พญ.พรพรรณ บุญรัตพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (กมธ.สธ.สปช.) กล่าวถึงกรณีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เตรียมเสนอการตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า ประเทศไทยต้องมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการรวบรวม และบริหารจัดการเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐาน และข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลของประเทศ โดยมีคณะกรรมการนโยบายประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสภาประกันสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่การบริหาร แต่ยังไม่ใช่การรวมการบริหารจัดการ 3 กองทุน ทั้งสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และประกันสังคม
ทั้งนี้ ส่วนของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองที่ปัจจุบันมีราว 49 ล้านคนนั้น มีคนจนจริง ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ที่เข้าข่ายเงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพเพิ่มราว 20 ล้านคน อีก 30 ล้านคน มีความสามารถที่จะจ่ายเงินทำประกันสุขภาพเอง เพื่อรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมนอกเหนือจากสิทธิจำเป็นพื้นฐาน
นอกจากนี้ ในส่วนผู้ใช้สิทธิข้าราชการอาจจะต้องร่วมประกันสุขภาพด้วย โดยอาจจะหักเบี้ยประกันจากเงินเดือน หรือให้หน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบ ซึ่งรูปแบบต้องมาพิจารณากันต่อไป ข้าราชการจะได้รับสวัสดิการบริการที่ดีขึ้น เพราะบางส่วนข้าราชการได้รับน้อยกว่าบัตรทอง หากมีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติแบบนี้ โรงพยาบาลเอกชนจะดึงเข้ามาร่วมมากขึ้น การรักษาพยาบาลก็ดีขึ้น ความแออัดในโรงพยาบาลรัฐจะลดลง ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ ส่วนของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองที่ปัจจุบันมีราว 49 ล้านคนนั้น มีคนจนจริง ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ที่เข้าข่ายเงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพเพิ่มราว 20 ล้านคน อีก 30 ล้านคน มีความสามารถที่จะจ่ายเงินทำประกันสุขภาพเอง เพื่อรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมนอกเหนือจากสิทธิจำเป็นพื้นฐาน
นอกจากนี้ ในส่วนผู้ใช้สิทธิข้าราชการอาจจะต้องร่วมประกันสุขภาพด้วย โดยอาจจะหักเบี้ยประกันจากเงินเดือน หรือให้หน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบ ซึ่งรูปแบบต้องมาพิจารณากันต่อไป ข้าราชการจะได้รับสวัสดิการบริการที่ดีขึ้น เพราะบางส่วนข้าราชการได้รับน้อยกว่าบัตรทอง หากมีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติแบบนี้ โรงพยาบาลเอกชนจะดึงเข้ามาร่วมมากขึ้น การรักษาพยาบาลก็ดีขึ้น ความแออัดในโรงพยาบาลรัฐจะลดลง ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด