ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ..... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปด้วยคะแนนเสียง 192 เสียง งดออกเสียง 4 โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลักการสำคัญ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม พร้อมกำหนดประเภทบุคคลที่จะเป็นกำลังพลสำรอง ตลอดจนหน้าที่และสิทธิของกำลังพลสำรองในการเข้ารับราชการทหารให้เกิดความชัดเจน และเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกำลังพลสำรอง รวมถึงบทลงโทษ เช่น หากเกิดกรณีกำลังพลสำรองไม่มารายงานตัว ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน กรณีหลีกเลี่ยงไม่มารับราชการทหาร ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี เนื่องจากปัจจุบันร่างกฎหมายกำลังพลสำรองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นบัญชีกำลังพลและป้องกันภัยพิบัติเท่านั้น
สำหรับกรณีเหตุกำลังพลสำรองมารายงานตัว และขอลาราชการแต่ไม่กลับมา ได้แก้ไขให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาจากเหตุผลอันสมควร และใช้ดุลพินิจบทลงโทษว่าหากมีเหตุจำเป็นสามารถใช้บทโทษทางวินัยได้ เช่น การตักเตือน แต่หากไม่มีเหตุผลอันสมควร ต้องใช้โทษทางอาญาทหารมาบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการฯมีข้อสังเกตว่า กรณีที่กำลังพลสำรองเป็นลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างในขณะที่เข้ารับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่หากประกอบอาชีพอิสระจะไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ดังนั้นควรมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบันผ่านมา 61 ปี ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกำลังพลสำรอง ซึ่งประเทศไทยมีกำลังพลสำรองกว่า 12 ล้านคน แต่กลับใช้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ เมื่อร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรองมีผลบังคับใช้ก็จะมีความชัดเจนโดยเฉพาะในสิทธิผลประโยชน์ต่างของกำลังพลสำรอง
สำหรับกรณีเหตุกำลังพลสำรองมารายงานตัว และขอลาราชการแต่ไม่กลับมา ได้แก้ไขให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาจากเหตุผลอันสมควร และใช้ดุลพินิจบทลงโทษว่าหากมีเหตุจำเป็นสามารถใช้บทโทษทางวินัยได้ เช่น การตักเตือน แต่หากไม่มีเหตุผลอันสมควร ต้องใช้โทษทางอาญาทหารมาบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการฯมีข้อสังเกตว่า กรณีที่กำลังพลสำรองเป็นลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างในขณะที่เข้ารับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่หากประกอบอาชีพอิสระจะไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ดังนั้นควรมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบันผ่านมา 61 ปี ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกำลังพลสำรอง ซึ่งประเทศไทยมีกำลังพลสำรองกว่า 12 ล้านคน แต่กลับใช้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ เมื่อร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรองมีผลบังคับใช้ก็จะมีความชัดเจนโดยเฉพาะในสิทธิผลประโยชน์ต่างของกำลังพลสำรอง