นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุด โดยมุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรกร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) การกระตุ้นการลงทุนภาครัฐโครงการขนาดเล็ก รวมถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดลงกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้งหมดดังกล่าวเพียงพอแล้วสำหรับการประคองเศรษฐกิจ ต่อจากนี้จะไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจอีก ซึ่งหลังจากนี้ จะเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจ แก้ปัญหาฐานรากของประเทศ โดยเร่งทำใน 4 ด้าน คือ 1.ปรับโครงสร้างการเติบโตในประเทศให้สมดุลมากขึ้น เน้นการเติบโตจากภายในมากขึ้น 2. ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศ เน้นผลิตสินค้านวัตกรรมแทนการรับจ้างผลิตสินค้า เลิกให้การสนับสนุนผู้ผลิตที่ไม่มีการพัฒนานวัตกรรม
3. เน้นการลงทุนคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในส่วนของภาคบริการ การท่องเที่ยว รีเทล การเงิน สร้าง ความเชื่อมโยงเพื่อเป็นฮับรองรับการเกิดขึ้นของเออีซี และ 4 ปฏิรูประบบการเงินการคลัง เน้นการลงทุนแบบที่ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม หรือ พีพีพี เพื่อลดภาระการจัดหางบประมาณของรัฐบาล รวมถึงได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงบประมาณลดการจัดสรรงบที่ซ้ำซ้อน โดยแบ่งเป็นงบประเภทรายจ่ายประจำของแต่ละกระทรวง กับงบรวมสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น การสร้างความเข้มแข็งท้องถิ่น เพื่อลดการเบิกจ่ายงบซ้ำซ้อน รวมถึงปฏิรูประบบตลาดเงินตลาดทุน ให้มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพเพียงพอ รองรับการเติบโตเศรษฐกิจในอนาคต
“การพัฒนาเศรษฐกิจไทยทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เชื่อดีกว่าเดิม และไม่อยากให้ตื่นเต้นกับการทำนายเศรษฐกิจ และมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะโตแบบสัญลักษณ์ไนกี้ หรือเครื่องหมาย "ถูก" ไม่ใช่ "u curve" ตามที่นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้อย่างแน่นอน”
อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้งหมดดังกล่าวเพียงพอแล้วสำหรับการประคองเศรษฐกิจ ต่อจากนี้จะไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจอีก ซึ่งหลังจากนี้ จะเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจ แก้ปัญหาฐานรากของประเทศ โดยเร่งทำใน 4 ด้าน คือ 1.ปรับโครงสร้างการเติบโตในประเทศให้สมดุลมากขึ้น เน้นการเติบโตจากภายในมากขึ้น 2. ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศ เน้นผลิตสินค้านวัตกรรมแทนการรับจ้างผลิตสินค้า เลิกให้การสนับสนุนผู้ผลิตที่ไม่มีการพัฒนานวัตกรรม
3. เน้นการลงทุนคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในส่วนของภาคบริการ การท่องเที่ยว รีเทล การเงิน สร้าง ความเชื่อมโยงเพื่อเป็นฮับรองรับการเกิดขึ้นของเออีซี และ 4 ปฏิรูประบบการเงินการคลัง เน้นการลงทุนแบบที่ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม หรือ พีพีพี เพื่อลดภาระการจัดหางบประมาณของรัฐบาล รวมถึงได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงบประมาณลดการจัดสรรงบที่ซ้ำซ้อน โดยแบ่งเป็นงบประเภทรายจ่ายประจำของแต่ละกระทรวง กับงบรวมสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น การสร้างความเข้มแข็งท้องถิ่น เพื่อลดการเบิกจ่ายงบซ้ำซ้อน รวมถึงปฏิรูประบบตลาดเงินตลาดทุน ให้มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพเพียงพอ รองรับการเติบโตเศรษฐกิจในอนาคต
“การพัฒนาเศรษฐกิจไทยทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เชื่อดีกว่าเดิม และไม่อยากให้ตื่นเต้นกับการทำนายเศรษฐกิจ และมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะโตแบบสัญลักษณ์ไนกี้ หรือเครื่องหมาย "ถูก" ไม่ใช่ "u curve" ตามที่นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้อย่างแน่นอน”