นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้ออกหนังสือเชิญตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ได้รับโควตากับสำนักงานสลากรายใหญ่จำนวน 3 ราย เพื่อให้เข้ามาชี้แจงงบการเงินและแสดงหลักฐานการเสียภาษีต่อกรมสรรพากรโดยมีระยะเวลาให้เข้ามาชี้แจงภายใน 7วัน
สำหรับรายชื่อตัวแทนจำหน่ายสลากรายใหญ่ (ยี่ปั๊ว) ทั้ง 3รายนั้นทางกรมสรรพากรไม่ได้ทำการคัดเลือกแต่เป็นรายชื่อที่สำนักงานสลากจัดส่งมาให้ และกรมมีหน้าที่ตรวจสอบการเสียภาษีว่ามีความถูกต้องหรือไม่ โดยจะดูจากรายได้ของกลุ่มยี่ปั๊วเหล่านี้ว่ามีโควตาสลากจำนวนเท่าไหร่ ได้ส่วนลดเป็นเงินเท่าไหร่ หากพบว่ามีรายได้มากว่าส่วนลดที่ได้รับ ทำให้มองว่าอาจมีการขายเกินราคาและจะต้องนำรายได้ส่วนเกินจาก 80บาทต่อฉบับมาคำนวณเพื่อเสียภาษีต่อไป
“ทั้ง 3 รายจะต้องนำบัญชี แสดงรายการเข้าออกของเงินที่ผ่านบัญชีธนาคาร หรือเส้นทางการเงินอื่นๆมาแสดง โดยขณะนี้ยังมีเวลามาชี้แจงภายใน 7 วัน ซึ่งผู้ค้าสลากสามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนมาชี้แจงแทนได้”นายประสงค์กล่าว
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร กล่าวว่า สำหรับยี่ปั๊ว 3รายที่สำนักงานสลากฯ ส่งรายชื่อให้กรมสรรพากรตรวจสอบ ประกอบด้วย 1. น.ส.สะเรียง อัศววุฒิพงษ์ 2. บริษัท หยาดน้ำเพ็ชร และ3.บริษัทสลากมหาลาภ ซึ่งล้วนอยู่ในกลุ่ม5 เสือกองสลากทั้งสิ้น โดย ผู้ค้าสลากรายใหญ่จะได้โควตาประมาณ 1.6ล้านฉบับ ส่วนใหญ่มักจะลงบัญชีถูกต้อง จึงต้องเน้นการสอบไปที่ทรัพย์สินอื่นที่ไม่อยู่ในงบการเงิน เช่น อสังหาริมทรัพย์และอื่นๆ
ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่ามูลนิธิ สมาคมทุกแห่งที่ได้รับโควตาไปรายละไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านฉบับต่องวด บางส่วนไม่มีสมาชิก ไม่ใช่คนขายจริงแต่นำสลากไปขายให้กลุ่มยี่ปั๊วแล้วหักค่าหัวคิว 1.6 บาทต่อคู่ เมื่อยี่ปั๊วนำไปขายต่อ 80 บาทต่อคู่จะได้กำไรฉบับละ 5.6 บาท ซึ่งที่ผ่านมามีการขายสลากอยู่ที่ฉบับละ 100-120 บาท ทำให้กลุ่มยี่ปั๊วหรือเสือนอนกินกลุ่มนี้มีกำไรจำนวนมหาศาล
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย โฆษกสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เผยว่า สำหรับโควตาสลาก 74 ล้านฉบับ ที่จะหมดอายุเดือนธันวาคมนี้ ขณะนี้สำนักงานสลากฯ กำลังพิจารณาว่าจะจัดสรรให้แก่องค์กร นิติบุคคลต่าง ๆ ตามเดิม หรือจะยกเลิกโควตาทั้งหมด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้ รวมทั้งจะเชิญผู้ค้าสลากรายใหญ่หารือ เพื่อตรวจสอบบัญชีการค้าสลากฯ และตรวจสอบภาษีย้อนหลังเพราะไม่ต้องการให้มีกลุ่มบุคคลใดเข้ามาบิดเบือนกลไกราคาสลากฯ ได้อีก
