กรมชลประทาน รายงานว่า สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยายังมีปริมาณเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งเป้าไว้ โดยวันที่ 14 ต.ค. มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้น จำนวน 10,410 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนรวมกัน (13 ต.ค.) ทั้งสิ้น 87.59 ล้านลูกบาศก์เมตร มีการใช้น้ำรวมกันวันละ 4.51 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 3,714 ล้านลูกบาศก์เมตร และคาดว่าก่อนสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมนี้ จะยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับข่าวลือที่ว่า ปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนเดือนตุลาคมนี้จะมีปริมาณน้ำเพียงพอในการทำนาปรังนั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ที่มีอยู่จะเพียงพอใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรังในฤดูแล้งหน้านี้ได้
ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ให้โครงการชลประทานทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกกลุ่ม รวมทั้งประชาชนทั่วไปในพื้นที่ของตนให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด และขอความร่วมมือให้งดทำนาปรัง เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศตลอดในช่วงฤดูแล้งต่อเนื่อง ไปจนถึงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม 2559 ด้วย พร้อมกันนี้ขอให้ทุกภาคส่วนรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สำหรับข่าวลือที่ว่า ปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนเดือนตุลาคมนี้จะมีปริมาณน้ำเพียงพอในการทำนาปรังนั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ที่มีอยู่จะเพียงพอใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรังในฤดูแล้งหน้านี้ได้
ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ให้โครงการชลประทานทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกกลุ่ม รวมทั้งประชาชนทั่วไปในพื้นที่ของตนให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด และขอความร่วมมือให้งดทำนาปรัง เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศตลอดในช่วงฤดูแล้งต่อเนื่อง ไปจนถึงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม 2559 ด้วย พร้อมกันนี้ขอให้ทุกภาคส่วนรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงได้ในอนาคต