อ.เภสัช จุฬาฯ จี้ออก กม.คุม บ.ยาต้องเปิดเผยโครงสร้างราคายา ช่วยเป็นข้อมูลพื้นฐานประเมิน รพ.เอกชนบวกกำไรเกินควรหรือไม่ ระบุภาครัฐต้องประเมินต้นทุน รพ.เอกชนแต่ละระดับ ก่อนกำหนดเกณฑ์บวกราคายาของ รพ.เอกชนแต่ละเกรด
ภญ.สุนทรี ท.ชัยสัมฤทธิ์โชค อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีคณะทำงานแก้ไขปัญหาค่ารักษา รพ.เอกชนแพง ซึ่งจะดำเนินการในเรื่องของการควบคุมราคายาก่อนนั้น ว่า ขณะนี้มาตรการของกระทรวงพาณิชย์ คือ ให้มีการติดป้ายแสดงราคายา ตรงนี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา เพราะบริษัทยายังสามารถกำหนดราคายาเป็นเท่าไรก็ได้ และประชาชนไม่รู้ว่าราคาแพงเกินจริงหรือไม่ เรื่องนี้ลำดับแรกจะต้องมีกลไก ทำให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายาออกมาเสียก่อน จะทำให้มีข้อมูลเป็นพื้นฐานว่าโครงสร้างราคาเป็นเท่านี้ หาก รพ.เอกชน มีการขายยาราคาเท่านั้นเท่านี้ หลังจากมีการบวกต้นทุนต่างๆ เข้าไป ก็จะช่วยให้ประมาณได้ว่า รพ.เอกชน มีโอกาสที่จะเป็นการขายแบบโก่งราคาหรือไม่ แต่อย่าลืมว่า รพ.เอกชนนั้นมีหลายระดับ แต่ละระดับก็มีต้นทุนที่แตกต่างกันไป ทำให้การบวกราคายาเข้าไปนั้นมีความแตกต่างกัน ก็ต้องประเมินในส่วนนี้ด้วย
“ภาครัฐอาจจะต้องกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่โรงพยาบาลจะสามารถบวกกำไรเพิ่มจากต้นทุนราคายาออกไปตามระดับของ รพ.เอกชน เช่น ระดับเอ สามารถบวกได้ 20 - 30% ระดับบี บวกได้ 10 - 20% เป็นต้น โดยจะต้องมีการศึกษาต้นทุน รพ.เอกชน แต่ละระดับอย่างแท้จริง ถ้าหาก รพ.เอกชน ระดับบีมีการบวกเปอร์เซ็นต์เกินไปกว่าเรนจ์ที่กำหนด ก็ต้องมาชี้แจง หรืออธิบายมากขึ้นว่าเหตุใดจึงคิดราคาเท่านี้ ซึ่งทุกอย่างจะสามารถดำเนินการได้ หากเรามีข้อมูลโครงสร้างราคายามาตั้งแต่ต้น” ภญ.สุนทรี กล่าว
ภญ.สุนทรี กล่าวว่า การขอให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายานั้น ไม่ได้เป็นการทำเพื่อกดราคายาลง เพราะที่จริงแล้วคนที่จะเสนอราคายาก็ยังเป็นบริษัทยาอยู่ดี บริษัทจะกำหนดโครงสร้างราคายามาเท่าไรก็ได้ แต่อย่างน้อยตอนขึ้นทะเบียนยา เมื่อมีการเปิดเผยออกมาก็จะช่วยให้มีข้อมูลพื้นฐานในการเปรียบเทียบราคา ซึ่งภาครัฐอาจพัฒนาไปเป็นราคากลางได้ว่าควรเป้นเท่าไร ซึ่งที่ผ่านมามีการเสนอให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายาใน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ แต่เมื่อเสนอเข้าไปสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว เข้าใจว่ามีหลายคนพยายามไปปรับในเรื่องนี้ สุดท้ายก็มีการส่งร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่กลับมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอให้ตัดประเด็นดังกล่าวออก ทั้งที่เรื่องนี้จะเป็นการช่วยผู้บริโภคไม่ให้ต้องเสียเปรียบ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภญ.