นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีกระทรวงคมนาคม จะเสนอแผนแก้ไขปัญหาคลองแสนแสบ เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการน้ำเสียในแม่น้ำลำคลองสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในส่วนของ กทม.ได้รับมอบหมายให้ฟื้นฟูคลอง ซึ่งได้ศึกษาแนวทางต่างๆ ไว้แล้ว โดยเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาและขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากรัฐบาล ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ซึ่งมี 11 โครงการ รวมงบประมาณกว่า 6,812 ล้านบาท ได้แก่ 1.งานฟื้นฟูสภาพน้ำคลองแสนแสบ 2.งานฟื้นฟูสภาพน้ำคลองบางเตย 3.งานฟื้นฟูสภาพน้ำชุมชนคลองเป้ง 4.งานจ้างตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ 5.โครงการสร้างการรับรู้ความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองแสนแสบ 6.งานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมริมคลองแสนแสบ 7.โครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) พร้อมระบบรวบรวมน้ำเสียคลองแสนแสบ จากบริเวณประตูระบายน้ำมีนบุรี ถึงประตูระบายน้ำหนองจอก 8.โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองแสนแสบจากสะพานผ่านฟ้าถึงประตูระบายน้ำคลองตัน 9.โครงการปรับปรุงเขื่อน ค.ส.ล. บริเวณประตูระบายน้ำคลองตันถึงถนนวงแหวนตะวันออก 10.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ จากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวถึงซอยลาดพร้าว 130 11.โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือคลองแสนแสบส่วนต่อขยายจำนวน 14 ท่า
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กทม.ได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบเป็นประจำ ซึ่งในช่วงฤดูฝนคุณภาพน้ำอาจจะค่อนข้างเสีย โดยเฉพาะในเส้นทางที่ผ่านเมือง เนื่องจาก กทม.ต้องพร่องน้ำเพื่อรองรับน้ำฝน จึงไม่ค่อยมีน้ำไหลเวียนในระบบ ประกอบกับมีน้ำทิ้งจากบ้านเรือนประชาชน ทำให้บางจุดมีค่าออกซิเจนในน้ำเป็นศูนย์ คือสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้ดังนั้นในการฟื้นฟูจะเน้นการบำบัดก่อนทิ้งลงคลอง เป็นต้น
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กทม.ได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบเป็นประจำ ซึ่งในช่วงฤดูฝนคุณภาพน้ำอาจจะค่อนข้างเสีย โดยเฉพาะในเส้นทางที่ผ่านเมือง เนื่องจาก กทม.ต้องพร่องน้ำเพื่อรองรับน้ำฝน จึงไม่ค่อยมีน้ำไหลเวียนในระบบ ประกอบกับมีน้ำทิ้งจากบ้านเรือนประชาชน ทำให้บางจุดมีค่าออกซิเจนในน้ำเป็นศูนย์ คือสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้ดังนั้นในการฟื้นฟูจะเน้นการบำบัดก่อนทิ้งลงคลอง เป็นต้น