นายนิพิฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตผู้บริหารบริษัท ปตท. กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (PTTGE) เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ว่า จากกรณีที่ตนถูกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)และ PTTGE ฟ้องต่อศาลแพ่ง ในคดีการลงทุนโครงการปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 2 หมื่นล้านบาทนั้น ตนขอชี้แจงว่า การลงทุนดังกล่าวได้แบ่งออกเป็น 2ช่วง ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 ปี โดยขณะที่ตนบริหารงานบริษัท PTTGE ได้เพียง 3 ปีเศษ ก็ถูกปลดให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งต่อมามีคณะผู้บริหารชุดใหม่และดำเนินการต่อจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดการลงทุนนั้น ในช่วงแรก ระหว่างเดือนก.ค. 2550 ถึงเดือนก.พ.2555 เป็นช่วงที่ตน กับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหาร ซึ่งใช้เงินลงทุนในโครงการไปประมาณ 242.8 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 7,800 ล้านบาท ซึ่งได้รับทรัพย์สินและที่ดินมาครบถ้วนเต็มตามจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป เพราะทุกสัญญาเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และการลงทุนในช่วงแรกนี้ปราศจากการทุจริตใดๆทั้งสิ้นและไม่มีความเสียหายจากการลงทุนในโครงการเลย
นายนิพิฐ กล่าวต่อว่า จากนั้นในวันที่ 28 ก.พ. 2555 ตนถูกปลดให้พ้นจากตำแหน่ง และมีคณะผู้บริหารชุดใหม่มาดำเนินการแทนในช่วงที่2 ซึ่งได้ลงทุนไปประมาณ 330.8 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10,750 ล้านบาท ซึ่งตนไม่มีส่วนรู้เห็น รับรู้รับทราบและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากได้พ้นตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ PTTGE ไปแล้ว
ดังนั้นในคำฟ้องขัดต่อหลักความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งตนเชื่อว่า มีการกระทำการเป็นขบวนการ ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และกลั่นแกล้งและใส่ร้ายป้ายสีตน โยนความผิดให้ตนตกเป็นแพะรับบาปแต่เพียงผู้เดียว
“เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ผมได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เรียกคณะผู้บริหารบางคนเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)เนื่องจากตามกฎหมายแล้วผมอาจจะฟ้องบุคคลดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อให้ใช้เสียหายได้ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้กระทำละเมิดต่อบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)และบริษัท PTTGE และทำให้ได้รับความเสียหายโดยตรง” นายนิพิฐ กล่าว
นอกจากนี้มีการจงใจปล่อยปละละเลยไม่ต่อใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจน้ำมันปาล์ม ทั้งที่หน่วยงานราชการท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซียได้มีหนังสือทวงถามให้ดำเนินการต่อใบอนุญาตในการทำธุรกิจปลูกปาล์ม เป็นเหตุให้ถูกยึดใบอนุญาต
“มีการทุจริตคอรัปชั่น สมคบคิดเป็นขบวนการ สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับ บริษัท ปตท.และ PTTGE โดยการขายที่ดินและทรัพย์สินของบริษัท PT.MAR ต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก ทั้งที่มีบริษัทอินโดนีเซีย และบริษัทต่างชาติให้ความสนใจติดต่อขอซื้อโดยตรงในราคา 85 ล้านเหรีญสหรัฐ หรือประมาณ 2,760 ล้านบาท แต่กลับเอื้อประโยชน์และขายให้กับพวกพ้องของตนในราคาต่ำกว่าราคาตลาดในราคา 35 ล้านเหรีญสหรัฐ หรือประมาณ 1,100 ล้านบาท
ทั้งนี้ปรากฏหลักฐานตามรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงการดำเนินงานของบริษัท PTTGE ฉบับลงวันที่ 2 เม.ย.2556 โดยบริษัท Mckinsey & Company สรุปผลการดำเนินงานของบริษัท PTTGE ประสบความล้มเหลวในการบริหารกิจการในธุรกิจน้ำมันปาล์ม โดยมีข้อบกพร่องทั้งหมด 18 ข้อ ซึ่งผลสรุปได้ชี้ชัดถึงความไม่โปร่งใส และมีการทุจริตในโครงการดังกล่าว”
อีกทั้งกลุ่มขบวนการดังกล่าวนั้นพยายามจะล้มเลิกโครงการปลูกปาล์มน้ำมันอินโดนีเซียโดยอ้างว่าไม่น่าจะทำกำไรให้กับ บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)และบริษัท PTTGE แทนที่จะยุติโครงการทุกโครงการโดยทันที หรือยกเลิกสัญญาที่ตนเคยทำไว้ แต่กลับลงทุนเพิ่มเติมเป็นเงินจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งสองบริษัทได้รับความเสียหาย และต่อมากลับใช้อำนาจตนเองโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาฟ้องตนให้เป็นแพะรับบาปให้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
