นายอธิปัตย์ บำรุง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการความร่วมมือไทย – เยอรมัน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ การก่อสร้าง และความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUB) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย (EEP 2015) ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคอาคารธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจก โดยโครงการดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 3 ปี และดำเนินกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับ EEP 2015 โดยเฉพาะมาตรการอนุรักษ์พลังงานใหม่ๆ ที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ และแนวทางการปฏิบัติที่ดีจากต่างประเทศ
สำหรับการประชุมครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าและผลงานของโครงการแก่คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้แทนจากหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก การไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงาน ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมที่สำคัญภายใต้โครงการ ได้แก่ การจัดทำข้อมูลฐานและการบริหารข้อมูลพลังงาน ที่ได้พัฒนาดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานระดับภาคเศรษฐกิจสาขาย่อยของภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารที่อยู่อาศัย และภาคขนส่ง ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือวางแผนนโยบายและการติดตามประเมินผลการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ส่วนมาตรการภาคบังคับศึกษา แนวทางมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยผู้ผลิตไฟฟ้า (EERS) เป็นมาตรการใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ได้มีการดำเนินการแล้วในหลายประเทศ โครงการจึงได้พัฒนาคู่มือแนวทางการออกแบบมาตรการ EERS ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้เสนอให้ควรมีการดำเนินมาตรการนี้ภายใต้แนวคิดการทำ CSR โดยผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานก่อน เพื่อเป็นการนำร่องและติดตามผลการดำเนินงานก่อนที่จะนำสู่การขยายผลต่อไป
สำหรับการประชุมครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าและผลงานของโครงการแก่คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้แทนจากหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก การไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงาน ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมที่สำคัญภายใต้โครงการ ได้แก่ การจัดทำข้อมูลฐานและการบริหารข้อมูลพลังงาน ที่ได้พัฒนาดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานระดับภาคเศรษฐกิจสาขาย่อยของภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารที่อยู่อาศัย และภาคขนส่ง ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือวางแผนนโยบายและการติดตามประเมินผลการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ส่วนมาตรการภาคบังคับศึกษา แนวทางมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยผู้ผลิตไฟฟ้า (EERS) เป็นมาตรการใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ได้มีการดำเนินการแล้วในหลายประเทศ โครงการจึงได้พัฒนาคู่มือแนวทางการออกแบบมาตรการ EERS ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้เสนอให้ควรมีการดำเนินมาตรการนี้ภายใต้แนวคิดการทำ CSR โดยผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานก่อน เพื่อเป็นการนำร่องและติดตามผลการดำเนินงานก่อนที่จะนำสู่การขยายผลต่อไป