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการเปิดให้จองและซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อจำหน่ายงวดวันที่ 16 ตุลาคมนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน โดยมียอดสั่งซื้อกว่า 1.89 ล้านใบ หรือประมาณ 1,500 คน และมียอดจองกว่า 130,000 เล่ม หรือประมาณ 26 ล้านฉบับ ทำให้การพิมพ์สลากของสำนักงานสลากฯ เต็มกำลังการผลิตที่ 100 ล้านฉบับ จากปัจจุบันจัดพิมพ์ 74 ล้านฉบับ
อย่างไรก็ตามจากที่ประชาชนสนใจจองซื้อสลากฯ จำนวนมากและพบว่าส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 10 เล่ม ดังนั้น ทางสำนักงานสลากฯ จึงปรับเพดานการซื้อและจองสลากชั่วคราว จากกำหนดไม่เกินคนละ 50 เล่ม เป็นไม่เกินคนละ 15 เล่มดังนั้นการปรับเพดานการซื้อและจองดังกล่าวจะทำให้ผู้ต้องการค้าสลากจริงเข้าถึงสลากมากขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่งวดวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้และจะเปิดระบบให้จองและซื้อสลากตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคมนี้
“ปัญหาการจองสลากฯ รายย่อย มีปัญหาเล็กน้อยคือบุคคลที่จองผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยอาจผิดหวัง เพราะจองช้ากว่าทางเอทีเอ็มและทางอินเทอร์เน็ตเล็กน้อย แต่เป็นการกระจายการจองที่ได้ผลดีที่สุดเพราะหากจองผ่านสาขาจะมีปัญหาถูกข้อครหาว่าอาจจะใช้เส้นสายจองล่วงหน้า ดังนั้น ต้องรบกวนทางผู้จองให้ลูกหลานจองผ่านเน็ต ผ่านมือถือ และเอทีเอ็มดีที่สุด” นายธนวรรธน์ กล่าว
สำหรับรายชื่อตัวแทนจำหน่ายสลากรายใหญ่ (ยี่ปั๊ว) ทั้ง 3รายนั้นทางกรมสรรพากรไม่ได้ทำการคัดเลือกแต่เป็นรายชื่อที่สำนักงานสลากจัดส่งมาให้ และกรมมีหน้าที่ตรวจสอบการเสียภาษีว่ามีความถูกต้องหรือไม่ โดยจะดูจากรายได้ของกลุ่มยี่ปั๊วเหล่านี้ว่ามีโควตาสลากจำนวนเท่าไหร่ ได้ส่วนลดเป็นเงินเท่าไหร่ หากพบว่ามีรายได้มากว่าส่วนลดที่ได้รับ ทำให้มองว่าอาจมีการขายเกินราคาและจะต้องนำรายได้ส่วนเกินจาก 80บาทต่อฉบับมาคำนวณเพื่อเสียภาษีต่อไป
“ทั้ง 3 รายจะต้องนำบัญชี แสดงรายการเข้าออกของเงินที่ผ่านบัญชีธนาคาร หรือเส้นทางการเงินอื่นๆมาแสดง โดยขณะนี้ยังมีเวลามาชี้แจงภายใน 7 วัน ซึ่งผู้ค้าสลากสามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนมาชี้แจงแทนได้”นายประสงค์กล่าว
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร กล่าวว่า สำหรับยี่ปั๊ว 3รายที่สำนักงานสลากฯ ส่งรายชื่อให้กรมสรรพากรตรวจสอบ ประกอบด้วย 1. น.ส.สะเรียง อัศววุฒิพงษ์ 2. บริษัท หยาดน้ำเพ็ชร และ3.บริษัทสลากมหาลาภ ซึ่งล้วนอยู่ในกลุ่ม5 เสือกองสลากทั้งสิ้น โดย ผู้ค้าสลากรายใหญ่จะได้โควตาประมาณ 1.6ล้านฉบับ ส่วนใหญ่มักจะลงบัญชีถูกต้อง จึงต้องเน้นการสอบไปที่ทรัพย์สินอื่นที่ไม่อยู่ในงบการเงิน เช่น อสังหาริมทรัพย์และอื่นๆ
ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่ามูลนิธิ สมาคมทุกแห่งที่ได้รับโควตาไปรายละไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านฉบับต่องวด บางส่วนไม่มีสมาชิก ไม่ใช่คนขายจริงแต่นำสลากไปขายให้กลุ่มยี่ปั๊วแล้วหักค่าหัวคิว 1.6 บาทต่อคู่ เมื่อยี่ปั๊วนำไปขายต่อ 80 บาทต่อคู่จะได้กำไรฉบับละ 5.6 บาท ซึ่งที่ผ่านมามีการขายสลากอยู่ที่ฉบับละ 100-120 บาท ทำให้กลุ่มยี่ปั๊วหรือเสือนอนกินกลุ่มนี้มีกำไรจำนวนมหาศาล
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย โฆษกสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เผยว่า สำหรับโควตาสลาก 74 ล้านฉบับ ที่จะหมดอายุเดือนธันวาคมนี้ ขณะนี้สำนักงานสลากฯ กำลังพิจารณาว่าจะจัดสรรให้แก่องค์กร นิติบุคคลต่าง ๆ ตามเดิม หรือจะยกเลิกโควตาทั้งหมด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้ รวมทั้งจะเชิญผู้ค้าสลากรายใหญ่หารือ เพื่อตรวจสอบบัญชีการค้าสลากฯ และตรวจสอบภาษีย้อนหลังเพราะไม่ต้องการให้มีกลุ่มบุคคลใดเข้ามาบิดเบือนกลไกราคาสลากฯ ได้อีก
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการเปิดให้จองและซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อจำหน่ายงวดวันที่ 16 ตุลาคมนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน โดยมียอดสั่งซื้อกว่า 1.89 ล้านใบ หรือประมาณ 1,500 คน และมียอดจองกว่า 130,000 เล่ม หรือประมาณ 26 ล้านฉบับ ทำให้การพิมพ์สลากของสำนักงานสลากฯ เต็มกำลังการผลิตที่ 100 ล้านฉบับ จากปัจจุบันจัดพิมพ์ 74 ล้านฉบับ
อย่างไรก็ตามจากที่ประชาชนสนใจจองซื้อสลากฯ จำนวนมากและพบว่าส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 10 เล่ม ดังนั้น ทางสำนักงานสลากฯ จึงปรับเพดานการซื้อและจองสลากชั่วคราว จากกำหนดไม่เกินคนละ 50 เล่ม เป็นไม่เกินคนละ 15 เล่มดังนั้นการปรับเพดานการซื้อและจองดังกล่าวจะทำให้ผู้ต้องการค้าสลากจริงเข้าถึงสลากมากขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่งวดวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้และจะเปิดระบบให้จองและซื้อสลากตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคมนี้
“ปัญหาการจองสลากฯ รายย่อย มีปัญหาเล็กน้อยคือบุคคลที่จองผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยอาจผิดหวัง เพราะจองช้ากว่าทางเอทีเอ็มและทางอินเทอร์เน็ตเล็กน้อย แต่เป็นการกระจายการจองที่ได้ผลดีที่สุดเพราะหากจองผ่านสาขาจะมีปัญหาถูกข้อครหาว่าอาจจะใช้เส้นสายจองล่วงหน้า ดังนั้น ต้องรบกวนทางผู้จองให้ลูกหลานจองผ่านเน็ต ผ่านมือถือ และเอทีเอ็มดีที่สุด” นายธนวรรธน์ กล่าว