สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ข้อมูลการค้าที่อ่อนแอของจีนยังช่วยหนุนแรงซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์-COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 90 เซนต์ หรือ 0.08% ปิดที่ 1,165.40 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มแผ่วลง ทั้งนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์จะช่วยให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลดอลลาร์ มีราคาถูกลง และน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันโลกจะยังคงประสบกับภาวะน้ำมันล้นตลาดจนถึงปีหน้า
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 44 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 46.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 62 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 49.24 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงหลังจาก IEA คาดการณ์ว่า ตลาดน้ำมันโลกจะยังคงประสบกับภาวะน้ำมันล้นตลาดในปีหน้า แม้ว่าประเทศนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะปรับลดการผลิตลง เพื่อรองรับกับราคาน้ำมันที่ร่วงลง
นอกจากนี้ IEA คาดว่า ความต้องการน้ำมันจะชะลอตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอ่อนแรง ขณะที่การกลับมาส่งออกน้ำมันของอิหร่าน หลังจากที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรแล้วนั้น อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้อุปทานน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นอีก
ข้อมูลดังกล่าวของ IEA ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากที่ตลาดถูกกดดันอยู่ก่อนแล้ว จากข้อมูลที่ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในช่วงเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 109,000 บาร์เรล สู่ระดับเฉลี่ย 31.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากทางการจีนเปิดเผยตัวเลขการค้าที่ซบเซา รวมถึงยอดการนำเข้าที่ร่วงลงอย่างหนักในเดือนก.ย. ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,081.89 จุด ลดลง 49.97 จุด หรือ -0.29% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,796.61 จุด ลดลง 42.03 จุด หรือ -0.87% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,003.69 จุด ลดลง 13.77 จุด หรือ -0.68%
ดัชนีดาวโจนส์อ่อนแรงลงตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจจะฉุดรั้งเศรษฐกิจทั่วโลกให้ถดถอยลงด้วย โดยความกังวลในเรื่องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากสำนักงานศุลกากรของจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า การส่งออกของจีนในเดือนก.ย.ลดลง 1.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 1.3 ล้านล้านหยวน หลังจากที่ร่วงลง 6.1% ในเดือนส.ค. ขณะที่การนำเข้าเดือนก.ย.ร่วงลง 17.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 9.24 แสนล้านหยวน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงกว่าเดือนส.ค.ที่ลดลง 14.3%
การร่วงลงอย่างหนักของยอดการนำเข้าส่งผลให้จีนมียอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 96.1% สู่ระดับ 3.762 แสนล้านหยวน (5.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากระดับ 3.68 แสนล้านหยวนในเดือนส.ค.
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความไม่นอนนอนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยล่าสุด นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ส่งสัญญาณว่า ขณะนี้เป็นเวลาเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งขัดแย้งกับที่
นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า เฟดไม่ควรรีบเร่งในกระบวนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนยังคงระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่บริษัทรายใหญ่ของสหรัฐจะเปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ในสัปดาห์นี้ รวมถึงโกลด์แมน แซคส์, แบงก์ ออฟ อเมริกัน, ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก และซิตี้กรุ๊ป
ด้านเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดเผยผลประกอบการเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยระบุว่า กำไรในไตรมาส 3 ปรับตัวขึ้น 22% เนื่องจากบริษัทได้ปรับลดการใช้จ่ายและได้รับประโยชน์ด้านภาษีมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นเจพีมอร์แกนปิดตลาดขยับลง 0.7%
หุ้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพร่วงลง โดยหุ้นเซลจีน และหุ้นไบโอเจน ร่วงลง 3.3% ขณะที่เรเจเนรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ ดิ่งลง 3.6% ส่วนหุ้นจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ปรับลง 0.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่น้อยกว่าคาด
นักลงทุนจับตาดูรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย., ยอดค้าปลีกเดือนก.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค.
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์-COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 90 เซนต์ หรือ 0.08% ปิดที่ 1,165.40 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มแผ่วลง ทั้งนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์จะช่วยให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลดอลลาร์ มีราคาถูกลง และน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันโลกจะยังคงประสบกับภาวะน้ำมันล้นตลาดจนถึงปีหน้า
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 44 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 46.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 62 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 49.24 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงหลังจาก IEA คาดการณ์ว่า ตลาดน้ำมันโลกจะยังคงประสบกับภาวะน้ำมันล้นตลาดในปีหน้า แม้ว่าประเทศนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะปรับลดการผลิตลง เพื่อรองรับกับราคาน้ำมันที่ร่วงลง
นอกจากนี้ IEA คาดว่า ความต้องการน้ำมันจะชะลอตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอ่อนแรง ขณะที่การกลับมาส่งออกน้ำมันของอิหร่าน หลังจากที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรแล้วนั้น อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้อุปทานน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นอีก
ข้อมูลดังกล่าวของ IEA ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากที่ตลาดถูกกดดันอยู่ก่อนแล้ว จากข้อมูลที่ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในช่วงเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 109,000 บาร์เรล สู่ระดับเฉลี่ย 31.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากทางการจีนเปิดเผยตัวเลขการค้าที่ซบเซา รวมถึงยอดการนำเข้าที่ร่วงลงอย่างหนักในเดือนก.ย. ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,081.89 จุด ลดลง 49.97 จุด หรือ -0.29% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,796.61 จุด ลดลง 42.03 จุด หรือ -0.87% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,003.69 จุด ลดลง 13.77 จุด หรือ -0.68%
ดัชนีดาวโจนส์อ่อนแรงลงตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจจะฉุดรั้งเศรษฐกิจทั่วโลกให้ถดถอยลงด้วย โดยความกังวลในเรื่องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากสำนักงานศุลกากรของจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า การส่งออกของจีนในเดือนก.ย.ลดลง 1.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 1.3 ล้านล้านหยวน หลังจากที่ร่วงลง 6.1% ในเดือนส.ค. ขณะที่การนำเข้าเดือนก.ย.ร่วงลง 17.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 9.24 แสนล้านหยวน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงกว่าเดือนส.ค.ที่ลดลง 14.3%
การร่วงลงอย่างหนักของยอดการนำเข้าส่งผลให้จีนมียอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 96.1% สู่ระดับ 3.762 แสนล้านหยวน (5.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากระดับ 3.68 แสนล้านหยวนในเดือนส.ค.
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความไม่นอนนอนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยล่าสุด นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ส่งสัญญาณว่า ขณะนี้เป็นเวลาเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งขัดแย้งกับที่
นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า เฟดไม่ควรรีบเร่งในกระบวนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนยังคงระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่บริษัทรายใหญ่ของสหรัฐจะเปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ในสัปดาห์นี้ รวมถึงโกลด์แมน แซคส์, แบงก์ ออฟ อเมริกัน, ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก และซิตี้กรุ๊ป
ด้านเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดเผยผลประกอบการเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยระบุว่า กำไรในไตรมาส 3 ปรับตัวขึ้น 22% เนื่องจากบริษัทได้ปรับลดการใช้จ่ายและได้รับประโยชน์ด้านภาษีมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นเจพีมอร์แกนปิดตลาดขยับลง 0.7%
หุ้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพร่วงลง โดยหุ้นเซลจีน และหุ้นไบโอเจน ร่วงลง 3.3% ขณะที่เรเจเนรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ ดิ่งลง 3.6% ส่วนหุ้นจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ปรับลง 0.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่น้อยกว่าคาด
นักลงทุนจับตาดูรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย., ยอดค้าปลีกเดือนก.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค.