นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงผลการประเมินผ่านแอพพลิเคชั่น DLT Check in เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจการให้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ในภาพรวมเพียงร้อยละ 65 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงคมนาคมกำหนดที่ร้อยละ 75 และเมื่อเจาะลึกแต่ละด้านพบว่า ความพึงพอใจต่อสภาพรถอยู่ที่ร้อยละ 67 ด้านความสะอาดร้อยละ 69 ด้านพฤติกรรมการให้บริการของคนขับ ร้อยละ 70 และความชำนาญเส้นทางอยู่ที่ร้อยละ 71
ทั้งนี้ จากยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น DLT Check in ในช่วงดังกล่าวนอกเหนือจากการประเมินผลแล้ว ยังพบประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะและร้องเรียนรวม 7,424 ครั้ง แบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ การปฏิเสธผู้โดยสาร การชมเชย ความปลอดภัย ค่าโดยสารมิเตอร์ ความสะดวกสบาย มารยาทของผู้ขับขี่ และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ซึ่งพบว่าปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสารเป็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนสูงสุด ส่งผลให้ระดับความพึงพอใจการให้บริการรถแท็กซี่ในภาพรวมลดลง โดยล่าสุดกรมการขนส่งทางบก ได้เชิญผู้ประกอบการรถแท็กซี่ และตัวแทนคนขับรถแท็กซี่ส่วนบุคคล รับทราบและร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการรถแท็กซี่มิเตอร์ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการให้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบก ได้พัฒนาแบบประเมินในแอพพลิเคชั่น DLT Check in เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร และนำไปสู่การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมการขนส่งทางบกจะสรุปผลการประเมินคุณภาพรถแท็กซี่ตลอดระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เปิดใช้แอพพลิเคชั่น และมีการมอบรางวัลแก่แท็กซี่ที่ทำดี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่อาชีพแท็กซี่ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการรถแท็กซี่อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ จากยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น DLT Check in ในช่วงดังกล่าวนอกเหนือจากการประเมินผลแล้ว ยังพบประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะและร้องเรียนรวม 7,424 ครั้ง แบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ การปฏิเสธผู้โดยสาร การชมเชย ความปลอดภัย ค่าโดยสารมิเตอร์ ความสะดวกสบาย มารยาทของผู้ขับขี่ และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ซึ่งพบว่าปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสารเป็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนสูงสุด ส่งผลให้ระดับความพึงพอใจการให้บริการรถแท็กซี่ในภาพรวมลดลง โดยล่าสุดกรมการขนส่งทางบก ได้เชิญผู้ประกอบการรถแท็กซี่ และตัวแทนคนขับรถแท็กซี่ส่วนบุคคล รับทราบและร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการรถแท็กซี่มิเตอร์ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการให้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบก ได้พัฒนาแบบประเมินในแอพพลิเคชั่น DLT Check in เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร และนำไปสู่การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมการขนส่งทางบกจะสรุปผลการประเมินคุณภาพรถแท็กซี่ตลอดระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เปิดใช้แอพพลิเคชั่น และมีการมอบรางวัลแก่แท็กซี่ที่ทำดี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่อาชีพแท็กซี่ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการรถแท็กซี่อย่างยั่งยืน