สุนทรี ท.ชัยสัมฤทธิ์โชค อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีคณะทำงานแก้ไขปัญหาค่ารักษา รพ.เอกชนแพง ซึ่งจะดำเนินการในเรื่องของการควบคุมราคายาก่อนนั้น ว่า ขณะนี้มาตรการของกระทรวงพาณิชย์ คือ ให้มีการติดป้ายแสดงราคายา ตรงนี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา เพราะบริษัทยายังสามารถกำหนดราคายาเป็นเท่าไรก็ได้ และประชาชนไม่รู้ว่าราคาแพงเกินจริงหรือไม่ เรื่องนี้ลำดับแรกจะต้องมีกลไก ทำให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายาออกมาเสียก่อน จะทำให้มีข้อมูลเป็นพื้นฐานว่าโครงสร้างราคาเป็นเท่านี้ หาก รพ.เอกชน มีการขายยาราคาเท่านั้นเท่านี้ หลังจากมีการบวกต้นทุนต่างๆ เข้าไป ก็จะช่วยให้ประมาณได้ว่า รพ.เอกชน มีโอกาสที่จะเป็นการขายแบบโก่งราคาหรือไม่ แต่อย่าลืมว่า รพ.เอกชนนั้นมีหลายระดับ แต่ละระดับก็มีต้นทุนที่แตกต่างกันไป ทำให้การบวกราคายาเข้าไปนั้นมีความแตกต่างกัน ก็ต้องประเมินในส่วนนี้ด้วย
“ภาครัฐอาจจะต้องกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่โรงพยาบาลจะสามารถบวกกำไรเพิ่มจากต้นทุนราคายาออกไปตามระดับของ รพ.เอกชน เช่น ระดับเอ สามารถบวกได้ 20 - 30% ระดับบี บวกได้ 10 - 20% เป็นต้น โดยจะต้องมีการศึกษาต้นทุน รพ.เอกชน แต่ละระดับอย่างแท้จริง ถ้าหาก รพ.เอกชน ระดับบีมีการบวกเปอร์เซ็นต์เกินไปกว่าเรนจ์ที่กำหนด ก็ต้องมาชี้แจง หรืออธิบายมากขึ้นว่าเหตุใดจึงคิดราคาเท่านี้ ซึ่งทุกอย่างจะสามารถดำเนินการได้ หากเรามีข้อมูลโครงสร้างราคายามาตั้งแต่ต้น” ภญ.สุนทรี กล่าว
ภญ.สุนทรี กล่าวว่า การขอให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายานั้น ไม่ได้เป็นการทำเพื่อกดราคายาลง เพราะที่จริงแล้วคนที่จะเสนอราคายาก็ยังเป็นบริษัทยาอยู่ดี บริษัทจะกำหนดโครงสร้างราคายามาเท่าไรก็ได้ แต่อย่างน้อยตอนขึ้นทะเบียนยา เมื่อมีการเปิดเผยออกมาก็จะช่วยให้มีข้อมูลพื้นฐานในการเปรียบเทียบราคา ซึ่งภาครัฐอาจพัฒนาไปเป็นราคากลางได้ว่าควรเป้นเท่าไร ซึ่งที่ผ่านมามีการเสนอให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายาใน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ แต่เมื่อเสนอเข้าไปสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว เข้าใจว่ามีหลายคนพยายามไปปรับในเรื่องนี้ สุดท้ายก็มีการส่งร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่กลับมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอให้ตัดประเด็นดังกล่าวออก ทั้งที่เรื่องนี้จะเป็นการช่วยผู้บริโภคไม่ให้ต้องเสียเปรียบ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่