าวว่า เนื่องจาก ก.พ. มีประกาศยกเลิกการคัดเลือกการบรรจุอัตรากำลังของ สป.สธ. โดยให้สอบคัดเลือกเฉพาะ 2 สายงาน คือ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ซึ่งมีจำนวน 1,476 คน ที่ได้รับผลกระทบ จึงขอเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1. การบรรจุตำแหน่งข้าราชการ สธ. รอบที่ 3 ที่มีความล่าช้า 2 . การบรรจุตำแหน่ง 2 สายงานดังกล่าวที่เป็นปัญหา จะมีข้อสรุปอย่างไร 3.การพัฒนาบุคลากรที่จบจากวิทยาลัยเครือข่ายสถาบันพระบรมราชชนก รวมถึงการดูแลในระบบจากนี้ และ 4. การพัฒนาบุคลากร สธ.ในระดับรากหญ้า สธ.และ ก.พ. จะมีนโยบายอย่างไร
ทั้งนี้ ยืนยันจะร้องต่อศาลปกครอง เพื่อฟ้อง ก.พ. เกี่ยวกับมติดังกล่าว 2 เรื่อง คือ ไม่มีความเป็นธรรมกับ 2 สายงาน และเป็นการละเมิดสิทธิกับน้องๆที่กำลังศึกษาสายงานด้านสาธารณสุขในสถาบันพระบรมราชชนก เนื่องจากหากเรียนในเครือสถาบันฯ จะมีสิทธิบรรจุตำแหน่งข้าราชการได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ปฏิบัติมานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นพยาบาล จะมีการเคลื่อนไหวในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ โดยจะไปเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับอัตรากำลังในการบรรจุข้าราชการเช่นกัน
ต่อมาเวลา 10.00 น. นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัด สธ. พร้อมด้วย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. และ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ เลขานุการ รมว.สธ.ในฐานะผู้แทน รมว.สธ. ได้เข้าหารือร่วมกับตัวแทนชมรมฯกว่า 50 คน โดยไม่อนุญาตให้สื่อรับฟัง
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ความยากของสภาวิชาชีพสาธารณสุข คือ ตำแหน่งงานมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามภาระงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีคนไข้นอกถึง 200 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งภาระงานนั้นกระจายลงไปถึงระดับสถานีอนามัย ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ฉะนั้น การปฏิรูปก็ต้องทำทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ ชมรมสหวิชาชีพฯ ก็ได้มีการอุทธรณ์ไปแล้ว ซึ่งวันที่ 25 มิ.ย. นี้ ก.พ.จะมีการพิจารณาต่อไป
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า สำหรับที่ประชุมมีความเข้าใจกันดี ได้ข้อสรุปร่วมกัน 4 ข้อ คือ
1. การสอบคัดเลือกแทนการบรรจุที่ ก.พ.ได้ทำหนังสือมาก่อนหน้านี้ สธ. ได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้ว และ ขอยืนยันว่าจะขอใช้หลักเกณฑ์การบรรจุรอบ 3 เหมือนเดิม เนื่องจากเป็นการทำตามมติต่อเนื่อง โดย ก.พ. จะนำไปเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการ โดยนำข้อมูลจากสหวิชาชีพไปประกอบการพิจารณา
2. ความคืบหน้าการบรรจุข้าราชการรอบที่ 3 จะนำเข้า คปร. วันที่ 25 มิ.ย.นี้ โดยคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะ สธ.ได้ทำตามมติครบทุกข้อ ถ้า คปร.เห็นชอบ ก็จะมีผลทางปฏิบัติทันที่ ในวันที่ 1 ส.ค.นี้
3.การพัฒนาบุคลากร ปัจจุบันพบว่ามีการผลิตบุคลากรทั้งจากสถาบันพระบรมราชชนก และหน่วยงานอื่น รวมแล้ว 10,000 คนต่อปี ขณะที่ความต้องการมีเพียง 2,000 คนต่อปี ซึ่งสถาบันพระบรมราชชนก จะผลิตสายงานด้านสาธารณสุข จาก 7 แห่ง เหลือเพียง 1 แห่ง โดยเปลี่ยนไปผลิตบุคลากรในสายที่ขาดแคลนแทน และประสานกับสถาบันการศึกษาอื่นเพื่อผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการ
4. เรื่องความมั่นคงทางวิชาชีพนั้น จะมีการจัดทำเกณฑ์เพื่อเลื่อนระดับให้เป็นเจ้าพนักงานอาวุโส เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ส่วนเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จะมีการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อให้กลุ่มนี้มีโอกาสก้าวหน้าด้วยเช่นกัน
นายวัฒนะชัย นามตะ ประธานชมรมสหวิชาชีพฯ กล่าวว่า ได้สะท้อนข้อมูลให้กับทั้ง สธ. และตัวแทนจาก ก.พ. โดยแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้สรุปในวันนี้ มีทั้งระยะสั้น และระยะยาว สามารถแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งหลังจาก ก.พ.มีการประชุมวันที่ 25 มิ.ย.นี้ จะมีการหารือตัวแทนในวงเล็ก เพื่อวางโรดแมป ในการพัฒนาวิชาชีพต่อไปด้วย