ประธานอนุ กมธ.ศึกษาค่ารักษาพยาบาล เผยเปรียบเทียบค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน 5 โรค สูงกว่ารัฐ 2.5 เท่า แนะ ศึกษารูปแบบ “สหวิทยาการ” ให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ พร้อมระดมความทุกภาคส่วน 23 มิ.ย. ก่อนเสนอ กมธ.สาธารณสุข.-สนช.
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงว่า ได้มีการศึกษาค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรัฐ 3 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง โดยได้ศึกษาใน 5 โรค ที่มีผู้เข้ารับบริการมากที่สุด ได้แก่ 1. โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน 2. การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ 3. การผ่าตัดต้อกระจก 4. การผ่าตัดข้อเข่า และ 5. โรคหวัด เป็นการศึกษาในรูปแบบงานวิจัยข้อมูลเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2552-2557 ผลการศึกษาพบว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ โดยเฉลี่ย 2.5 เท่า ทั้งนี้ อนุกรรมาธิการเห็นว่าในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ยังมีงานวิจัยเผยแพร่จำนวนน้อยมาก หากมีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาในรูปแบบ “สหวิทยาการ” จะทำให้ข้อมูลที่ได้เกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อถือได้ในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ เป็นที่ยอมรับ และสามารถนำไปพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน จำเป็นต้องระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทางอนุกรรมาธิการ จึงกำหนดให้มีการสัมมนาในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ที่รัฐสภา เพื่อรายงานผลการศึกษาของอนุกรรมาธิการ ก่อนรวบรวมความเห็น และข้อมูล จัดทำเป็นรายงานเสนอคณะกมธ.สาธารณสุข และเสนอต่อที่ประชุม สนช.ต่อไป
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบราคาค่ารักษาพยาบาลโรคหลอดเลือดหัวใจ ในสถานพยาบาลเอกชน ราคาเฉลี่ย 333,090 บาท ขณะที่สถานพยาบาลของรัฐ ราคาเฉลี่ย 116,324 บาท เห็นได้ว่าราคาค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลเอกชนสูงกว่าของรัฐถึง 1.74 เท่า นอกจากนี้ การผ่าตัดไส้ติ่ง ราคาค่ารักษาพยาบาลสถานพยาบาลเอกชนสูงกว่ารัฐ 5.37 เท่า ต้อกระจก สูงกว่า 5.48 เท่า โรคข้อเข่า สูงกว่า 2.16 เท่า และโรคหวัด สูงกว่า 3.31 เท่า
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงว่า ได้มีการศึกษาค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรัฐ 3 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง โดยได้ศึกษาใน 5 โรค ที่มีผู้เข้ารับบริการมากที่สุด ได้แก่ 1. โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน 2. การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ 3. การผ่าตัดต้อกระจก 4. การผ่าตัดข้อเข่า และ 5. โรคหวัด เป็นการศึกษาในรูปแบบงานวิจัยข้อมูลเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2552-2557 ผลการศึกษาพบว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ โดยเฉลี่ย 2.5 เท่า ทั้งนี้ อนุกรรมาธิการเห็นว่าในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ยังมีงานวิจัยเผยแพร่จำนวนน้อยมาก หากมีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาในรูปแบบ “สหวิทยาการ” จะทำให้ข้อมูลที่ได้เกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อถือได้ในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ เป็นที่ยอมรับ และสามารถนำไปพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน จำเป็นต้องระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทางอนุกรรมาธิการ จึงกำหนดให้มีการสัมมนาในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ที่รัฐสภา เพื่อรายงานผลการศึกษาของอนุกรรมาธิการ ก่อนรวบรวมความเห็น และข้อมูล จัดทำเป็นรายงานเสนอคณะกมธ.สาธารณสุข และเสนอต่อที่ประชุม สนช.ต่อไป
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบราคาค่ารักษาพยาบาลโรคหลอดเลือดหัวใจ ในสถานพยาบาลเอกชน ราคาเฉลี่ย 333,090 บาท ขณะที่สถานพยาบาลของรัฐ ราคาเฉลี่ย 116,324 บาท เห็นได้ว่าราคาค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลเอกชนสูงกว่าของรัฐถึง 1.74 เท่า นอกจากนี้ การผ่าตัดไส้ติ่ง ราคาค่ารักษาพยาบาลสถานพยาบาลเอกชนสูงกว่ารัฐ 5.37 เท่า ต้อกระจก สูงกว่า 5.48 เท่า โรคข้อเข่า สูงกว่า 2.16 เท่า และโรคหวัด สูงกว่า 3.31 เท่า