“ศาลแพ่งจะได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจะเรียกคณะผู้บริหารบางคนเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้หรือไม่ในวันที่ 5 ต.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อมั่นในความสถิตยุติธรรมของศาล และจะต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีของตนเองโดยจะเอาบุคคลผู้ที่กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษให้ได้ไม่ว่าทั้งทางแพ่งและทางอาญา” นายนิพิฐ กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดการลงทุนนั้น ในช่วงแรก ระหว่างเดือนก.ค. 2550 ถึงเดือนก.พ.2555 เป็นช่วงที่ตน กับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหาร ซึ่งใช้เงินลงทุนในโครงการไปประมาณ 242.8 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 7,800 ล้านบาท ซึ่งได้รับทรัพย์สินและที่ดินมาครบถ้วนเต็มตามจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป เพราะทุกสัญญาเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และการลงทุนในช่วงแรกนี้ปราศจากการทุจริตใดๆทั้งสิ้นและไม่มีความเสียหายจากการลงทุนในโครงการเลย
นายนิพิฐ กล่าวต่อว่า จากนั้นในวันที่ 28 ก.พ. 2555 ตนถูกปลดให้พ้นจากตำแหน่ง และมีคณะผู้บริหารชุดใหม่มาดำเนินการแทนในช่วงที่2 ซึ่งได้ลงทุนไปประมาณ 330.8 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10,750 ล้านบาท ซึ่งตนไม่มีส่วนรู้เห็น รับรู้รับทราบและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากได้พ้นตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ PTTGE ไปแล้ว
ดังนั้นในคำฟ้องขัดต่อหลักความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งตนเชื่อว่า มีการกระทำการเป็นขบวนการ ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และกลั่นแกล้งและใส่ร้ายป้ายสีตน โยนความผิดให้ตนตกเป็นแพะรับบาปแต่เพียงผู้เดียว
“เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ผมได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เรียกคณะผู้บริหารบางคนเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)เนื่องจากตามกฎหมายแล้วผมอาจจะฟ้องบุคคลดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อให้ใช้เสียหายได้ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้กระทำละเมิดต่อบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)และบริษัท PTTGE และทำให้ได้รับความเสียหายโดยตรง” นายนิพิฐ กล่าว
นอกจากนี้มีการจงใจปล่อยปละละเลยไม่ต่อใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจน้ำมันปาล์ม ทั้งที่หน่วยงานราชการท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซียได้มีหนังสือทวงถามให้ดำเนินการต่อใบอนุญาตในการทำธุรกิจปลูกปาล์ม เป็นเหตุให้ถูกยึดใบอนุญาต
“มีการทุจริตคอรัปชั่น สมคบคิดเป็นขบวนการ สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับ บริษัท ปตท.และ PTTGE โดยการขายที่ดินและทรัพย์สินของบริษัท PT.MAR ต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก ทั้งที่มีบริษัทอินโดนีเซีย และบริษัทต่างชาติให้ความสนใจติดต่อขอซื้อโดยตรงในราคา 85 ล้านเหรีญสหรัฐ หรือประมาณ 2,760 ล้านบาท แต่กลับเอื้อประโยชน์และขายให้กับพวกพ้องของตนในราคาต่ำกว่าราคาตลาดในราคา 35 ล้านเหรีญสหรัฐ หรือประมาณ 1,100 ล้านบาท
ทั้งนี้ปรากฏหลักฐานตามรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงการดำเนินงานของบริษัท PTTGE ฉบับลงวันที่ 2 เม.ย.2556 โดยบริษัท Mckinsey & Company สรุปผลการดำเนินงานของบริษัท PTTGE ประสบความล้มเหลวในการบริหารกิจการในธุรกิจน้ำมันปาล์ม โดยมีข้อบกพร่องทั้งหมด 18 ข้อ ซึ่งผลสรุปได้ชี้ชัดถึงความไม่โปร่งใส และมีการทุจริตในโครงการดังกล่าว”
อีกทั้งกลุ่มขบวนการดังกล่าวนั้นพยายามจะล้มเลิกโครงการปลูกปาล์มน้ำมันอินโดนีเซียโดยอ้างว่าไม่น่าจะทำกำไรให้กับ บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)และบริษัท PTTGE แทนที่จะยุติโครงการทุกโครงการโดยทันที หรือยกเลิกสัญญาที่ตนเคยทำไว้ แต่กลับลงทุนเพิ่มเติมเป็นเงินจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งสองบริษัทได้รับความเสียหาย และต่อมากลับใช้อำนาจตนเองโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาฟ้องตนให้เป็นแพะรับบาปให้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
“ศาลแพ่งจะได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจะเรียกคณะผู้บริหารบางคนเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้หรือไม่ในวันที่ 5 ต.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อมั่นในความสถิตยุติธรรมของศาล และจะต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีของตนเองโดยจะเอาบุคคลผู้ที่กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษให้ได้ไม่ว่าทั้งทางแพ่งและทางอาญา” นายนิพิฐ กล่าว