รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษี ที่มีนายสมหมาย ภาษี รมว.คลังเป็นประธาน จะสรุปวิธีการและอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากที่นายกรัฐมนตรีสั่งให้กระทรวงการคลังชะลอการพิจารณาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปก่อน แต่ รมว.คลังระบุว่า นายกรัฐมนตรีสั่งให้ชะลอไม่ได้หมายความว่า กระทรวงการคลังต้องยุติการศึกษาเรื่องดังกล่าว จึงสั่งให้ สศค.นำร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมกลับไปพิจารณาใหม่และให้เสนอกลับมายังคณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้คณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีจะมีการประชุมอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ค.นี้ โดย สศค.เสนอให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีในรูปแบบขั้นบันได หรืออัตราก้าวหน้าเหมือนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้ผู้ครอบครองที่มีราคาไม่แพงก็จะเสียภาษีเล็กน้อย ขณะที่คนร่ำรวยและครอบครองที่ดินที่มีราคาแพงก็จะเสียภาษีเป็นจำนวนเงินที่สูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากร่างกฎหมายเดิมที่มีระบุว่า พื้นที่เกษตรกรรมที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1.5 ล้านบาทไม่เสียภาษี หรือบ้านที่อยู่อาศัยพร้อมที่ดินไม่เกิน 2 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี
อย่างไรก็ตาม สศค.มั่นใจว่า วิธีการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันไดจะสามารถตอบข้อครหาต่างๆของร่างกฎหมายเดิมได้อย่างแน่นอน โดย สศค.จะเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีเป็นผู้เคาะอัตราภาษีขั้นต่ำสุดและสูงสุด เหมือนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่อัตรา 5% 10% 15% 20% 25% 30% และ 35% ขณะที่ในฝั่งของรายได้ กรณีที่มีรายได้สุทธิน้อยกว่า 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้นภาษี และกรณีที่มีรายได้สุทธิเกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีในอัตรา 35% เป็นต้น
นอกจากนี้ สศค.ยังพิจารณาถึงผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมมาตั้งแต่ปูย่าตายาย หากผู้ครอบครองได้ครอบครองมาเป็นระยะเวลามากกว่า 15 หรือ 20 ปี จะได้รับการพิจารณาบรรเทาภาษี ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ครอบครองเดิมจะเสียภาษีในอัตราต่ำ เว้นแต่มีการขายเปลี่ยนมือไปแล้ว ผู้ครอบ ครองใหม่จะต้องเสียภาษีในอัตราใหม่ ส่วนกรณีที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือที่ดินส่วนกลางของหมู่บ้าน จะไม่มีภาระภาษีแต่อย่างใด
ทั้งนี้ สศค.ยังคงเสนอให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3 ประเภทคือ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตร 2.ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และ 3.ที่ดินอื่นๆ ซึ่งนับรวมถึงที่ดินเพื่อการพาณิชย์และที่ดินรกร้างว่างเปล่าเหมือนเดิม แต่สำหรับอัตราภาษีนั้น สศค.เห็นว่า ควรลดระดับลง เช่น กรณีที่ดินว่างเปล่าและไม่ได้ทำประโยชน์ที่ต้องเสียภาษีสูงสุดในอัตรา 0.5% แต่จะจัดเก็บจริงในอัตรา 0.05% ของราคาประเมินที่ดิน และหากยังไม่ใช้ประโยชน์ให้เพิ่มภาษีอีก 1 เท่าทุกๆ 3 ปี แต่จำนวนภาษีที่เสียต้องไม่เกิน 2% ของราคาประเมินที่ดิน
ทั้งนี้คณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีจะมีการประชุมอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ค.นี้ โดย สศค.เสนอให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีในรูปแบบขั้นบันได หรืออัตราก้าวหน้าเหมือนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้ผู้ครอบครองที่มีราคาไม่แพงก็จะเสียภาษีเล็กน้อย ขณะที่คนร่ำรวยและครอบครองที่ดินที่มีราคาแพงก็จะเสียภาษีเป็นจำนวนเงินที่สูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากร่างกฎหมายเดิมที่มีระบุว่า พื้นที่เกษตรกรรมที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1.5 ล้านบาทไม่เสียภาษี หรือบ้านที่อยู่อาศัยพร้อมที่ดินไม่เกิน 2 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี
อย่างไรก็ตาม สศค.มั่นใจว่า วิธีการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันไดจะสามารถตอบข้อครหาต่างๆของร่างกฎหมายเดิมได้อย่างแน่นอน โดย สศค.จะเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีเป็นผู้เคาะอัตราภาษีขั้นต่ำสุดและสูงสุด เหมือนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่อัตรา 5% 10% 15% 20% 25% 30% และ 35% ขณะที่ในฝั่งของรายได้ กรณีที่มีรายได้สุทธิน้อยกว่า 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้นภาษี และกรณีที่มีรายได้สุทธิเกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีในอัตรา 35% เป็นต้น
นอกจากนี้ สศค.ยังพิจารณาถึงผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมมาตั้งแต่ปูย่าตายาย หากผู้ครอบครองได้ครอบครองมาเป็นระยะเวลามากกว่า 15 หรือ 20 ปี จะได้รับการพิจารณาบรรเทาภาษี ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ครอบครองเดิมจะเสียภาษีในอัตราต่ำ เว้นแต่มีการขายเปลี่ยนมือไปแล้ว ผู้ครอบ ครองใหม่จะต้องเสียภาษีในอัตราใหม่ ส่วนกรณีที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือที่ดินส่วนกลางของหมู่บ้าน จะไม่มีภาระภาษีแต่อย่างใด
ทั้งนี้ สศค.ยังคงเสนอให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3 ประเภทคือ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตร 2.ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และ 3.ที่ดินอื่นๆ ซึ่งนับรวมถึงที่ดินเพื่อการพาณิชย์และที่ดินรกร้างว่างเปล่าเหมือนเดิม แต่สำหรับอัตราภาษีนั้น สศค.เห็นว่า ควรลดระดับลง เช่น กรณีที่ดินว่างเปล่าและไม่ได้ทำประโยชน์ที่ต้องเสียภาษีสูงสุดในอัตรา 0.5% แต่จะจัดเก็บจริงในอัตรา 0.05% ของราคาประเมินที่ดิน และหากยังไม่ใช้ประโยชน์ให้เพิ่มภาษีอีก 1 เท่าทุกๆ 3 ปี แต่จำนวนภาษีที่เสียต้องไม่เกิน 2% ของราคาประเมินที่ดิน