นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามหนังสือของกระทรวงการคลังเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปยังรัฐบาลแล้ว หลังจากนี้ จะต้องผ่านความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนจะมีการเสนอเข้า ครม.ใหม่ทันทีหรือจะมีการทบทวนอีกครั้ง เป็นเรื่องของรัฐบาล และคิดว่าตนยังมีอำนาจในการเสนอเรื่องได้ ก็ต้องทำตามหน้าที่จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ ครม.ชุดใหม่
ทั้งนี้ตนยังมีเรื่องที่เป็นห่วงคือ การออก พ.ร.บ.บริหารจัดการหนี้ 730,000 ล้านบาท เพื่อนำมาบริหารจัดการหนี้ที่เกิดจากการจำนำข้าว หนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกันสังคมให้เรียบร้อย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ระยะสั้น ให้เป็นหนี้ระยะยาว 20 ปี พร้อมทั้งเป็นห่วงเรื่องปฏิรูปโครงสร้างภาษี ที่ยังขาดการบริหารจัดการเพื่อปิดช่องโหว่ การแก้ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บภาษี โดยเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เชิญกรมสรรพากรมาหารือและฝากไว้ว่าควรเดินหน้าต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่อยากให้รัฐบาลเดินหน้าคือ การปรับสัญญาระยะเวลาการเช่าที่ดินรัฐกับเอกชนปัจจุบันมีอายุไม่เกิน 30 ปี ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ปี แต่ถ้าเป็นการเช่าที่ดินระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือรัฐบาลกับรัฐวิสาหกิจจะเพิ่มขึ้นเป็น 99 ปี ขณะนี้กฎหมายในเรื่องนี้ได้ดำเนินการเสร็จแล้วอยู่ที่ รมว.มหาดไทย จะดำเนินการต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เสนอให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง 3 ประเภทคือ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตร 2.ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย 3.ที่ดินอื่นๆ ซึ่งนับรวมถึงที่ดิน เพื่อการพาณิชย์และที่ดินรกร้างว่างเปล่าเหมือนเดิม แต่สำหรับอัตราภาษี สศค.เห็นว่า ควรลดระดับลง เช่น กรณีที่ที่ดินว่างเปล่าและไม่ได้ทำประโยชน์ ต้องเสียภาษีสูงสุดในอัตรา 0.5% แต่จะจัดเก็บจริงในอัตรา 0.05% ของราคาประเมินที่ดิน และหากยังไม่ใช้ประโยชน์ให้เพิ่มภาษีอีก 1 เท่าทุกๆ 3 ปี แต่จำนวนภาษีที่เสียต้องไม่เกิน 2% ของราคาประเมินที่ดิน เห็นว่าเป็นอัตราที่แพงเกินไป ก็จะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้ตนยังมีเรื่องที่เป็นห่วงคือ การออก พ.ร.บ.บริหารจัดการหนี้ 730,000 ล้านบาท เพื่อนำมาบริหารจัดการหนี้ที่เกิดจากการจำนำข้าว หนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกันสังคมให้เรียบร้อย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ระยะสั้น ให้เป็นหนี้ระยะยาว 20 ปี พร้อมทั้งเป็นห่วงเรื่องปฏิรูปโครงสร้างภาษี ที่ยังขาดการบริหารจัดการเพื่อปิดช่องโหว่ การแก้ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บภาษี โดยเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เชิญกรมสรรพากรมาหารือและฝากไว้ว่าควรเดินหน้าต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่อยากให้รัฐบาลเดินหน้าคือ การปรับสัญญาระยะเวลาการเช่าที่ดินรัฐกับเอกชนปัจจุบันมีอายุไม่เกิน 30 ปี ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ปี แต่ถ้าเป็นการเช่าที่ดินระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือรัฐบาลกับรัฐวิสาหกิจจะเพิ่มขึ้นเป็น 99 ปี ขณะนี้กฎหมายในเรื่องนี้ได้ดำเนินการเสร็จแล้วอยู่ที่ รมว.มหาดไทย จะดำเนินการต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เสนอให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง 3 ประเภทคือ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตร 2.ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย 3.ที่ดินอื่นๆ ซึ่งนับรวมถึงที่ดิน เพื่อการพาณิชย์และที่ดินรกร้างว่างเปล่าเหมือนเดิม แต่สำหรับอัตราภาษี สศค.เห็นว่า ควรลดระดับลง เช่น กรณีที่ที่ดินว่างเปล่าและไม่ได้ทำประโยชน์ ต้องเสียภาษีสูงสุดในอัตรา 0.5% แต่จะจัดเก็บจริงในอัตรา 0.05% ของราคาประเมินที่ดิน และหากยังไม่ใช้ประโยชน์ให้เพิ่มภาษีอีก 1 เท่าทุกๆ 3 ปี แต่จำนวนภาษีที่เสียต้องไม่เกิน 2% ของราคาประเมินที่ดิน เห็นว่าเป็นอัตราที่แพงเกินไป ก็จะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาอีกครั้ง