การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ล่าสุด อาจตัดฐานราคาสิ่งปลูกสร้างออกจากกฎหมายดังกล่าว ทำให้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะเหลือเพียงภาษีที่ดิน ซึ่งช่วยลดภาระภาษีที่เจ้าของบ้านและที่ดินต้องจ่ายลง แม้ทำให้รายได้ภาษีภาครัฐลดลงจากที่เคยประเมินไว้ที่ 2 แสนล้านบาท แต่ยังสูงกว่ารายได้ปัจจุบันจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ที่จัดเก็บได้ปีละประมาณ 2 หมื่น 5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ตั้งเป้าจะนำ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาแทนที่ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งยังมีช่องโหว่การจัดเก็บในอัตราต่ำมาก และการยกเว้นภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินตั้งแต่ 50 ตารางวา - 5 ไร่ รวมทั้งโครงสร้างภาษีที่มีลักษณะถดถอย คือ ราคาที่ดินต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อไร่ จ่ายภาษีเฉลี่ยร้อยละ 0.50 ส่วนที่เกินกว่า 3 หมื่นบาทต่อไร่ จ่ายลดลงเหลือร้อยละ 0.25
สำหรับอัตราภาษีในร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้กำหนดอัตราเพดานภาษีไว้ 3 ประเภทคือ ที่ดินเพื่อการเกษตร อัตรา 0.25% ของราคาประเมิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย ในอัตรา 0.50% และอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น อาคารพาณิชย์ หรือที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควร ในอัตรา 2%
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังยืนยันว่า อัตราภาษีที่จะเก็บจริงจะไม่สูงเท่าอัตราตามเพดาน แต่จะต่ำกว่าอัตราตามเพดานมาก โดย รมว.คลัง เคยเสนอว่าให้เก็บที่ดินเพื่อการเกษตรในอัตรา 0.05% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0.1% และเชิงพาณิชย์ 0.2%
นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนวทางการลดหย่อนภาระภาษี เช่น การกำหนดให้บ้านและที่ดิน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านบาท จ่ายในอัตรา 25% ของภาระภาษี ซึ่งหากภาษีบ้านและที่ดินอยู่ในอัตรา 0.1% เท่ากับว่าภาระภาษีจะอยู่ที่ 1 พันบาทของมูลค่าบ้านและที่ดิน 1 ล้านบาท เมื่อจ่ายเพียง 25% เท่ากับจ่ายภาษีเพียง 250 บาท ต่อ 1 ล้านบาท
ส่วนบ้านและที่ดิน ที่มีราคามากกว่า 2 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 4 ล้านบาท จ่ายภาษีในอัตรา 50% ของภาระที่ต้องจ่าย เท่ากับว่าจ่ายภาษี 500 บาทต่อมูลค่าบ้านและที่ดิน 1 ล้านบาท และราคาบ้านและที่ดินเกินกว่า 4 ล้านบาท ให้จ่ายเต็ม 100% ของภาระภาษี ส่วนที่ดินเพื่อการเกษตรจะยกเว้นภาษีให้สำหรับที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ตั้งเป้าจะนำ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาแทนที่ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งยังมีช่องโหว่การจัดเก็บในอัตราต่ำมาก และการยกเว้นภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินตั้งแต่ 50 ตารางวา - 5 ไร่ รวมทั้งโครงสร้างภาษีที่มีลักษณะถดถอย คือ ราคาที่ดินต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อไร่ จ่ายภาษีเฉลี่ยร้อยละ 0.50 ส่วนที่เกินกว่า 3 หมื่นบาทต่อไร่ จ่ายลดลงเหลือร้อยละ 0.25
สำหรับอัตราภาษีในร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้กำหนดอัตราเพดานภาษีไว้ 3 ประเภทคือ ที่ดินเพื่อการเกษตร อัตรา 0.25% ของราคาประเมิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย ในอัตรา 0.50% และอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น อาคารพาณิชย์ หรือที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควร ในอัตรา 2%
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังยืนยันว่า อัตราภาษีที่จะเก็บจริงจะไม่สูงเท่าอัตราตามเพดาน แต่จะต่ำกว่าอัตราตามเพดานมาก โดย รมว.คลัง เคยเสนอว่าให้เก็บที่ดินเพื่อการเกษตรในอัตรา 0.05% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0.1% และเชิงพาณิชย์ 0.2%
นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนวทางการลดหย่อนภาระภาษี เช่น การกำหนดให้บ้านและที่ดิน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านบาท จ่ายในอัตรา 25% ของภาระภาษี ซึ่งหากภาษีบ้านและที่ดินอยู่ในอัตรา 0.1% เท่ากับว่าภาระภาษีจะอยู่ที่ 1 พันบาทของมูลค่าบ้านและที่ดิน 1 ล้านบาท เมื่อจ่ายเพียง 25% เท่ากับจ่ายภาษีเพียง 250 บาท ต่อ 1 ล้านบาท
ส่วนบ้านและที่ดิน ที่มีราคามากกว่า 2 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 4 ล้านบาท จ่ายภาษีในอัตรา 50% ของภาระที่ต้องจ่าย เท่ากับว่าจ่ายภาษี 500 บาทต่อมูลค่าบ้านและที่ดิน 1 ล้านบาท และราคาบ้านและที่ดินเกินกว่า 4 ล้านบาท ให้จ่ายเต็ม 100% ของภาระภาษี ส่วนที่ดินเพื่อการเกษตรจะยกเว้นภาษีให้สำหรับที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาท