เมื่อวันที่ 17 ต.ค. นายนิพิฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตผู้บริหารบริษัท ปตท. กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (PTTGE) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ตนเองถูกบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท PTTGE ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ในคดีการลงทุนธุรกิจโครงการน้ำมันปาล์มในประเทศอินโดนีเซีย โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 20,000 ล้านบาทนั้น ตนขอชี้แจง ว่า ในช่วงปี 2549-2550 เป็นช่วงราคาน้ำมันไต่ระดับสูงขึ้นเร็วมาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงตระหนักถึงภารกิจในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอและมองเห็นว่าการผลิตพลังงานทางเลือกจากพืชเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน เป็นสิ่งที่ควรทำ จึงดำเนินธุรกิจปาล์ม โดยเลือกพื้นที่ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากภูมิประเทศเหมาะสมและหาพื้นที่ได้ไม่ยาก
จากนั้น ได้มีการตั้งบริษัท PTTGE และมอบหมายให้ตน เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยPTTGE ร่วมลงทุน 5 โครงการ และบริหารงานอย่างรอบคอบ โดยมีที่ปรึกษาให้การสนับสนุนการทำงานอย่างใกล้ชิด ทุกสัญญาดำเนินการด้วยความรัดกุม มีเงื่อนไขผูกมัดคู่สัญญา ซึ่งในเงื่อนไขมีการระบุด้วยว่า หากพื้นที่ไม่เหมาะสมในส่วนใด จะมีการชดเชย เยียวยาให้เป็นทรัพย์สินที่จะได้รับ
นายนิพิฐ กล่าวว่า ตนและทีมงานได้เข้าบริหารและพัฒนาบริษัท PTTGE จนถึงปี 2555 จากนั้นจึงถูกปลดจากตำแหน่งโดยผู้บริหารปตท.ในขณะนั้น ซึ่งตนเชื่อว่า ตนพูดไม่เข้าหู ไม่ตามใจ หรืออาจจะเป็นเพราะไม่ชอบหน้าตน เนื่องจากตนเป็นคนพูดตรงเกินไป และด้วยความมีอคติกับตน จึงมุ่งเน้นตรวจสอบ ขุดคุ้ยหาที่ผิดในงานที่ตนทำไป โดยปรักปรำว่า งานของตนผิดพลาดไม่รัดกุม ไม่เอาใจใส่ ไม่มีคุณภาพ และอ้างว่าส่อไปในทางทุจริต
“ผมไม่อยากพูดว่า อาจจะถึงขั้นมีการทำหลักฐานจงใจละเลยทำให้งานเสียหาย เพื่อสร้างเหตุข้อบกพร่องให้มากขึ้น ซึ่งผมมีหลักฐานอยู่มากมาย และด้วยเป้าหมายที่มุ่งจับผิด ทำให้งานที่ทำไปของผู้บริหารใหม่หลังจากนั้น จึงสะเปะสะปะทำผิดทำถูก ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งจงใจและไม่จงใจก็ตาม”
นายนิพิฐ กล่าวต่อว่า ผลที่ออกมาคือ PTTGE มีการใช้เงินไม่รัดกุม ไม่เกิดคุณค่า คุณภาพงานต่ำ และบางเรื่องก็ส่อไปในทางไม่โปร่งใส และอ้างว่าเป็นธุรกิจไม่ดีไม่โปร่งใส และบริษัท ปตท.ควรขายทิ้ง ตนถามว่า ถ้าเป็นธุรกิจไม่ดี เหตุใดจึงมีบริษัทใหญ่ๆมากมายแย่งกันหาพื้นที่ลงทุน
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า ปัญหาหลักสำคัญส่วนหนึ่ง มาจากการมีอคติกับตน ซึ่งตนรู้สึกเสียใจและเสียดายที่บริษัท ปตท.จะต้องเสียธุรกิจดีๆไป รวมถึงพนักงานมากมายที่ทุ่มเทให้บริษัท แต่ต้องออกจากองค์กรไป
จากนั้น ได้มีการตั้งบริษัท PTTGE และมอบหมายให้ตน เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยPTTGE ร่วมลงทุน 5 โครงการ และบริหารงานอย่างรอบคอบ โดยมีที่ปรึกษาให้การสนับสนุนการทำงานอย่างใกล้ชิด ทุกสัญญาดำเนินการด้วยความรัดกุม มีเงื่อนไขผูกมัดคู่สัญญา ซึ่งในเงื่อนไขมีการระบุด้วยว่า หากพื้นที่ไม่เหมาะสมในส่วนใด จะมีการชดเชย เยียวยาให้เป็นทรัพย์สินที่จะได้รับ
นายนิพิฐ กล่าวว่า ตนและทีมงานได้เข้าบริหารและพัฒนาบริษัท PTTGE จนถึงปี 2555 จากนั้นจึงถูกปลดจากตำแหน่งโดยผู้บริหารปตท.ในขณะนั้น ซึ่งตนเชื่อว่า ตนพูดไม่เข้าหู ไม่ตามใจ หรืออาจจะเป็นเพราะไม่ชอบหน้าตน เนื่องจากตนเป็นคนพูดตรงเกินไป และด้วยความมีอคติกับตน จึงมุ่งเน้นตรวจสอบ ขุดคุ้ยหาที่ผิดในงานที่ตนทำไป โดยปรักปรำว่า งานของตนผิดพลาดไม่รัดกุม ไม่เอาใจใส่ ไม่มีคุณภาพ และอ้างว่าส่อไปในทางทุจริต
“ผมไม่อยากพูดว่า อาจจะถึงขั้นมีการทำหลักฐานจงใจละเลยทำให้งานเสียหาย เพื่อสร้างเหตุข้อบกพร่องให้มากขึ้น ซึ่งผมมีหลักฐานอยู่มากมาย และด้วยเป้าหมายที่มุ่งจับผิด ทำให้งานที่ทำไปของผู้บริหารใหม่หลังจากนั้น จึงสะเปะสะปะทำผิดทำถูก ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งจงใจและไม่จงใจก็ตาม”
นายนิพิฐ กล่าวต่อว่า ผลที่ออกมาคือ PTTGE มีการใช้เงินไม่รัดกุม ไม่เกิดคุณค่า คุณภาพงานต่ำ และบางเรื่องก็ส่อไปในทางไม่โปร่งใส และอ้างว่าเป็นธุรกิจไม่ดีไม่โปร่งใส และบริษัท ปตท.ควรขายทิ้ง ตนถามว่า ถ้าเป็นธุรกิจไม่ดี เหตุใดจึงมีบริษัทใหญ่ๆมากมายแย่งกันหาพื้นที่ลงทุน
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า ปัญหาหลักสำคัญส่วนหนึ่ง มาจากการมีอคติกับตน ซึ่งตนรู้สึกเสียใจและเสียดายที่บริษัท ปตท.จะต้องเสียธุรกิจดีๆไป รวมถึงพนักงานมากมายที่ทุ่มเทให้บริษัท แต่ต้องออกจากองค์กรไป