เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (29ก.ค.) ที่ศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม ถ.หลักเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางรินดา ปฤชาบุตร หรือ หลิน อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาในความผิดฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 116 ทำให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน และ มาตรา 348 ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกตกใจ เนื่องจากโพสต์ข้อความกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โอนเงินไปยังประเทศสิงคโปร์ กว่าหมื่นล้านบาท ได้เดินทางมารายงานตัวต่อศาลทหารกรุงเทพ หลังครบกำหนดผัดสอง 12 วัน ซึ่งก่อนหน้านั้น ทางศาลทหารฯได้อนุญาตให้นางรินดา ประกันตัวได้ในหลักทรัพย์ 1 แสนบาท โดยมีเงื่อนไขว่า ห้ามนางรินดาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ห้ามยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในสังคม หรือทำให้คนฝ่าฝืนกฎหมาย และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ต้องดูว่าทางพนักงานสอบสวนจะยื่นขอฝากขังผัด 3 หรือไม่
นางรินดาให้สัมภาษณ์ก่อนขึ้นศาลทหารฯ ว่าตั้งใจจะมาให้ข้อมูล และชี้แจงต่อศาลทหารฯ ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับที่เคยให้พนักงานสอบสวนไว้ เพราะทุกอย่างคือเรื่องจริง ทั้งนี้ตนยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่ยืนยันไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดความวุ่นวาย และไม่รู้รายละเอียดของข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้จะชี้แจงให้ศาลทหารฯ รับรู้ต่อไป แต่หากจะบอกว่าคนไทยต้องรู้กฎหมายนั้น ตนเชื่อว่าคงไม่มีคนไทยคนไหนจดจำกฎหมายได้ทุกมาตรา ความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่เมื่อผิดพลาดไปแล้ว เราก็พร้อมรับผิดชอบบนหลักการของความยุติธรรม
"ก่อนหน้านั้นเราเข้าใจว่า เรามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็เกิดความหมิ่นเหม่ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงได้เกิดคดีขึ้น จึงต้องมาขึ้นศาล และพร้อมดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ศาลได้ให้ประกันตัวตามสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่กระบวนการตามกฎหมายยังคงมีอยู่ เราก็พร้อมดำเนินการตามนั้น ส่วนความกังวลใจก็มีบ้าง เพราะตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยถูกดำเนินคดี และที่ผ่านมาชีวิตสงบมาก จนมาถูกดำเนินคดีครั้งแรก ที่จนถึงตอนนี้ถอยหลังไม่ได้แล้ว ต้องสู้ต่อไป เหมือนกับชะตาชีวิตกำหนดให้เราโดนแบบนี้" นางรินดา กล่าว
ต่อมาเวลา 13.00 น. นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ จากศูนย์ทนายความเพื่อมนุษยชน ซึ่งเป็นทนายความของ นางรินดา กล่าวภายหลังรับฟังคำสั่งศาลทหารฯว่า ทางเจ้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ได้ยื่นขอฝากขัง นางรินดา เป็นผัดที่ 3 เป็นระยะเวลา 12 วัน โดยให้เหตุผลว่า ยังต้องรอผลการตรวจสอบทะเบียนประวัติอาชญากร รวมทั้งยังทำสำนวนแล้วไม่แล้วเสร็จ ทางศาลทหารฯ จึงได้อนุญาตฝากขังผัด 3 ต่อ แต่ก่อนหน้านี้ นางรินดา ได้ทำเรื่องประกันตัวแล้ว จึงใช้หลักทรัพย์ประกันตัวเดิม 1 แสนบาท ปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามตามเดิม คือ ห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ห้ามยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในสังคม หรือทำให้คนฝ่าฝืนกฎหมาย และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลทหารฯได้นัดรายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ซึ่งในวันดังกล่าว ทางอัยการศาลทหารกรุงเทพ จะดำเนินการยื่นฟ้องด้วย
**เผย"เด็จพี่"มีสิทธิยื่นขออภัยโทษได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ อดีต ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย จะยื่นฏีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ว่า เขาก็มีสิทธิเสนอได้เหมือนทุกคนที่มีสิทธิ โดยต้องยื่นผ่านมาทางกรมราชทัณฑ์ และต่อส่งต่อมาที่ กระทรวงยุติธรรม เพื่อทำความเห็นเสนอไปยังสำนักพระราชวัง
"ทุกคนมีสิทธิยื่นขอได้ทั้งนั้น บางครั้งไม่ได้ติดคุก มีแค่โทษปรับ ยังขอพระราชทานอภัยโทษเลย และไม่จำเป็นต้องรับโทษให้ถึง 60 วันก่อน อย่างกรณีนี้ กว่าคุณพร้อมพงศ์ จะลงมือเขียนฎีกาก็รับโทษไปหลายวันแล้ว" รองนายกฯ กล่าว
ส่วนที่ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ออกมาระบุว่า คิดว่านายพร้อมพงศ์ จะได้รับการรอลงอาญาก่อนนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าแบบนั้นเป็นการไปวิจารณ์ศาลแล้ว ตนพูดไม่ได้
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง การใช้ ม. 44 ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการกับเด็กแว้น ซึ่งมีการต่อต้านจากกลุ่มวัยรุ่น และจะยื่นคัดค้านว่า หากใครที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถยื่นได้ทั้งนั้น แต่เขาจะแก้ให้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
" เรื่องนี้ผมยอมรับเลยว่า กฎหมายปกติเอาไม่อยู่ เพราะหากเรียกว่า อบรมและปล่อยตัวไป เดี๋ยวเขาก็กลับมาทำผิดใหม่ แล้วจะทำอย่างไรต่อ ก็เรียกมาตักเตือนอีก งั้นหรือ เรียกกันไปมาอยู่อย่างนี้ สุดท้ายคนเรียกก็เหนื่อย แต่ครั้งนี้เขาต้องการให้จัดการได้อย่างเด็ดขาด มีการเรียกพ่อ แม่ มาตักเตือนด้วยว่าต้องคอยอบรมสั่งสอนลูกด้วย ทั้งที่ความจริงพ่อ แม่ ก็สั่งสอนนั่นแหล่ะ แต่ลูกไม่ฟัง "นายวิษณุ กล่าว
นางรินดาให้สัมภาษณ์ก่อนขึ้นศาลทหารฯ ว่าตั้งใจจะมาให้ข้อมูล และชี้แจงต่อศาลทหารฯ ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับที่เคยให้พนักงานสอบสวนไว้ เพราะทุกอย่างคือเรื่องจริง ทั้งนี้ตนยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่ยืนยันไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดความวุ่นวาย และไม่รู้รายละเอียดของข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้จะชี้แจงให้ศาลทหารฯ รับรู้ต่อไป แต่หากจะบอกว่าคนไทยต้องรู้กฎหมายนั้น ตนเชื่อว่าคงไม่มีคนไทยคนไหนจดจำกฎหมายได้ทุกมาตรา ความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่เมื่อผิดพลาดไปแล้ว เราก็พร้อมรับผิดชอบบนหลักการของความยุติธรรม
"ก่อนหน้านั้นเราเข้าใจว่า เรามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็เกิดความหมิ่นเหม่ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงได้เกิดคดีขึ้น จึงต้องมาขึ้นศาล และพร้อมดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ศาลได้ให้ประกันตัวตามสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่กระบวนการตามกฎหมายยังคงมีอยู่ เราก็พร้อมดำเนินการตามนั้น ส่วนความกังวลใจก็มีบ้าง เพราะตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยถูกดำเนินคดี และที่ผ่านมาชีวิตสงบมาก จนมาถูกดำเนินคดีครั้งแรก ที่จนถึงตอนนี้ถอยหลังไม่ได้แล้ว ต้องสู้ต่อไป เหมือนกับชะตาชีวิตกำหนดให้เราโดนแบบนี้" นางรินดา กล่าว
ต่อมาเวลา 13.00 น. นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ จากศูนย์ทนายความเพื่อมนุษยชน ซึ่งเป็นทนายความของ นางรินดา กล่าวภายหลังรับฟังคำสั่งศาลทหารฯว่า ทางเจ้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ได้ยื่นขอฝากขัง นางรินดา เป็นผัดที่ 3 เป็นระยะเวลา 12 วัน โดยให้เหตุผลว่า ยังต้องรอผลการตรวจสอบทะเบียนประวัติอาชญากร รวมทั้งยังทำสำนวนแล้วไม่แล้วเสร็จ ทางศาลทหารฯ จึงได้อนุญาตฝากขังผัด 3 ต่อ แต่ก่อนหน้านี้ นางรินดา ได้ทำเรื่องประกันตัวแล้ว จึงใช้หลักทรัพย์ประกันตัวเดิม 1 แสนบาท ปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามตามเดิม คือ ห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ห้ามยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในสังคม หรือทำให้คนฝ่าฝืนกฎหมาย และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลทหารฯได้นัดรายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ซึ่งในวันดังกล่าว ทางอัยการศาลทหารกรุงเทพ จะดำเนินการยื่นฟ้องด้วย
**เผย"เด็จพี่"มีสิทธิยื่นขออภัยโทษได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ อดีต ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย จะยื่นฏีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ว่า เขาก็มีสิทธิเสนอได้เหมือนทุกคนที่มีสิทธิ โดยต้องยื่นผ่านมาทางกรมราชทัณฑ์ และต่อส่งต่อมาที่ กระทรวงยุติธรรม เพื่อทำความเห็นเสนอไปยังสำนักพระราชวัง
"ทุกคนมีสิทธิยื่นขอได้ทั้งนั้น บางครั้งไม่ได้ติดคุก มีแค่โทษปรับ ยังขอพระราชทานอภัยโทษเลย และไม่จำเป็นต้องรับโทษให้ถึง 60 วันก่อน อย่างกรณีนี้ กว่าคุณพร้อมพงศ์ จะลงมือเขียนฎีกาก็รับโทษไปหลายวันแล้ว" รองนายกฯ กล่าว
ส่วนที่ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ออกมาระบุว่า คิดว่านายพร้อมพงศ์ จะได้รับการรอลงอาญาก่อนนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าแบบนั้นเป็นการไปวิจารณ์ศาลแล้ว ตนพูดไม่ได้
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง การใช้ ม. 44 ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการกับเด็กแว้น ซึ่งมีการต่อต้านจากกลุ่มวัยรุ่น และจะยื่นคัดค้านว่า หากใครที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถยื่นได้ทั้งนั้น แต่เขาจะแก้ให้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
" เรื่องนี้ผมยอมรับเลยว่า กฎหมายปกติเอาไม่อยู่ เพราะหากเรียกว่า อบรมและปล่อยตัวไป เดี๋ยวเขาก็กลับมาทำผิดใหม่ แล้วจะทำอย่างไรต่อ ก็เรียกมาตักเตือนอีก งั้นหรือ เรียกกันไปมาอยู่อย่างนี้ สุดท้ายคนเรียกก็เหนื่อย แต่ครั้งนี้เขาต้องการให้จัดการได้อย่างเด็ดขาด มีการเรียกพ่อ แม่ มาตักเตือนด้วยว่าต้องคอยอบรมสั่งสอนลูกด้วย ทั้งที่ความจริงพ่อ แม่ ก็สั่งสอนนั่นแหล่ะ แต่ลูกไม่ฟัง "นายวิษณุ กล่าว