พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย บัตรชำรุดในสาระสำคัญ หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หรือย้ายที่อยู่จากเดิมฉบับละ 20 บาท เป็นฉบับละ 100 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่สูงขึ้น รวมทั้งให้อธิบดีกรมการปกครองมีอำนาจประกาศให้เขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเป็นเขตยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว โดยให้มีผลนับแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า การเก็บอัตรา 20 บาท เป็นอัตราที่น้อยกว่าอัตราต้นทุนการดำเนินการจัดทำบัตรประชาชนต่อ 1 คน ที่ต้องใช้งบประมาณฉบับละ 54.64 บาท โดยแยกเป็นค่าวัสดุบัตร ค่าวัสดุผลิตบัตรสำหรับเครื่องพิมพ์ ค่ากระบวนการพร้อมข้อมูลต่อการใช้ งาน ค่าเช่าระบบคอมพิวเตอร์ และต้นทุนอื่นๆ ซึ่งเป็นราคาที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ ค่าผลิต และค่าบริหารจัดการในการผลิตบัตรจึงทำให้ราคาต่อหน่วยมีราคาสูงกว่าราคาให้บริการจัดทำบัตรและทำให้เป็นภาระต่องบประมาณของรัฐบาล
นอกจากนี้จากการสำรวจข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางทางทะเบียนพบว่า มีข้อมูลเกี่ยวกับการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่กรณีบัตรหายช่วงระหว่างวันที่ 1 ก.ย.2554-31 พ.ค.2555 ซึ่งเป็นช่วงที่เคยปรับขึ้นไปเก็บค่าธรรมเนียมบัตรหาย 100 บาท พบว่ามีบัตรหายจำนวน 1,416,915 ราย ขณะที่ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.2555-7 มิ.ย.2558 ซึ่งลดการเก็บค่าธรรมเนียมลงมาที่ 20 บาท พบว่ามีจำนวนบัตรหาย 6,108,412 ราย กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ 1 ต.ค.2555-31 ต.ค.2557 จำนวน 3,129,281 ราย และกรณีแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2555-31 ต.ค.2557 จำนวน 1,434,314 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่า การขอบัตรใหม่กรณีบัตรหายมีอัตราที่สูง โดยเฉพาะช่วงบังคับใช้ค่าธรรมเนียม 20 บาท ซึ่งเป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่ต่ำ จึงทำให้ประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญและระมัดระวังในการเก็บรักษาบัตร
ขณะเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยยังรายงานอีกว่า ปัญหาการทุจริตด้านบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรณีขอมีบัตร กรณีบัตรหายมากที่สุด ซึ่งทำให้บุคคลที่มีเจตนาทุจริตอาศัยเป็นช่องทางเพื่อดำเนินการขอบัตรใหม่ เนื่องจากปัจจุบันการขอบัตรใหม่สามารถทำได้สะดวกทุกสำนักทะเบียนและมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่ำเพียงฉบับละ 20 บาท จึงควรปรับเป็น 100 บาท เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต และการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรประชาชน ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ความเห็นว่า เห็นควรให้ความเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตและจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแบ่งเบาภาระงบประมาณภาครัฐ และสอด คล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ตามที่เสนอแล้ว กระทรวงมหาดไทยควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ และพึงระวังการรักษาเอกสารของทางราชการด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า การเก็บอัตรา 20 บาท เป็นอัตราที่น้อยกว่าอัตราต้นทุนการดำเนินการจัดทำบัตรประชาชนต่อ 1 คน ที่ต้องใช้งบประมาณฉบับละ 54.64 บาท โดยแยกเป็นค่าวัสดุบัตร ค่าวัสดุผลิตบัตรสำหรับเครื่องพิมพ์ ค่ากระบวนการพร้อมข้อมูลต่อการใช้ งาน ค่าเช่าระบบคอมพิวเตอร์ และต้นทุนอื่นๆ ซึ่งเป็นราคาที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ ค่าผลิต และค่าบริหารจัดการในการผลิตบัตรจึงทำให้ราคาต่อหน่วยมีราคาสูงกว่าราคาให้บริการจัดทำบัตรและทำให้เป็นภาระต่องบประมาณของรัฐบาล
นอกจากนี้จากการสำรวจข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางทางทะเบียนพบว่า มีข้อมูลเกี่ยวกับการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่กรณีบัตรหายช่วงระหว่างวันที่ 1 ก.ย.2554-31 พ.ค.2555 ซึ่งเป็นช่วงที่เคยปรับขึ้นไปเก็บค่าธรรมเนียมบัตรหาย 100 บาท พบว่ามีบัตรหายจำนวน 1,416,915 ราย ขณะที่ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.2555-7 มิ.ย.2558 ซึ่งลดการเก็บค่าธรรมเนียมลงมาที่ 20 บาท พบว่ามีจำนวนบัตรหาย 6,108,412 ราย กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ 1 ต.ค.2555-31 ต.ค.2557 จำนวน 3,129,281 ราย และกรณีแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2555-31 ต.ค.2557 จำนวน 1,434,314 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่า การขอบัตรใหม่กรณีบัตรหายมีอัตราที่สูง โดยเฉพาะช่วงบังคับใช้ค่าธรรมเนียม 20 บาท ซึ่งเป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่ต่ำ จึงทำให้ประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญและระมัดระวังในการเก็บรักษาบัตร
ขณะเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยยังรายงานอีกว่า ปัญหาการทุจริตด้านบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรณีขอมีบัตร กรณีบัตรหายมากที่สุด ซึ่งทำให้บุคคลที่มีเจตนาทุจริตอาศัยเป็นช่องทางเพื่อดำเนินการขอบัตรใหม่ เนื่องจากปัจจุบันการขอบัตรใหม่สามารถทำได้สะดวกทุกสำนักทะเบียนและมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่ำเพียงฉบับละ 20 บาท จึงควรปรับเป็น 100 บาท เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต และการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรประชาชน ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ความเห็นว่า เห็นควรให้ความเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตและจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแบ่งเบาภาระงบประมาณภาครัฐ และสอด คล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ตามที่เสนอแล้ว กระทรวงมหาดไทยควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ และพึงระวังการรักษาเอกสารของทางราชการด้วย