ธนาคารโลกลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของพวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยระบุว่าเป็นผลพวงจากการชะลอตัวของจีน ถึงแม้เชื่อว่าเศรษฐกิจแดนมังกรจะไม่มีการดิ่งลงรุนแรง อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่ง เวิลด์แบงก์เตือนด้วยว่า แนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะขยับขึ้นดอกเบี้ย ยังอาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงในตลาด และฉุดค่าเงินในภูมิภาคนี้ให้อ่อนยวบลงอีก
ธนาคารโลกถือเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งล่าสุด ที่ปรับลดตัวเลขพยากรณ์แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียลง โดยเมื่อเดือนที่แล้ว ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า การชะลอตัวในจีนอาจฉุดให้เศรษฐกิจของพวกประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้วูบลงอยู่ที่ 5.8% ในปีปัจจุบัน ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ฟันธงเช่นกันว่า การเติบโตลดลงในแดนมังกรจะส่งผลคุกคามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
สำหรับรายงานอัปเดตการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ 14 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ที่เวิลด์แบงก์นำออกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (5 ต.ค.) ได้กล่าวเรียกร้องให้ประเทศเหล่านี้บรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการขึ้นดอกเบี้ยของฟด ด้วยการจัดการเศรษฐกิจมหภาคอย่างรอบคอบ
รายงานยังลดกระแสความกังวลเกี่ยวกับการทรุดตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยการแจกแจงว่า เส้นฐานการคาดการณ์การเติบโตของจีนบ่งชี้การชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปี 2016-2017 ขณะเดียวกันปักกิ่งก็มีนโยบายที่เพียงพอในการจัดการความเสี่ยงและป้องกันเศรษฐกิจทรุดตัวอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ เวิลด์แบงก์คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปีนี้จะอยู่ที่ 6.9% ก่อนขยับลงเหลือ 6.7% และ 6.5% ในปี 2016 และ 2017 เทียบกับที่ขยายตัวได้ 7.3% ในปี 2014
การคาดการณ์นี้ลดลงเล็กน้อยจากรายงานฉบับก่อนซึ่งเผยแพร่ในเดือนเมษายน
สำหรับพวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกยกเว้นจีน รายงานฉบับนี้ของธนาคารโลกคาดหมายว่า อัตราเติบโตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6.5% ในปีนี้ และ 6.4% และ 6.3% ในปีหน้าและปีถัดไป ลดลงจากอัตราขยายตัวเมื่อปีที่แล้วที่ทำได้ 6.8% ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนผลกระทบจากการชะลอตัวในจีน
ธนาคารโลกถือเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งล่าสุด ที่ปรับลดตัวเลขพยากรณ์แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียลง โดยเมื่อเดือนที่แล้ว ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า การชะลอตัวในจีนอาจฉุดให้เศรษฐกิจของพวกประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้วูบลงอยู่ที่ 5.8% ในปีปัจจุบัน ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ฟันธงเช่นกันว่า การเติบโตลดลงในแดนมังกรจะส่งผลคุกคามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
สำหรับรายงานอัปเดตการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ 14 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ที่เวิลด์แบงก์นำออกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (5 ต.ค.) ได้กล่าวเรียกร้องให้ประเทศเหล่านี้บรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการขึ้นดอกเบี้ยของฟด ด้วยการจัดการเศรษฐกิจมหภาคอย่างรอบคอบ
รายงานยังลดกระแสความกังวลเกี่ยวกับการทรุดตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยการแจกแจงว่า เส้นฐานการคาดการณ์การเติบโตของจีนบ่งชี้การชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปี 2016-2017 ขณะเดียวกันปักกิ่งก็มีนโยบายที่เพียงพอในการจัดการความเสี่ยงและป้องกันเศรษฐกิจทรุดตัวอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ เวิลด์แบงก์คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปีนี้จะอยู่ที่ 6.9% ก่อนขยับลงเหลือ 6.7% และ 6.5% ในปี 2016 และ 2017 เทียบกับที่ขยายตัวได้ 7.3% ในปี 2014
การคาดการณ์นี้ลดลงเล็กน้อยจากรายงานฉบับก่อนซึ่งเผยแพร่ในเดือนเมษายน
สำหรับพวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกยกเว้นจีน รายงานฉบับนี้ของธนาคารโลกคาดหมายว่า อัตราเติบโตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6.5% ในปีนี้ และ 6.4% และ 6.3% ในปีหน้าและปีถัดไป ลดลงจากอัตราขยายตัวเมื่อปีที่แล้วที่ทำได้ 6.8% ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนผลกระทบจากการชะลอตัวในจีน