การประชุสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (6 ส.ค.) มีนายพีรศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช.คนที่ 2 เป็นประธาน ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ … ในวาระที่ 1 โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่าปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ อีเอ็ม (EM : Electronic Monitoring) มาใช้ในการบังคับตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงสมควรให้นำไปใช้ในการติดตามตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เนื่องจากผู้ต้องหาหรือจำเลยบางกรณีสมควรได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
นายวิษณุ กล่าวว่า การจะนำอุปกรณ์ไปใช้ จะต้องได้รับการยินยอม 3 เงื่อนไข คือ กฎหมายบัญญัติให้ใช้ เจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นสมควรให้ใช้ และผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมให้ใช้ ซึ่งหากไม่ยอมรับในเงื่อนไขนี้ สามารถดำเนินการตามวิธีการอื่น
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังบัญญัติให้งดการบังคับตามสัญญาประกันหรือลดจำนวเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันอีกด้วย และหากมีการทำลายอุปกรณ์หรือทำให้ใช้การไม่ได้ ให้สันนิษฐานว่าผู้ปล่อยตัวชั่วคราวหลบหนีหรือจะหลบหนี จากนั้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือศาลควบคุมตัว หรือกรณีที่อุปกรณ์ชำรุดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยรีบรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่หรือศาล
นายวิษณุ กล่าวว่า ปัจจุบันกรมควบคุมการประพฤติใช้อุปกรณ์ดังกล่าวแล้วกว่า 3,000 เครื่อง จึงเห็นควรนำมาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลย เพราะจะทำให้การติดตามตัวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันได้สิทธิปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้น จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 108 วรรคสาม และเพิ่มมาตรา 117 วรรสอง เพื่อบัญญัติหลักเกณฑ์เหล่านี้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ทั้งนี้ สนช.อภิปรายสนับสนุนการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวและ มีมติรับหลักการในวาระแรก ด้วยคะแนน 170 ต่อ 1 คะแนน และงดออกเสียง 5 เสียง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คนพิจารณาแปรญัตติภายใน 7 วัน และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
นายวิษณุ กล่าวว่า การจะนำอุปกรณ์ไปใช้ จะต้องได้รับการยินยอม 3 เงื่อนไข คือ กฎหมายบัญญัติให้ใช้ เจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นสมควรให้ใช้ และผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมให้ใช้ ซึ่งหากไม่ยอมรับในเงื่อนไขนี้ สามารถดำเนินการตามวิธีการอื่น
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังบัญญัติให้งดการบังคับตามสัญญาประกันหรือลดจำนวเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันอีกด้วย และหากมีการทำลายอุปกรณ์หรือทำให้ใช้การไม่ได้ ให้สันนิษฐานว่าผู้ปล่อยตัวชั่วคราวหลบหนีหรือจะหลบหนี จากนั้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือศาลควบคุมตัว หรือกรณีที่อุปกรณ์ชำรุดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยรีบรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่หรือศาล
นายวิษณุ กล่าวว่า ปัจจุบันกรมควบคุมการประพฤติใช้อุปกรณ์ดังกล่าวแล้วกว่า 3,000 เครื่อง จึงเห็นควรนำมาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลย เพราะจะทำให้การติดตามตัวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันได้สิทธิปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้น จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 108 วรรคสาม และเพิ่มมาตรา 117 วรรสอง เพื่อบัญญัติหลักเกณฑ์เหล่านี้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ทั้งนี้ สนช.อภิปรายสนับสนุนการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวและ มีมติรับหลักการในวาระแรก ด้วยคะแนน 170 ต่อ 1 คะแนน และงดออกเสียง 5 เสียง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คนพิจารณาแปรญัตติภายใน 7 วัน และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน