นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงการเปิดประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลแบบยกคลัง ครั้งที่ 4/58 ปริมาณรวม 1.38 ล้านบาท ว่า มีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 62 ราย แต่ยื่นซองเสนอราคา 55 ราย ใน 105 คลัง ซึ่งในจำนวนนี้เสนอราคาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ฟลอร์ แวลู) 33 ราย ใน 103 คลัง ปริมาณรวม 1.148 ล้านตัน หรือ 83% ของปริมาณข้าวที่นำมาเปิดประมูล คิดเป็นมูลค่า 11,079 ล้านบาท โดยชนิดข้าวที่ขายได้มากสุดคือข้าวขาว 5% ปริมาณเกือบ 1 ล้านตัน หรือ 71% ของปริมาณที่เปิดประมูล และจะนำผลการเปิดประมูลครั้งนี้เสนอต่อประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) อนุมัติในวันที่ 8 ก.ค.นี้
สำหรับการเปิดประมูลครั้งนี้ ที่มีผู้เสนอซื้อมากถึง 1.148 ล้านตันนั้น ถือว่าซื้อมากที่สุดจากการเปิดประมูลมา 8 ครั้ง เพราะขณะนี้ตลาดมีความต้องการข้าวจำนวนมาก จากคำสั่งซื้อยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตข้าวในตลาดน้อยลง จากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้ข้าวนาปรังรอบ 2 มีผลผลิตออกมาน้อย และยังต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปี ปี 58/59 ออกไปอีก 1 เดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารประเทศ สามารถเปิดประมูลได้แล้ว 8 ครั้ง ปริมาณรวม 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 40,948 ล้านบาท
“ราคาที่เสนอซื้อในรอบนี้ ใกล้เคียงกับราคาของการเปิดประมูลรอบก่อน และสูงกว่าราคาฟอลร์ แวลูประมาณ 5% ส่วนแนวโน้มราคาข้าวในตลาดทยอยปรับเพิ่มขึ้น จากภัยแล้งในประเทศ โดยในสัปดาห์นี้ราคาข้าวขาว 5% ปรับเพิ่มมาอีกตันละ 500 บาท ขณะที่ราคาส่งออกปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะภัยแล้งเกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศอื่นอย่างอินเดีย ได้รับผลกระทบเช่นกัน”
ส่วนการเปิดประมูลข้าวรอบต่อไปจะนำข้าวส่วนใดมาเปิดประมูลนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งผลสรุปข้าวส่วนใดมาให้ก่อน ซึ่งหากสรุปคดีข้าวเกรดซีได้ก่อน ก็จะนำมาขายก่อนให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น ผลิตเอทานอล แต่ทั้งหมดจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหน่วยงานของภาครัฐ ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดราคากลางในการเปิดประมูลข้าวที่ต้องระบายออกไปให้ภาคอุตสาหกรรม
สำหรับการเปิดประมูลครั้งนี้ หาก นบข.อนุมัติขายทั้งหมด 1.148 ล้านตัน มูลค่ารวม 11,079 ล้านบาท หรือเฉลี่ยขายได้ตันละ 10,000 บาท จะทำให้ขาดทุนประมาณ 16,400 ล้านบาท จากต้นทุนราคาข้าวสารในสต๊อกที่ตันละ 24,000 บาท ตามราคาจำนำข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บาท แต่หากรวมการประมูลทั้ง 8 ครั้ง ที่ขายข้าวได้ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 40,948 ล้านบาท จะขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำ 52,200 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าบริหารจัดการสต๊อก และค่าดอกเบี้ย
สำหรับการเปิดประมูลครั้งนี้ ที่มีผู้เสนอซื้อมากถึง 1.148 ล้านตันนั้น ถือว่าซื้อมากที่สุดจากการเปิดประมูลมา 8 ครั้ง เพราะขณะนี้ตลาดมีความต้องการข้าวจำนวนมาก จากคำสั่งซื้อยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตข้าวในตลาดน้อยลง จากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้ข้าวนาปรังรอบ 2 มีผลผลิตออกมาน้อย และยังต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปี ปี 58/59 ออกไปอีก 1 เดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารประเทศ สามารถเปิดประมูลได้แล้ว 8 ครั้ง ปริมาณรวม 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 40,948 ล้านบาท
“ราคาที่เสนอซื้อในรอบนี้ ใกล้เคียงกับราคาของการเปิดประมูลรอบก่อน และสูงกว่าราคาฟอลร์ แวลูประมาณ 5% ส่วนแนวโน้มราคาข้าวในตลาดทยอยปรับเพิ่มขึ้น จากภัยแล้งในประเทศ โดยในสัปดาห์นี้ราคาข้าวขาว 5% ปรับเพิ่มมาอีกตันละ 500 บาท ขณะที่ราคาส่งออกปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะภัยแล้งเกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศอื่นอย่างอินเดีย ได้รับผลกระทบเช่นกัน”
ส่วนการเปิดประมูลข้าวรอบต่อไปจะนำข้าวส่วนใดมาเปิดประมูลนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งผลสรุปข้าวส่วนใดมาให้ก่อน ซึ่งหากสรุปคดีข้าวเกรดซีได้ก่อน ก็จะนำมาขายก่อนให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น ผลิตเอทานอล แต่ทั้งหมดจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหน่วยงานของภาครัฐ ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดราคากลางในการเปิดประมูลข้าวที่ต้องระบายออกไปให้ภาคอุตสาหกรรม
สำหรับการเปิดประมูลครั้งนี้ หาก นบข.อนุมัติขายทั้งหมด 1.148 ล้านตัน มูลค่ารวม 11,079 ล้านบาท หรือเฉลี่ยขายได้ตันละ 10,000 บาท จะทำให้ขาดทุนประมาณ 16,400 ล้านบาท จากต้นทุนราคาข้าวสารในสต๊อกที่ตันละ 24,000 บาท ตามราคาจำนำข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บาท แต่หากรวมการประมูลทั้ง 8 ครั้ง ที่ขายข้าวได้ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 40,948 ล้านบาท จะขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำ 52,200 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าบริหารจัดการสต๊อก และค่าดอกเบี้ย