สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และหลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.นี้
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์-COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 7.9 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ระดับ 1,106.2 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายสัญญาทองคำหลังจากนางเยลเลนแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 พ.ย.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานนี้ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,867.58 จุด ลดลง 50.57 จุด หรือ -0.28% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 5,142.48 จุด ลดลง 2.65 จุด หรือ -0.05% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,102.31 จุด ลดลง 7.48 จุด หรือ -0.35%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันหลังจากนางเยลเลนแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
ทั้งนี้ นางเยลเลนระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวในอัตราที่เพียงพอต่อการสร้างความคืบหน้าในตลาดแรงงาน และช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง และหากข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดได้รับให้การสนับสนุนการคาดการณ์ดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า แต่เรายังไม่ได้ทำการตัดสินใจใดๆในเรื่องนี้"
อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงในกรอบที่จำกัด เพราะตลาดได้รับแรงหนุนในระหว่างวันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 182,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ขณะที่ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ภาคบริการของสหรัฐมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนต.ค. ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของ ISM เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 59.1% ในเดือนต.ค. จากระดับ 56.9% ในเดือนก.ย.
นักลงทุนจับตาดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนต.ค.ของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในวันศุกร์นี้ ขณะที่ผลการสำรวจของนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.จะเพิ่มขึ้น 183,000 ตำแหน่ง โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 142,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2008
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ทางการสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และประสิทธิภาพการผลิต-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้นในไตรมาส 3/2558 ส่วนวันศุกร์ สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค. และสินเชื่อผู้บริโภคเดือนก.ย.
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.58 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 46.32 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 1.96 ดอลลาร์ หรือ 3.9% ปิดที่ 48.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจาก EIA เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.85 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 482.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน ลดลง 212,000 บาร์เรล สู่ระดับ 53.1 ล้านบาร์เรล
ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 3.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 215.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล ลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 140.8 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันหลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานนี้ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์-COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 7.9 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ระดับ 1,106.2 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายสัญญาทองคำหลังจากนางเยลเลนแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 พ.ย.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานนี้ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,867.58 จุด ลดลง 50.57 จุด หรือ -0.28% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 5,142.48 จุด ลดลง 2.65 จุด หรือ -0.05% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,102.31 จุด ลดลง 7.48 จุด หรือ -0.35%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันหลังจากนางเยลเลนแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 ธ.ค.
ทั้งนี้ นางเยลเลนระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวในอัตราที่เพียงพอต่อการสร้างความคืบหน้าในตลาดแรงงาน และช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง และหากข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดได้รับให้การสนับสนุนการคาดการณ์ดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า แต่เรายังไม่ได้ทำการตัดสินใจใดๆในเรื่องนี้"
อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงในกรอบที่จำกัด เพราะตลาดได้รับแรงหนุนในระหว่างวันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 182,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ขณะที่ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ภาคบริการของสหรัฐมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนต.ค. ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของ ISM เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 59.1% ในเดือนต.ค. จากระดับ 56.9% ในเดือนก.ย.
นักลงทุนจับตาดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนต.ค.ของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในวันศุกร์นี้ ขณะที่ผลการสำรวจของนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.จะเพิ่มขึ้น 183,000 ตำแหน่ง โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 142,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2008
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ทางการสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และประสิทธิภาพการผลิต-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้นในไตรมาส 3/2558 ส่วนวันศุกร์ สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค. และสินเชื่อผู้บริโภคเดือนก.ย.
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.58 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 46.32 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 1.96 ดอลลาร์ หรือ 3.9% ปิดที่ 48.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจาก EIA เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.85 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 482.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน ลดลง 212,000 บาร์เรล สู่ระดับ 53.1 ล้านบาร์เรล
ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 3.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 215.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล ลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 140.8 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันหลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวานนี้ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า