เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 58 ศาลจังหวัดเชียงราย นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายออด สุขตะโก นางถนอมศรี นามรัตน์ และนายสุขสยาม จอมธาร จำเลยในฐานผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และพวกอีก 3 คน ร่วมกันแขวนป้ายข้อความระบุว่า "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศล้านนา"
คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 57 ช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. จำเลยทั้ง 3 และพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงในอำเภอแม่สรวย ได้ร่วมกันติดป้ายข้อความ "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศล้านนา" บริเวณสะพานลอยหน้าห้างเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงราย ต่อมาถูกจับกุมในช่วงเดือนมิถุนายน 57 ภายหลังการรัฐประหาร ก่อนได้รับประกันตัวออกมาต่อสู้คดี
ศาลได้อ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า จำเลยทั้งสามได้มีการนำแผ่นป้ายไปติดที่สะพานลอยที่เกิดเหตุจริง โดยมีภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดที่ระบุวันเวลาชัดเจน จำเลยทั้งสามมีใบหน้าตรงกับกลุ่มบุคคลที่ปรากฎในภาพกล้องวงจรปิดที่พนักงานสอบสวนจัดทำเป็นภาพนิ่ง ประกอบกับผู้ใหญ่บ้านของจำเลยเบิกความยืนยันภาพว่าเป็นจำเลยทั้งสามจริง
ศาลพิจารณาต่อว่า สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ มีความแตกแยกในหมู่ประชาชน มีการจัดตั้งกลุ่มการเมืองต่างๆ ป้ายข้อความดังกล่าวจึงอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ข้ออ้างที่ว่าไม่มีความยุติธรรมต่อกลุ่มการเมืองของจำเลยทั้งสามเป็นการคิดเองเพียงฝ่ายเดียว ถ้อยคำ "ขอแยกเป็นประเทศล้านนา" มีความหมายว่าไม่ยอมรับการยกคำร้องของศาลอาญาในการขอออกหมายจับแกนนำกลุ่ม กปปส. ในช่วงนั้น เป็นการปฏิเสธอำนาจของศาลอาญาที่มีกฎหมายให้อำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ไว้ มิใช้เพื่อแสดงความเห็นหรือติชมโดยสุจริต จึงมีเจตนาทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 116 จึงพิพากษาให้จำคุกคนละ 4 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง จึงลดโทษ 1 ใน 4 เหลือจำคุก 3 ปี และจำเลยทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้ 5 ปี
คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 57 ช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. จำเลยทั้ง 3 และพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงในอำเภอแม่สรวย ได้ร่วมกันติดป้ายข้อความ "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศล้านนา" บริเวณสะพานลอยหน้าห้างเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงราย ต่อมาถูกจับกุมในช่วงเดือนมิถุนายน 57 ภายหลังการรัฐประหาร ก่อนได้รับประกันตัวออกมาต่อสู้คดี
ศาลได้อ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า จำเลยทั้งสามได้มีการนำแผ่นป้ายไปติดที่สะพานลอยที่เกิดเหตุจริง โดยมีภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดที่ระบุวันเวลาชัดเจน จำเลยทั้งสามมีใบหน้าตรงกับกลุ่มบุคคลที่ปรากฎในภาพกล้องวงจรปิดที่พนักงานสอบสวนจัดทำเป็นภาพนิ่ง ประกอบกับผู้ใหญ่บ้านของจำเลยเบิกความยืนยันภาพว่าเป็นจำเลยทั้งสามจริง
ศาลพิจารณาต่อว่า สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ มีความแตกแยกในหมู่ประชาชน มีการจัดตั้งกลุ่มการเมืองต่างๆ ป้ายข้อความดังกล่าวจึงอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ข้ออ้างที่ว่าไม่มีความยุติธรรมต่อกลุ่มการเมืองของจำเลยทั้งสามเป็นการคิดเองเพียงฝ่ายเดียว ถ้อยคำ "ขอแยกเป็นประเทศล้านนา" มีความหมายว่าไม่ยอมรับการยกคำร้องของศาลอาญาในการขอออกหมายจับแกนนำกลุ่ม กปปส. ในช่วงนั้น เป็นการปฏิเสธอำนาจของศาลอาญาที่มีกฎหมายให้อำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ไว้ มิใช้เพื่อแสดงความเห็นหรือติชมโดยสุจริต จึงมีเจตนาทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 116 จึงพิพากษาให้จำคุกคนละ 4 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง จึงลดโทษ 1 ใน 4 เหลือจำคุก 3 ปี และจำเลยทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้ 5 ปี