พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 ว่าด้วยภาษีการรับให้ ในกรณีที่โอนทรัพย์สมบัติก่อนผู้ให้เสียชีวิต ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือในเดือนมกราคม 2559
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า กฎหมายเรียกเก็บภาษีจากการรับมรดกและการยกให้โดยเสน่หา ถือเป็นกฎหมายประวัติศาสตร์ที่นานาอารยประเทศมีใช้กัน สำหรับประเทศไทยมีความพยายามผลักดันมายาวนานแต่ไม่สามารถเป็นผลได้จริง เพิ่งจะมาสำเร็จในรัฐบาลนี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเจตนาที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ในช่วงที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกฎหมายเก็บภาษีมรดกถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากฉบับหนึ่ง เพราะจะเป็นการจูงใจให้กลุ่มผู้มีฐานะดีบริจาคเงินเพื่อองค์กรการกุศลและสาธารณะประโยชน์มากขึ้น ลดการสะสมทรัพย์เพื่อเป็นมรดก
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเปิดโอกาสและสนับสนุนให้รุ่นลูกหลานได้แสดงความสามารถในการทำงานสร้างฐานะของตนเองมากกว่ารอรับมรดกเพียงด้านเดียว ขณะเดียวกันเชื่อว่า การเรียกเก็บภาษีมรดกจะช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจในสังคมได้ รวมทั้งจะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเป็นงบประมาณเพื่อพัฒนาประเทศ
ทั้งนี้ ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับมรดกต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 10 แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบสันดาน จะเสียในอัตราร้อยละ 5 นอกจากนี้ ยังประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการรับให้ควบคู่กัน เพื่ออุดช่องว่างกรณีการให้โดยเสน่หา ที่ปัจจุบันไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิต จะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้ ซึ่งต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 แต่หากเป็นกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดาน กำหนดให้จ่ายภาษีส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้รับมรดกจะต้องยื่นสำแดงภาษีภายใน 150 วัน หลังจากที่รับมรดก ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมี 5 ประเภท ได้แก่ บ้านและที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้นและหุ้นกู้ รถยนต์ และทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า กฎหมายเรียกเก็บภาษีจากการรับมรดกและการยกให้โดยเสน่หา ถือเป็นกฎหมายประวัติศาสตร์ที่นานาอารยประเทศมีใช้กัน สำหรับประเทศไทยมีความพยายามผลักดันมายาวนานแต่ไม่สามารถเป็นผลได้จริง เพิ่งจะมาสำเร็จในรัฐบาลนี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเจตนาที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ในช่วงที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกฎหมายเก็บภาษีมรดกถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากฉบับหนึ่ง เพราะจะเป็นการจูงใจให้กลุ่มผู้มีฐานะดีบริจาคเงินเพื่อองค์กรการกุศลและสาธารณะประโยชน์มากขึ้น ลดการสะสมทรัพย์เพื่อเป็นมรดก
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเปิดโอกาสและสนับสนุนให้รุ่นลูกหลานได้แสดงความสามารถในการทำงานสร้างฐานะของตนเองมากกว่ารอรับมรดกเพียงด้านเดียว ขณะเดียวกันเชื่อว่า การเรียกเก็บภาษีมรดกจะช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจในสังคมได้ รวมทั้งจะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเป็นงบประมาณเพื่อพัฒนาประเทศ
ทั้งนี้ ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับมรดกต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 10 แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบสันดาน จะเสียในอัตราร้อยละ 5 นอกจากนี้ ยังประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการรับให้ควบคู่กัน เพื่ออุดช่องว่างกรณีการให้โดยเสน่หา ที่ปัจจุบันไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิต จะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้ ซึ่งต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 แต่หากเป็นกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดาน กำหนดให้จ่ายภาษีส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้รับมรดกจะต้องยื่นสำแดงภาษีภายใน 150 วัน หลังจากที่รับมรดก ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมี 5 ประเภท ได้แก่ บ้านและที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้นและหุ้นกู้ รถยนต์ และทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา