สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 พ.ย.) โดยสัญญาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ - COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 2 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ระดับ 1,104.20 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำปิดตลาดร่วงลงติดต่อกัน 6 วันทำการ เนื่องจากสัญญาณที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยล่าสุดนางเยลเลนแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
ทั้งนี้ นางเยลเลนระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวในอัตราที่เพียงพอต่อการสร้างความคืบหน้าในตลาดแรงงาน และช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง และหากข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดได้รับให้การสนับสนุนการคาดการณ์ดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า
นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (5 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนต.ค.ในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย เพื่อจับสัญญาณแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,863.43 จุด ลดลง 4.15 จุด หรือ -0.02% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 5,127.74 จุด ลดลง 14.74 จุด หรือ -0.29% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,099.93 จุด ลดลง 2.38 จุด หรือ -0.11%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนต.ค.ในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนมองว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้หรือไม่ หลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐครั้งล่าสุดว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
ทั้งนี้ ผลการสำรวจของนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.จะเพิ่มขึ้น 183,000 ตำแหน่ง โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 142,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2008
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐยังสร้างแรงกดดันต่อภาวะการซื้อขายเมื่อคืนนี้ด้วย โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 16,000 ราย สู่ระดับ 276,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 260,000 ราย
ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 1.6% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส แต่ชะลอตัวจากที่ปรับตัวขึ้น 3.5% ในไตรมาส 2
หุ้นเฟซบุ๊กพุ่งขึ้น 4.64% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาสสามของปี 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% ขณะที่รายได้พุ่ง 41% แตะ 4.5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับไตรมาสสามของปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 3.2 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากภาคธุรกิจหันมาใช้พื้นที่โฆษณาบนเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้รายได้จากการโฆษณานั้นมากจนสามารถชดเชยงบประมาณที่ทางบริษัทได้ทุ่มให้กับโครงการต่างๆได้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 1.12 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 45.20 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 60 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 47.98 ดอลลาร์/บาร์เรล
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจาก EIA รายงานเมื่อวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.85 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 482.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล
รายงานของ EIA ยังระบุด้วยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 48,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.16 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) รายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปกในช่วงเดือนต.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 และสูงกว่าโควต้าที่โอเปกกำหนดไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า อิหร่านซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปกนั้น วางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในช่วงสิ้นเดือนมี.ค.ปีหน้า
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ - COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 2 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ระดับ 1,104.20 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำปิดตลาดร่วงลงติดต่อกัน 6 วันทำการ เนื่องจากสัญญาณที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยล่าสุดนางเยลเลนแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
ทั้งนี้ นางเยลเลนระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวในอัตราที่เพียงพอต่อการสร้างความคืบหน้าในตลาดแรงงาน และช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง และหากข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดได้รับให้การสนับสนุนการคาดการณ์ดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า
นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (5 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนต.ค.ในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย เพื่อจับสัญญาณแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,863.43 จุด ลดลง 4.15 จุด หรือ -0.02% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 5,127.74 จุด ลดลง 14.74 จุด หรือ -0.29% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,099.93 จุด ลดลง 2.38 จุด หรือ -0.11%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนต.ค.ในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนมองว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้หรือไม่ หลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐครั้งล่าสุดว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
ทั้งนี้ ผลการสำรวจของนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.จะเพิ่มขึ้น 183,000 ตำแหน่ง โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 142,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2008
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐยังสร้างแรงกดดันต่อภาวะการซื้อขายเมื่อคืนนี้ด้วย โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 16,000 ราย สู่ระดับ 276,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 260,000 ราย
ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 1.6% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส แต่ชะลอตัวจากที่ปรับตัวขึ้น 3.5% ในไตรมาส 2
หุ้นเฟซบุ๊กพุ่งขึ้น 4.64% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาสสามของปี 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% ขณะที่รายได้พุ่ง 41% แตะ 4.5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับไตรมาสสามของปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 3.2 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากภาคธุรกิจหันมาใช้พื้นที่โฆษณาบนเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้รายได้จากการโฆษณานั้นมากจนสามารถชดเชยงบประมาณที่ทางบริษัทได้ทุ่มให้กับโครงการต่างๆได้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 1.12 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 45.20 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 60 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 47.98 ดอลลาร์/บาร์เรล
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจาก EIA รายงานเมื่อวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.85 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 482.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล
รายงานของ EIA ยังระบุด้วยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 48,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.16 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) รายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปกในช่วงเดือนต.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 และสูงกว่าโควต้าที่โอเปกกำหนดไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า อิหร่านซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปกนั้น วางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในช่วงสิ้นเดือนมี.ค.ปีหน้า