พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) ดูแลงานจราจร เปิดเผยว่า จากกรณีที่ผู้รับเหมมารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนเหนือหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตได้มีการปิดกั้นพื้นผิวการจราจรเพื่อเตรียมการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาต และเสนอแผนจัดการจราจรนั้น ทางบริษัทผู้รับเหมาได้มาหารือกับทางบช.น.แล้ว ซึ่งตนได้กำชับให้ทางเสนอแผนจัดการจราจรการเบี่ยงเส้นทางและปิดกั้นผิวการจราจรและส่งมยังบช.น.ภายในวันที่ 27 ส.ค.นี้ และวันที่ 2 ก.ย.2558 ก็จะมีการประชุมพิจารณาอนุมัติแผนอีกครั้ง ซึ่งในการดำเนินการจะต้องได้รับอนุมัติใช้ผิวจราจรก่อสร้างจากบช.น. และจะต้องออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทุกจุด เพื่อความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เส้นทาง ซึ่งทางสน.พื้นที่จะต้องรวบรวมและส่งเรื่องมายังคณะกรรมการพิจาณาออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร โดยในการออกข้อบังคับจะกำหนดชัดเจนว่า จะใช้พื้นที่ก่อสร้างเท่าไร มีการเบี่ยงารจราจรปิดถนนถึงวันที่เท่าไร อย่างไรก็ตามคาดว่า ภายหลังจากที่เสนอแผนไปแล้วจะใช้เวลาพิจารณาออกข้อบังคับประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะต้องใช้เวลาในการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน ผู้รับเหมาจึงจะสามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้
สำหรับการรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรฯนั้น จะต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิม (29 ส.ค. 2558) ก่อน เพราะจะต้องมีการวิเคราะห์สภาพการจราจรในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้นบช.น.จะอนุญาตให้ผู้รับเหมาดำเนินการในช่วงเวลาปิดเทอม เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร
ด้านพ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร (รองผบก.จร.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ตนสั่งให้ยกแท่งแบริเออร์ออกไปแล้วนั้น ปรากฎว่าผู้รับเหมาขอเวลาในการดำเนินการโดยจะยกแท่งแบริเออร์ออกจากบริเวณหน้ากองพันทหารราบที่ 11 ส่วนอีก 2 จุด คือบริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญและแยกคปอ.-โรงเรียนนายเรืออากาศนั้น ไม่สามารถยกแท่งแบริเออร์ออกได้ เนื่องจากได้มีการขุดเจาะถนนไปแล้ว
ดังนั้นตนจึงได้สั่งสน.ในพื้นที่ดำเนินการจับปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเข้ามาเสนอแผนจัดการจราจรและบช.น.อนุมัติแผนเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้ประสานยังไปยังผู้รับเหมาให้ขยับแท่งแบริเออร์เข้าไปชิดเกาะกลางถนน และขอบทางเท้าอีก เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจร
อย่างไรก็ตามตนจะมีการออกหนังสือไปยังสน.พื้นที่ที่มีการดำเนินการก่อสร้างบนผิวการจราจรทั่วกรุงเทพฯว่า ได้เสนอแผนการจัดการจราจรมายังบช.น.และได้รับอนุญาตตามขั้นตอนแล้วหรือไม่ ซึ่งหากสำรวจแล้วพบว่าไม่ได้มีการขออนุญาตให้ถูกต้อง ทางเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที โดยให้คืนผิวจราจรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ต้องปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับเหมาจะเสนอแผนเข้ามา เพื่อให้เจ้าหน้าที่อนุมัติแผนการจราจรให้ถูกต้อง
สำหรับการรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรฯนั้น จะต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิม (29 ส.ค. 2558) ก่อน เพราะจะต้องมีการวิเคราะห์สภาพการจราจรในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้นบช.น.จะอนุญาตให้ผู้รับเหมาดำเนินการในช่วงเวลาปิดเทอม เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร
ด้านพ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร (รองผบก.จร.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ตนสั่งให้ยกแท่งแบริเออร์ออกไปแล้วนั้น ปรากฎว่าผู้รับเหมาขอเวลาในการดำเนินการโดยจะยกแท่งแบริเออร์ออกจากบริเวณหน้ากองพันทหารราบที่ 11 ส่วนอีก 2 จุด คือบริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญและแยกคปอ.-โรงเรียนนายเรืออากาศนั้น ไม่สามารถยกแท่งแบริเออร์ออกได้ เนื่องจากได้มีการขุดเจาะถนนไปแล้ว
ดังนั้นตนจึงได้สั่งสน.ในพื้นที่ดำเนินการจับปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเข้ามาเสนอแผนจัดการจราจรและบช.น.อนุมัติแผนเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้ประสานยังไปยังผู้รับเหมาให้ขยับแท่งแบริเออร์เข้าไปชิดเกาะกลางถนน และขอบทางเท้าอีก เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจร
อย่างไรก็ตามตนจะมีการออกหนังสือไปยังสน.พื้นที่ที่มีการดำเนินการก่อสร้างบนผิวการจราจรทั่วกรุงเทพฯว่า ได้เสนอแผนการจัดการจราจรมายังบช.น.และได้รับอนุญาตตามขั้นตอนแล้วหรือไม่ ซึ่งหากสำรวจแล้วพบว่าไม่ได้มีการขออนุญาตให้ถูกต้อง ทางเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที โดยให้คืนผิวจราจรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ต้องปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับเหมาจะเสนอแผนเข้ามา เพื่อให้เจ้าหน้าที่อนุมัติแผนการจราจรให้ถูกต้อง